ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟังก์ชันแฮช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Loveless (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: de:Hashfunktion
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: hy:Հեշ ֆունկցիա
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
[[fr:Fonction de hachage]]
[[fr:Fonction de hachage]]
[[he:פונקציית גיבוב]]
[[he:פונקציית גיבוב]]
[[hy:Հեշ ֆունկցիա]]
[[it:Hash]]
[[it:Hash]]
[[ja:ハッシュ関数]]
[[ja:ハッシュ関数]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:34, 15 ธันวาคม 2551

ตัวอย่างการทำงานของฟังก์ชันแฮช

ฟังก์ชันแฮช (hash function) คือวิธีการอย่างหนึ่งซึ่งทำให้ข้อมูลส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด ให้กลายเป็นจำนวนเล็กๆ อันหนึ่งอย่างมีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งจำนวนดังกล่าวเปรียบได้ว่าเป็น "ลายนิ้วมือ" ของข้อมูล ขั้นตอนวิธีของฟังก์ชันแฮชส่วนใหญ่จะเป็นการแบ่งย่อยข้อมูลและการผสมข้อมูลย่อยทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สุดท้าย ผลลัพธ์ดังกล่าวอาจเรียกว่า ผลบวกแฮช (hash sum) ค่าแฮช (hash value) รหัสแฮช (hash code) หรือเรียกว่า แฮช (hash) เฉยๆ ก็ได้ บ่อยครั้งที่การเอ่ยถึงแฮชจะหมายถึงฟังก์ชันแฮชโดยปริยาย ปกติแล้วฟังก์ชันแฮชจะทำงานผ่านดัชนีที่เก็บไว้ในตารางแฮชที่อยู่ในหน่วยความจำหรือแฟ้มข้อมูลชั่วคราว

คุณสมบัติของฟังก์ชันแฮช

  • ควรมีความจำเพาะแต่ละข้อมูล ข้อมูลแต่ละตัวควรผ่านฟังก์ชันแฮชแล้วมีค่าไม่เท่ากัน เพื่อให้ข้อมูล

แต่ละตัว มีผลการแฮชเฉพาะตัว หรือเป็นลายนิ้วมือของข้อมูล โดยเฉพาะการใช้กับการตรวจสอบข้อมูล

  • หาง่าย ใช้เวลาน้อย
  • ควรกระจายในช่วงที่กำหนด เช่นถ้าต้องการแฮชได้เลขห้าหลัก ผลของการแฮชก็ควรจะกระจายกันตั้งแต่ 00000-99999 โดยเฉพาะการใช้กับตารางแฮช
  • ควรจะไม่คงผลลัพธ์ของลำดับเดิม หรือแก้กลับได้ง่าย เช่น ถ้าคีย์เป็น 12345 ไม่ควรให้กลับเป็น

54321 เป็นผลแฮช เพราะจะทำกลับได้ง่ายโดยเฉพาะการแฮชสำหรับการเข้ารหัส

การประยุกต์ใช้ฟังก์ชันแฮช

ฟังก์ชันแฮชเข้ารหัส

ฟังก์ชันแฮชเข้ารหัส (cryptographic hash function) คือฟังก์ชันแฮชที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ในด้านความปลอดภัยของสารสนเทศ อาทิการยืนยันตนเพื่อเข้าสู่ระบบ (authentication) หรือการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหาข้อมูล อาทิ SHA-1, MD5 หรือ CRC32 เป็นต้น

ดูเพิ่ม