ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Hs1mlv (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 101: บรรทัด 101:
| คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ || || || || || || || || {{อยู่}} ||
| คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ || || || || || || || || {{อยู่}} ||
|-
|-
| คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ || || {{อยู่}} || || || || || {{อยู่}} || ||
| คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ || || {{อยู่}} || || || || || || ||
|-
|-
| คณะวิทยาศาสตร์ || || || {{อยู่}} || || || || || ||
| คณะวิทยาศาสตร์ || || || {{อยู่}} || || || || || ||
|-
|-
| คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี || {{อยู่}} ||{{อยู่}}|| {{อยู่}} || || {{อยู่}} || || || ||
| คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี || {{อยู่}} ||{{อยู่}}|| {{อยู่}} || || {{อยู่}} || || {{อยู่}} || ||
|-
|-
| คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร || || || || || || || || {{อยู่}} ||
| คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร || || || || || || || || {{อยู่}} ||
บรรทัด 111: บรรทัด 111:
| คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์|| || || || || || || || ||{{อยู่}}
| คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์|| || || || || || || || ||{{อยู่}}
|-
|-
| คณะวิศวกรรมศาสตร์ || {{อยู่}} || || {{อยู่}} || {{อยู่}} || || {{อยู่}} || {{อยู่}} || {{อยู่}} ||
| คณะวิศวกรรมศาสตร์ || {{อยู่}} || || {{อยู่}} || {{อยู่}} || || {{อยู่}} || || {{อยู่}} ||
|-
|-
| คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์|| || {{อยู่}} || || || {{อยู่}} || || {{อยู่}} || ||{{อยู่}}
| คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์|| || {{อยู่}} || || || {{อยู่}} || || {{อยู่}} || ||{{อยู่}}
บรรทัด 123: บรรทัด 123:
| คณะศิลปกรรมศาสตร์ || || || {{อยู่}} || || {{อยู่}} || || || ||
| คณะศิลปกรรมศาสตร์ || || || {{อยู่}} || || {{อยู่}} || || || ||
|-
|-
| คณะศิลปศาสตร์ || || || || || || || || ||
| คณะศิลปศาสตร์ || || || || || || || {{อยู่}} || ||
|-
|-
| คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ || {{อยู่}} ||{{อยู่}}|| {{อยู่}} || || {{อยู่}} || {{อยู่}} || || ||
| คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ || {{อยู่}} ||{{อยู่}}|| {{อยู่}} || || {{อยู่}} || {{อยู่}} || || ||

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:07, 27 พฤศจิกายน 2551

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ราชมงคล
ชื่อย่อRMUT
คติพจน์ราชมงคลสร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี
ประเภทรัฐ
สถาปนาพ.ศ. 2518 (วิทยาลัย)
พ.ศ. 2531 (สถาบัน)
18 มกราคม พ.ศ. 2548 (มหาวิทยาลัย)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นระบบมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันมีอยู่ 9 แห่งทั่วประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 ในชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่18 มกราคม พ.ศ. 2548

ในปี 2549 ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดย สกอ. ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดีเด่นในด้านการเรียนการสอน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการจัดอันดับดีเด่นในด้านการเกษตร

ประวัติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เกิดจากการเรียกร้องการศึกษาของนักเรียนอาชีวศึกษาในสมัยย้อนไปเมื่อ 30 ปีก่อน ซึ่งถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองของสังคม จัดการศึกษาได้เพียงแค่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)และการก้าวสู่ระดับปริญญาตรีนั้นจะต้องผ่านการสอบแข่งขันกับนักเรียนสายสามัญ ประกอบทั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง (ลาดกระบัง พระนครเหนือ และ ธนบุรี) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการไปอยู่ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นรับเฉพาะนักเรียนสายสามัญและการแข่งขันจากการสอบเข้าที่ยากยิ่ง ทำให้นักเรียนอาชีวศึกษา อาทิ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร วิทยาลัยเทคนิคช่างกลพระนครเหนือ ฯลฯ รวมตัวกันเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาให้ถึงระดับปริญญา และแล้วในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ตามร่างพระราชบัญญัติ “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2518” ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพ เทคโนโลยีและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ในช่วงแรกที่เปิดทำการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีปัญหาอุปสรรคนานัปการ อาทิ ขาดอาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียนการสอน บุคลากร ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงให้โอนบุคลากร ทรัพย์สิน สถาบันการอาชีวศึกษาที่สังกัด กรมอาชีวศึกษาเดิม 28 แห่งดังต่อไปนี้

ย้ายมาสังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา โดยเปลี่ยนชื่อต่อจากเดิมเป็นวิทยาลัยมาเป็น "วิทยาเขต" ตามลำดับ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้ทำการเรียนการสอนโดยพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ได้ตรงตามมาตรฐานการศึกษา มีคุณภาพและศักยภาพและความพร้อมในวิชาชีพในทุกสาขา จนกระทั่งในปี 2531 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชผู้ทรงคุณอันประเสริฐเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2531 ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงมีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) ทั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ทำการเรียนการสอนควบคู่กับทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อยมา อีกทั้งยังทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย

สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยบริหารจัดการได้โดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาการศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและยกระดับสถานะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ถึงระดับสูง ปริญญาโท เอก จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่งขึ้น โดยมีการรวมวิทยาเขตที่อยู่ใกล้เคียงกันจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ และเป็นมหาวิทยาลัยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถจัดการศึกษาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติทั้งในระดับปริญญาตรี โท และ เอก และเพื่อรองรับการศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษาเป็นหลัก รวมถึงให้โอกาสแก่ผู้เรียนจากวิทยาลัยชุมชน และการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ศึกษาต่อทางด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีทั้งระดับปริญญาตรี โท เอกได้โดยไม่จำกัดสถานะของสถาบันการศึกษา จะเป็นอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชนหรือการศึกษาขั้นพื้นฐานก็มีโอกาสเรียนได้เท่าเทียมกัน ปัจุจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

การก้าวสู่มหาวิทยาลัย

ไฟล์:Rmut1.gif
บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 และได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่งดังต่อไปนี้

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

การศึกษา

วิทยาเขต กรุงเทพ ตะวันออก ธัญบุรี พระนคร รัตนโกสินทร์ ศรีวิชัย สุวรรณภูมิ ล้านนา อีสาน
คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ    
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม        
คณะคหกรรมศาสตร์  
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร  
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์      
คณะเทคโนโลยีสังคม  
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน    
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร  
คณะนาฏศิลปและดุริยางค์  
คณะบริหารธุรกิจ          
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ    
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์  
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  
คณะวิทยาศาสตร์  
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี          
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร  
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์  
คณะวิศวกรรมศาสตร์          
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์        
คณะวิศวกรรมเกษตร  
คณะศิลปกรรมและออกแบบอตุสาหกรรม  
คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์  
คณะศิลปกรรมศาสตร์    
คณะศิลปศาสตร์  
คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์          
คณะศึกษาศาสตร์  
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์    
คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม  
คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ  
คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น  
วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ  
บัณฑิตวิทยาลัย  

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัยนั้นเป็นรูปดวงตราวงกลมภายในมีพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ล้อมรอบด้วยดอกบัว 8 กลีบ ซึ่งสื่อความหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จ มรรค 8 และความสดชื่น เบิกบานอันก่อให้เกิดปัญญา ด้านบนดวงตรานั้นมีพระมหาพิชัยมงกุฎที่มีตัวเลข ๙ ซึ่งหมายถึง รัชกาลที่ 9 ครอบอยู่ ด้านล่างดวงตรานั้นเขียนชื่อสถาบัน ทั้งนี้ตราของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ล้วนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง บรรดาคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่าราชมงคลทุกรุ่น ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น [1]

ตราสัญลักษณ์ประติมากรรม

ประติมากรรมรูปดอกบัวนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งความคิดความรู้สึกร่วมกันในอันที่จะช่วยกันพัฒนาการศึกษาด้านวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้าสืบไป รูปดอกบัวซ้อนกันขึ้น 3 ชั้น สื่อความหมายเพื่อให้เกิดความรู้สึกโปร่งเบามีกลีบบัว 8 เส้น เส้นทั้ง 8 หมายถึง มรรค 8 ประการ ส่วนยอดแหลมแทรกขึ้นสู่ฟ้า หมายถึง ผู้จะพบความสำเร็จได้จะต้องใช้ความพยายาม อย่างสูงสุด ในการผ่านแต่ละขั้นตอนการเรียนรู้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ได้รับพระราชทานนามสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล อีกทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 พร้อม พระมหาพิชัยมงกุฎ มาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ทั้งนี้คณาจารย์และนักศึกษาต่างสำนักในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างหาที่สุดมิได้

สีประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้กำหนดให้สีเหลืองและสีน้ำเงินเป็นสีประจำสถาบัน

  • สีเหลือง เป็นสีวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
  • สีน้ำเงิน เป็นสีสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์

เพลงประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

อันดับมหาวิทยาลัย

ตามการจัด อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จาก สกอ. ในปี 2549 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับการจัดอันดับที่โดดเด่น ดังนี้

ผลการจัดอับดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ล่าสุด Webometrics ได้ประกาศผลการจัดอันดับ 4,000 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ครั้งล่าสุดประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ผลการจัดอับดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ล่าสุด Webometrics

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ไฟล์:Parinya1.jpg
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี พระราชทานโอวาทแด่บัณฑิตในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

จากบทความในหนังสือจารึกราชมงคลกับคำกล่าวของท่าน ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ท่านแรก ท่านเป็นผู้บุกเบิกสถาบันฯ อย่างแท้จริง ได้กล่าวถึงการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสถาบันไว้ว่า ล้นเกล้าฯพระปิยมหาราชปลดปล่อยทาสให้เป็นไทยฉันใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงปลดปล่อยนักเรียนอาชีวศึกษาจากที่ถูกสังคมมองว่าเป็นเป็นนักเรียนชั้นสองให้เป็นไทฉันนั้น นับจากปีแรกที่ได้เริ่มสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปี 2518 และได้ดำเนินการเรียนการสอนผ่านพ้นอุปสรรคปัญหามานานานับประการเรื่อยมา จนกระทั่งมาถึงวันแห่งความสำเร็จวันแห่งภาคภูมิใจที่รอคอยก็มาถึง อีกหกปีต่อมา ในปี 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรมเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิการอย่างสูงสูด เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแด่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษารุ่นแรก การที่บัณฑิตที่มาจากนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นสอง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุด มีโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตรกับพระหัตถ์พระองค์เอง ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร นำความปลื้มปิติยินดีมาสู่เหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา ผู้ปกครองบัณฑิต เป็นล้นพ้น และอีกสามครั้งคือ ในปีพุทธศักราช 2527,ปีพุทธศักราช 2530, ในปี 2531 เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสถาบันให้ใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแด่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลนามใหม่เป็นครั้งแรกด้วยพระองค์เอง ในปีพุทธศักราช 2533 รวมแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลด้วยพระองค์เองถึง 4 ครั้ง และตั้งแต่ในปีพุทธศักราช 2534 เป็นต้นมา ก็ได้ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแด่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลา 30 ปีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่สำเร็จการศึกษาได้ออกไปรับใช้พัฒนาประเทศชาติแล้วนับแสนคน สร้างคุณนานานับปการแก่ประเทศชาติ และจะตั้งใจปฏิบัติรับใช้ใต้เบื้องพระยุคคลบาทสนองคุณประเทศชาติสมกับที่ได้รับพระราชทานนามราชมงคลสืบไป

รายชื่อผู้บริหารจากอดีตสู่ปัจจุบัน

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จากอดีต วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในยุคแรก

  1. 2518-2527 - ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
  2. 2527-2530 - ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
  3. 2530-2538 - รองศาสตราจารย์ธรรมนูญ ฤทธิ์มณี อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  4. 2538-2542 - รองศาสตราจารย์ ดร.วินิจ โชติสว่าง อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  5. 2543-2548 - รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

นายกสภามหาวิทยาลัยจากอดีตสู่ปัจจุบัน

นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งในยุคแรก คือ นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 2532 คือผู้ที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือรักษาการ จะดำรงตำแหน่ง นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลด้วย เช่น ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างปี 2543-2548 สืบเนื่องจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลปรับเปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง มีผลให้เกิดสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งมาตามลำดับ โดยผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจะอยู่ในวาระ 5 ปีและได้รับการโปรดเกล้าฯ ลงมา นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งยุคปัจจุบัน

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่งในปัจจุบัน

บัณฑิตนักปฏิบัติ

บัณฑิตนักปฏิบัติ เป็นคำที่ใช้กล่าวในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถจัดการศึกษาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติทั้งในระดับปริญญาตรี โท และ เอก เพื่อรองรับการศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษาเป็นหลัก รวมถึงให้โอกาสแก่ผู้เรียนจากวิทยาลัยชุมชน และการศึกษาขั้นพื้นฐานในการศึกษาต่อวิชาชีพระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๑๑๔) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล