ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพียงความเคลื่อนไหว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พ.น.บุญรอด (คุย | ส่วนร่วม)
พ.น.บุญรอด (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
[[หมวดหมู่:งานเขียนของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์]]
[[หมวดหมู่:งานเขียนของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์]]
[[หมวดหมู่:หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน]]
[[หมวดหมู่:หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน]]
{{หนังสือดี 100 เล่ม}}
{{โครงวรรณกรรม}}
{{โครงวรรณกรรม}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:16, 27 ตุลาคม 2551

เพียงความเคลื่อนไหวเป็นกวีนิพนธ์ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2522 และพิมพ์รวมเล่มครั้งแรก พ.ศ. 2517 เนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งขบวนการนักศึกษาประชาชนได้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขยายตัวเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมด้านต่าง ๆ ของสังคมเนาวรัตน์ได้เขียนบทกวีสนับสนุนการต่อสู้ครั้งนั้น ใจความตอนหนึ่งว่า

"การเกิดต้องเจ็บปวด ต้องร้าวรวดและทรมา
ในสายฝนมีสายฟ้า ในผาทึบมีถ้ำทอง
มาเถิดมาทุกข์ยาก มาบั่นบากกับเพื่อนพ้อง
อย่าหวังเลยรังรอง จะเรืองไรในชีพนี้
ก้าวแรกที่เราย่าง จะสร้างทางในทุกที่
ป่าเถื่อนในปฐพี ยังมีไว้รอให้เดิน"

(เพียงความเคลื่อนไหว, หน้า 108-109)

ลักษณะเด่น

งานเนาวรัตน์มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวในข้อที่ว่า เขาสามารถถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกออกมาอย่างนุ่มนวลดังนั้น เนาวรัตน์จึงมิได้เขียนบทกวีการเมืองจากทฤษฎีหรือตรรกะ แต่เริ่มต้นจากความรู้สึกลึกซึ้งต่อเหตุการณ์ทั้งหลาย ที่ระเบิดออกมาจากภายใน ใน"เพียงความเคลื่อนไหว" เนาวรัตน์ระบายความรู้สึกของเขาออกมาจากความกดดันของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ว่า

"ชั่วเหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด ร้อนที่แผดก็ผ่อนเพลาพระเวหา
พอใบไม้ไหวพลิกริกริกมา ก็รู้ว่าวันนี้มีลมวก"

จาก ลมวก นี้ เนาวรัตน์นำคลี่คลายเหตุการณ์ตอนจบบทกวี เพียงความเคลื่อนไหว ว่า

"พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน
พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย"

(หน้า 55)

ภาพ "เหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด" ในวรรคแรกนั้นเป็นประสบการณ์จริง ของเนาวรัตน์ ขณะที่เขาอยู่ภาคใต้ ซึ่งเขาคิดวรรคอันทรงพลังนี้ขึ้นมา แต่ยังไม่รู้ว่าเหตุการณ์นี้ควรนำไปเปรียบกับอะไร จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม จึงรู้ว่าถึงเวลาของ ลมวกแล้ว นี่คือประสบการณ์ของกวีที่มีความหมายต่อการสร้างสรรค์งานของเขา

จากผลงาน "เพียงความเคลื่อนไหว" ทำให้เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้รับรางวัลซีไรท์ ในปี พ.ศ. 2523 คณะกรรมการตัดสินในปีนั้นกล่าวว่า

"ความสามารถในการใช้รูปแบบกวีนิพนธ์ของเขานั้น เป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เขาเป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านฉันทลักษณ์ตามแบบแผน และทั้งด้านเพลงพื้นบ้านถึงขนาดที่เรียกว่า ในเพลงกล่อมเด็ก เนาวรัตน์ก็อาจสอดสาระทางการเมือง และสังคมที่ร้อนแรงได้"

อ้างอิง