ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนวาสุเทวี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
== ประวัติโรงเรียนวาสุเทวี ==
== ประวัติโรงเรียนวาสุเทวี ==


โรงเรียนวาสุเทวีเดิมชื่อโรงเรียนพระแม่ฟาติมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[18 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2496]] มีนายมงคล วังตาล เป็นเจ้าของ เมื่อปี [[พ.ศ. 2498]] ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ เจ้าคณะภาคอุร์สุลินแห่งประเทศไทย ได้ซื้อโรงเรียนนี้จากคณะพระสงฆ์มิสซังปารีส และได้เปลี่ยนชื่อเป็น วาสุเทวี โดยคุณครูเฉลา ไทยวัฒน์ ครูภาษาไทยรุ่นแรกของโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเป็นผู้แปลจากชื่อภาษาลาติน REGINA MUNDI ซึ่งหมายถึงพระแม่แห่งสากลโลก นับเป็นชื่อที่มีความหมายตรงตามชื่อเดิมคือ “วาสุ” แปลว่าพื้นดิน “เทวี” แปลว่า ราชินี หมายถึง ราชินีแห่งพื้นพิภพหรือราชินีของโลก เมื่อวันที่ [[21 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2541]] ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ ได้โอนโรงเรียนวาสุเทวีให้แก่มูลนิธิคณะอุร์สุลินเพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย โดยมีซิสเตอร์สมจิตร์ ครองบุญศรี ตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิเป็นผู้รับใบอนุญาต วันที่ [[2 กันยายน]] [[พ.ศ. 2545]] เปลี่ยนประธานกรรมการมูลนิธิเป็น#ซิสเตอร์รวงกาญจนา ชินะผา และเป็นผู้รับใบอนุญาต
โรงเรียนวาสุเทวีเดิมชื่อโรงเรียนพระแม่ฟาติมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[18 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2496]] มีนายมงคล วังตาล เป็นเจ้าของ เมื่อปี [[พ.ศ. 2498]] ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ เจ้าคณะภาคอุร์สุลินแห่งประเทศไทย ได้ซื้อโรงเรียนนี้จากคณะพระสงฆ์มิสซังปารีส และได้เปลี่ยนชื่อเป็น วาสุเทวี โดยคุณครูเฉลา ไทยวัฒน์ ครูภาษาไทยรุ่นแรกของโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเป็นผู้แปลจากชื่อภาษาลาติน REGINA MUNDI ซึ่งหมายถึงพระแม่แห่งสากลโลก นับเป็นชื่อที่มีความหมายตรงตามชื่อเดิมคือ “วาสุ” แปลว่าพื้นดิน “เทวี” แปลว่า ราชินี หมายถึง ราชินีแห่งพื้นพิภพหรือราชินีของโลก เมื่อวันที่ [[21 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2541]] ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ ได้โอนโรงเรียนวาสุเทวีให้แก่มูลนิธิคณะอุร์สุลินเพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย โดยมีซิสเตอร์สมจิตร์ ครองบุญศรี ตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิเป็นผู้รับใบอนุญาต วันที่ [[2 กันยายน]] [[พ.ศ. 2545]] เปลี่ยนประธานกรรมการมูลนิธิเป็น
#ซิสเตอร์รวงกาญจนา ชินะผา เป็นผู้รับใบอนุญาต
#ซิสเตอร์จินตนา ฉัตรสุภางค์ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต
#ซิสเตอร์จินตนา ฉัตรสุภางค์ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต
#ซิสเตอร์เพ็ญศรี ห่อเร ผู้จัดการ
#ซิสเตอร์เพ็ญศรี ห่อเร ผู้จัดการ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:51, 24 ตุลาคม 2551


ประวัติโรงเรียนวาสุเทวี

โรงเรียนวาสุเทวีเดิมชื่อโรงเรียนพระแม่ฟาติมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 มีนายมงคล วังตาล เป็นเจ้าของ เมื่อปี พ.ศ. 2498 ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ เจ้าคณะภาคอุร์สุลินแห่งประเทศไทย ได้ซื้อโรงเรียนนี้จากคณะพระสงฆ์มิสซังปารีส และได้เปลี่ยนชื่อเป็น วาสุเทวี โดยคุณครูเฉลา ไทยวัฒน์ ครูภาษาไทยรุ่นแรกของโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเป็นผู้แปลจากชื่อภาษาลาติน REGINA MUNDI ซึ่งหมายถึงพระแม่แห่งสากลโลก นับเป็นชื่อที่มีความหมายตรงตามชื่อเดิมคือ “วาสุ” แปลว่าพื้นดิน “เทวี” แปลว่า ราชินี หมายถึง ราชินีแห่งพื้นพิภพหรือราชินีของโลก เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ ได้โอนโรงเรียนวาสุเทวีให้แก่มูลนิธิคณะอุร์สุลินเพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย โดยมีซิสเตอร์สมจิตร์ ครองบุญศรี ตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิเป็นผู้รับใบอนุญาต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2545 เปลี่ยนประธานกรรมการมูลนิธิเป็น

  1. ซิสเตอร์รวงกาญจนา ชินะผา เป็นผู้รับใบอนุญาต
  2. ซิสเตอร์จินตนา ฉัตรสุภางค์ ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต
  3. ซิสเตอร์เพ็ญศรี ห่อเร ผู้จัดการ
  4. นางสาวสุนงลักษณ์ มโนมัธย์ ครูใหญ่

เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนตั้งแต่แรกเปิดดำเนินการจนถึงปัจจุบันมีนักเรียน 10,691 คน ดำเนินงานโดยซิสเตอร์คณะอุร์สุลิน ซึ่งเป็นการให้การอบรมแก่กุลสตรีให้ดำเนินชีวิตเหมาะสมกับยุคสมัย

ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนวาสุเทวี

  • อบรมเสริมคนให้ครบ
  • ประสบธรรมอันสูงส่ง
  • ปัญญาแตกฉานมั่นคง
  • เสริมส่งเป็นคนจนสมบูรณ์
  • คติพจน์ของโรงเรียน

คือ SRVIAM ข้าฯ ยินดีรับใช้


นโยบาย ของโรงเรียน

1. พัฒนานักเรียน โดยให้การอบรม เป็นรายบุคคล ครบสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ และสังคม โดยใช้หลักธรรมทางศาสนา

2. ปลูกฝังค่านิยม ความรักและเมตตา รู้จักรับใช้ช่วยเหลือสังคม ดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

3. ปลูกฝังความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

4. ส่งเสริมด้วยวิชาการ และปฏิบัติการโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย เพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐาน เพื่อการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในอนาคต


ตราสัญลักษณ์

เซอร์เวี่ยม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนอุร์สุลินทั่วโลก เซอร์เวี่ยมควรเป็นตราประจำใจของศิษย์อุร์สุลินตลอดชีวิต เครื่องหมายเซอร์เวี่ยมประกอบไปด้วยไม้กางเขนและดวงดาว 7 ดวง กางเขนเป็นเครื่อง หมายถึง การรณรงค์ของพระคริสตเจ้าเพื่อรับใช้มวลมนุษย์ การรับใช้ของพระเยซูคริสตเจ้าด้วยการยอมสิ้นประชนม์บนไม้กางเขนนั้น นับเป็นการแสดงความรักและความเสียสละอย่างสูงสุดที่บุคคลใดจะพึงกระทำให้ผู้อื่นได้ และดวงดาว 7 ดวงบนตราเซอร์เวียมเป็นเครื่อง หมายถึง นักบุญอุร์สุลาองค์อุปถัมภ์ของคณะอุร์สุลิน คติพจน์เซอร์เวียมนี้ เป็นจุดรวมของความมุ่งหวังที่ทางคณะอุร์สุลินมีต่อศิษย์ทุกคน คือต้องการจะปลูกฝังให้ศิษย์ทุกคนเลียนแบบพระคริสตเจ้าในการรับใช้พระเจ้า ประเทศชาติ และเพื่อนมนุษย์