ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะเร็งเม็ดเลือดขาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: jv:Leukemia
Voraprachw (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18: บรรทัด 18:


== อาการ ==
== อาการ ==
เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณ[[เกร็ดเลือด]] ที่บทบาทสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือดนั้นลดจำนวนลง ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจจะเกิดรอยจ้ำเลือด (bruised) มีภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ (bleed excessively) และ อาจจะเป็นจุดแดง ๆ ตามผิวหนังได้ (petechiae)
เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณ[[เกล็ดเลือด]] ที่บทบาทสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือดนั้นลดจำนวนลง ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจจะเกิดรอยจ้ำเลือด (bruised) มีภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ (bleed excessively) และ อาจจะเป็นจุดแดง ๆ ตามผิวหนังได้ (petechiae)


นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยมีจำนวน[[เม็ดเลือดขาว]]ที่ปกติลดจำนวนลงนั้น จะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติอีกด้วย รวมทั้ง การที่จำนวน[[เม็ดเลือดแดง]]มีจำนวนที่ลดลง ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการของ[[โลหิตจาง]] ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหายใจลำบากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยมีจำนวน[[เม็ดเลือดขาว]]ที่ปกติลดจำนวนลงนั้น จะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติอีกด้วย รวมทั้ง การที่จำนวน[[เม็ดเลือดแดง]]มีจำนวนที่ลดลง ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการของ[[โลหิตจาง]] ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหายใจลำบากขึ้นด้วย


นอกจากนี้ ยังอาจจะมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น อาการมีไข้ขึ้น หนาวสั่น น้ำหนักลด มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และเมื่อเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังตับและม้าม ก็จะทำให้ตับโต และม้ามโตได้ และถ้าหากเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังกระดูก ก็จะส่งผลทำให้มีอาการปวดกระดูกและข้อได้เช่นกัน
นอกจากนี้ ยังอาจจะมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น อาการมีไข้ขึ้น หนาวสั่น น้ำหนักลด มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และเมื่อเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังตับและม้าม ก็จะทำให้ตับโต และม้ามโตได้ และถ้าหากเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังกระดูก ก็จะส่งผลทำให้มีอาการปวดกระดูกและข้อได้เช่นกัน


== ประเภท ==
== ประเภท ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:53, 7 ตุลาคม 2551

มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ภาพเสมียร์ไขกระดูกย้อมสีไรท์ของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด B-cell acute lymphoblastic leukemia
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10C91-C95
ICD-9208.9
ICD-O:9800-9940
DiseasesDB7431
MeSHD007938

มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia, Leukeamia) เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดชนิดผิดปกติออกมามากกว่าปกติ และจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติ ทำให้จำนวนเม็ดเลือดที่ปกตินั้นมีจำนวนลดน้อยลง

อาการ

เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณเกล็ดเลือด ที่บทบาทสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือดนั้นลดจำนวนลง ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจจะเกิดรอยจ้ำเลือด (bruised) มีภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ (bleed excessively) และ อาจจะเป็นจุดแดง ๆ ตามผิวหนังได้ (petechiae)

นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ปกติลดจำนวนลงนั้น จะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติอีกด้วย รวมทั้ง การที่จำนวนเม็ดเลือดแดงมีจำนวนที่ลดลง ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการของโลหิตจาง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหายใจลำบากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ยังอาจจะมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น อาการมีไข้ขึ้น หนาวสั่น น้ำหนักลด มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และเมื่อเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังตับและม้าม ก็จะทำให้ตับโต และม้ามโตได้ และถ้าหากเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังกระดูก ก็จะส่งผลทำให้มีอาการปวดกระดูกและข้อได้เช่นกัน

ประเภท

การแบ่งประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น สามารถแบ่งออกได้หลายแบบ ได้แก่

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ เรื้อรัง

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute leukemia) เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักเกิดกับเด็ก โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตภายในไม่กี่เดือน
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (Chronic leukemia) เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมากกว่าเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติในร่างกายเป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้วมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน มักจะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ในหลาย ๆ ช่วงอายุ

Lymphoid และ myeloid

นอกจากนี้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวยังสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของเม็ดเลือดขาว ได้แก่

  • Lymphocytic leukemia คือ การที่พบเซลล์ในสาย Lymphoid ได้แก่ ลิมโฟไซท์ (Lymphocytes) และพลาสมาเซลล์ (plasma cells) ที่ผิดปกติเป็นจำนวนมากในกระแสเลือด
  • Myelogenous leukemia คือ การที่พบเซลล์ที่ผิดปกติในสายmyeloid ได้แก่ eosinophils, neutrophils, และ basophils เพิ่มมากขึ้นในกระแสเลือด


ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

  • Acute lymphocytic leukemia (Acute Lymphoblastic Leukemia หรือ ALL) สามารถพบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี รวมถึงในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีอีกดวย
  • Acute myelogenous leukemia (Acute Myeloid Leukemia (AML) หรือ acute nonlymphocytic leukemia) สามารถพบในผูใหญ่มากกว่าเด็ก
  • Chronic lymphocytic leukemia (CLL) พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี และสามารถพบในเด็กได้บ้าง แต่ไม่ค่อยส่งผลกระทบเท่าไหร่
  • Chronic myelogenous leukemia (CML) พบได้ในผู้ใหญ่ แต่ไม่ค่อยพบในเด็ก

โดยสรุปแล้ว เราสามารถพบมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด AML และ CLL ได้ในผู้ใหญ่ ในขณะที่ เราสามารถพบมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ในเด็ก

สาเหตุ

สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น ส่วนมากมักเกิดจากการผิดปกติของข้อมูลทางพันธุกรรม ซึ่งนำไปสู่การแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติไป นั่นคือ จำนวนเซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนไม่ยอมหยุด ดังนั้น เราสามารถสรุปสาเหตุการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว ดังนี้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

การรักษา

การรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย และมะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน โดยหลักการการรักษาคือระยะแรกจะควบคุมโรคให้สงบ (remission) หลังจากนั้นจะป้องกันการกลับเป็นซ้ำ (relapse) ผู้ป่วยหลายรายสามารถหายขาดได้

วิธีการรักษา

เคมีบำบัด Chemotherapy สามารถให้ได้ทั้งทางฉีดและการกิน มะเร็งบางชนิดอาจต้องให้เข้าไขสันหลัง รังสีรักษา Radiotherapy สามารถให้ได้ 2 กรณีคือให้รังสีบริเวณที่มะเร็งอยู่ เช่นม้าม อันฑะ หรืออาจให้ฉายรังสีทั้งตัวเพื่อเตรียมการปลูกถ่ายไขกระดูก การปลุกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation โดยการให้เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับรังสีเพื่อทำลายเซลล์หลังจากนั้นจึงนำไขกระดูกของคนปกติฉีดเข้าไป ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดได้

การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด

การรักษาอื่นๆที่จำเป็น

เนื่องจากการรักษามะเร็งเม็ดเลือดมีโรคแทรกซ้อนมากดังนั้นการรักษาอื่น ก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เนื่องจากผู้ป่วยอ่อนแอเกิดการติดเชื้อง่ายดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสถานที่ทีมีคนมากโดยเฉพาะช่วงที่เกิดการระบาดของโรค ถ้าได้รับการติดเชื้อที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ antibiotic

ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและพบบ่อยหากเป็นมากอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ถ้าซีดมากควรได้รับการเติมเลือด tranfussions ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจช่องปากก่อนการรักษา

ผลข้างเคียงของการรักษา

1. เคมีบำบัด Chenotherapy หลักการให้เคมีบำบัดคือทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วซึ่งเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเร็วดังนั้นจึงถูกทำลายมากแต่ขณะเดียวกันการให้เคมีบำบัดก็ทำลายเซลล์ปกติดังนั้นอาการข้างเคียงจึงเกิดจากการที่เซลล์ปกติถูกทำลาย ผู้ป่วยจะคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นหมัน

2. รังสีรักษา Radiotherapy บริเวณที่ฉายแสงขนหรือผมจะร่วง ผิวบริเวณดังกล่าวจะแห้ง คัน ห้ามใช้ lotion ก่อนปรึกษาแพทย์

3. การปลูกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เลือดออกผิดปกติ

อ้างอิง