ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาจุฬาลงกรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
เมื่อปี [[พ.ศ. 2492]] เนื่องจากในขณะนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังไม่มีเพลงประจำสถาบัน ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทำนองเพลงนี้ โดยมี[[สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา|ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา]] และ [[สุภร ผลชีวิน]] เป็นผู้ประพันธ์คำร้องขึ้นถวาย ดังนั้น เพลงมหาจุฬาลงกรณ์จึงใช้เป็นเพลงประจำสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา
เมื่อปี [[พ.ศ. 2492]] เนื่องจากในขณะนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังไม่มีเพลงประจำสถาบัน ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทำนองเพลงนี้ โดยมี[[สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา|ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา]] และ [[สุภร ผลชีวิน]] เป็นผู้ประพันธ์คำร้องขึ้นถวาย ดังนั้น เพลงมหาจุฬาลงกรณ์จึงใช้เป็นเพลงประจำสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา


หลังจากนั้น ในปี [[พ.ศ. 2497]] พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาย[[เทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล]] นำทำนองเพลง "'''มหาจุฬาลงกรณ์'''" ซึ่งเป็นเพลงที่มีทำนองเพลงในแนวสากลมาปรับปรุงให้มีทำนองเพลงในแนวไทยเดิมเพื่อใช้สำหรับเป็นเพลงโหมโรงก่อนการบรรเลง[[ดนตรีไทย]] นายเทวาประสิทธิ์รับพระราชทานลงมาทำและบรรเลงถวายด้วย[[วงปี่พาทย์]]ถึงสองครั้งด้วยกัน หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วจึงพระราชทานเพลงนี้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมา เมื่อนายเทวาประสิทธิ์ไปสอนดนตรีไทยให้แก่ชมรมดนตรีของสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้นำ '''"เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์"''' มาสอนนิสิตชมรมดนตรีไทย และใช้เป็นเพลงโหมโรงในการบรรเลงดนตรีไทยของชมรม ฯ ตลอดมา
หลังจากนั้น ในปี [[พ.ศ. 2497]] พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาย[[เทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล]] นำทำนองเพลง "'''มหาจุฬาลงกรณ์'''" ซึ่งเป็นเพลงที่มีทำนองเพลงในแนวสากลมาปรับปรุงให้มีทำนองเพลงในแนวไทยเดิมเพื่อใช้สำหรับเป็นเพลงโหมโรงก่อนการบรรเลง[[ดนตรีไทย]] นายเทวาประสิทธิ์รับพระราชทานลงมาทำและบรรเลงถวายด้วย[[วงปี่พาทย์]]ถึงสองครั้งด้วยกัน หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วจึงพระราชทานเพลงนี้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นเพลงไทยเพลงแรกที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากเพลงไทยสากล<ref>[http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/art/f_musical_th.html พระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านดนตรี]</ref> ต่อมา เมื่อนายเทวาประสิทธิ์ไปสอนดนตรีไทยให้แก่ชมรมดนตรีของสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้นำ '''"เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์"''' มาสอนนิสิตชมรมดนตรีไทย และใช้เป็นเพลงโหมโรงในการบรรเลงดนตรีไทยของชมรม ฯ ตลอดมา

เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ จัดเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย 1 ใน 3 แห่ง ซึ่งอีก 2 เพลง ได้แก่ เพลง "''[[ยูงทอง]]''" ซึ่งพระราชทานให้เป็นเพลงประจำ[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และเพลง "''[[เกษตรศาสตร์ (เพลงพระราชนิพนธ์)|เกษตรศาสตร์]]''" ซึ่งพระราชทานให้เป็นเพลงประจำ[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] โดยพระองค์มีพระราชดำรัสถึงการแต่งเพลงประจำสถาบันไว้ว่า

"...''เรื่องเพลงที่แต่งขึ้นใหม่นั้นต้องขอชี้แจงสักนิด ฟังแล้วอาจจะตกใจ เพราะว่าเพลงที่ประจำในมหาวิทยาลัยเมืองไทย เดี๋ยวนี้ก็มีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วก็ของธรรมศาสตร์ที่ได้ให้ทั้งสองเพลงนั้น กับเพลงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นี้ ต้องบอกว่ายาวเท่ากัน ไม่ต้องอิจฉาว่าของเขายาวกว่าหรือสั้นกว่า ยาวเท่ากัน แล้วก็การสร้างแบบนั้นก็สร้างในแบบเดียวกัน ไม่ต้องอิจฉาอะไร แล้วก็ถ้าชอบก็บอกว่าชอบ ถ้าไม่ชอบก็ไม่รู้จะทำอย่างไร อาจจะแก้ไข อย่างไรก็ตาม ก็มีอย่างหนึ่ง คือ เพลงของจุฬาฯ เขาก็บอกว่าเพลงของเขาเพราะที่สุด ถ้าไปถามชาวธรรมศาสตร์ว่าเพลงไหนเพราะที่สุด เขาก็บอกว่าเพลงธรรมศาสตร์ แล้วถ้าถามพวกเกษตร น่ากลัวบอกว่าเพลงเกษตรเพราะกว่า ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไรนะ แต่ว่าเพลงของจุฬาฯ เขาโอ้อวดว่าสง่าผ่าเผยมาก แล้วก็เพราะมาก ถ้าพูดถึงว่าเพลงธรรมศาสตร์เขาก็บอกว่าองอาจดี เดินก็ได้ จุฬาฯ เขาก็ตอบว่าของเขาก็เดินได้เหมือนกัน เป็นเพลงสำหรับนำแถวได้ เพลงของเกษตรนี้ก็ ที่จริงก็ควรจะตัดสินเอาเองว่าเป็นยังไง แต่ความคิดส่วนตัวของผู้แต่ง รู้สึกว่าเป็นเพลงที่อ่อนหวาน อ่อนหวานกว่าเพลงโน้น แต่อ่อนหวาน นี่ไม่ได้หมายความว่าไม่เข้มแข็ง แต่อ่อนหวานนี่อาจจะมีความหมายได้ว่า ผลิตผลของทางการเกษตรรวมทั้งผลไม้หรือสิ่งที่บริโภค ถ้ารสหวาน รู้สึกว่าดี เพราะว่าเขานิยมกันอย่างนั้น ข้าวโพดหวานเขาก็ชอบ ก็เลยคิดว่า เพลงหวานไม่เป็นไร แต่ถ้านำไปเดินสำหรับนำแถวก็อาจจะได้เปลี่ยนแปลงไปหน่อย ก็อาจจะเป็นเพลงสำหรับแตรวงเดินก็อาจจะพอได้ แต่ขออย่างเดียวอย่าเดินขบวน''..."

นอกจากนี้ [[ประเสริฐ ณ นคร|ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร]] เมื่อครั้งได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเพลงเกษตรศาสตร์นั้น ได้กล่าวถึงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ว่า "''เนื้อเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ดีเยี่ยม จนทำให้ผู้เขียนแหยงว่าไม่มีทางประพันธ์ให้ไพเราะใกล้เคียงกับเพลงนั้นได้''"<ref>[http://www.singhakheow.com/history.htm#f ประวัติเพลงพระราชนิพนธ์เกษตรศาสตร์]</ref>


== {{audio|MahaChulalongkorn.ogg|บทเพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ }}==
== {{audio|MahaChulalongkorn.ogg|บทเพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ }}==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:26, 1 ตุลาคม 2551

ไม่พบไฟล์เสียง "MahaChulalongkorn.ogg" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 11 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง โดยมีท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และ สุภร ผลชีวิน เป็นผู้ประพันธ์เนื้องเพลง พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ให้เป็นเพลงประจำสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 โดยเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่ใช้ทำนองเพลงแบบ Pentatonic Scale หรือ Five Tone Scale ซึ่งหมายถึง ในบทเพลงจะประกอบด้วยตัวโน๊ตทั้งหมดเพียง 5 เสียงเท่านั้น

เมื่อปี พ.ศ. 2492 เนื่องจากในขณะนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังไม่มีเพลงประจำสถาบัน ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทำนองเพลงนี้ โดยมีท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และ สุภร ผลชีวิน เป็นผู้ประพันธ์คำร้องขึ้นถวาย ดังนั้น เพลงมหาจุฬาลงกรณ์จึงใช้เป็นเพลงประจำสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2497 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล นำทำนองเพลง "มหาจุฬาลงกรณ์" ซึ่งเป็นเพลงที่มีทำนองเพลงในแนวสากลมาปรับปรุงให้มีทำนองเพลงในแนวไทยเดิมเพื่อใช้สำหรับเป็นเพลงโหมโรงก่อนการบรรเลงดนตรีไทย นายเทวาประสิทธิ์รับพระราชทานลงมาทำและบรรเลงถวายด้วยวงปี่พาทย์ถึงสองครั้งด้วยกัน หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วจึงพระราชทานเพลงนี้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นเพลงไทยเพลงแรกที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากเพลงไทยสากล[1] ต่อมา เมื่อนายเทวาประสิทธิ์ไปสอนดนตรีไทยให้แก่ชมรมดนตรีของสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้นำ "เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์" มาสอนนิสิตชมรมดนตรีไทย และใช้เป็นเพลงโหมโรงในการบรรเลงดนตรีไทยของชมรม ฯ ตลอดมา

เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ จัดเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย 1 ใน 3 แห่ง ซึ่งอีก 2 เพลง ได้แก่ เพลง "ยูงทอง" ซึ่งพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเพลง "เกษตรศาสตร์" ซึ่งพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพระองค์มีพระราชดำรัสถึงการแต่งเพลงประจำสถาบันไว้ว่า

"...เรื่องเพลงที่แต่งขึ้นใหม่นั้นต้องขอชี้แจงสักนิด ฟังแล้วอาจจะตกใจ เพราะว่าเพลงที่ประจำในมหาวิทยาลัยเมืองไทย เดี๋ยวนี้ก็มีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วก็ของธรรมศาสตร์ที่ได้ให้ทั้งสองเพลงนั้น กับเพลงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นี้ ต้องบอกว่ายาวเท่ากัน ไม่ต้องอิจฉาว่าของเขายาวกว่าหรือสั้นกว่า ยาวเท่ากัน แล้วก็การสร้างแบบนั้นก็สร้างในแบบเดียวกัน ไม่ต้องอิจฉาอะไร แล้วก็ถ้าชอบก็บอกว่าชอบ ถ้าไม่ชอบก็ไม่รู้จะทำอย่างไร อาจจะแก้ไข อย่างไรก็ตาม ก็มีอย่างหนึ่ง คือ เพลงของจุฬาฯ เขาก็บอกว่าเพลงของเขาเพราะที่สุด ถ้าไปถามชาวธรรมศาสตร์ว่าเพลงไหนเพราะที่สุด เขาก็บอกว่าเพลงธรรมศาสตร์ แล้วถ้าถามพวกเกษตร น่ากลัวบอกว่าเพลงเกษตรเพราะกว่า ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไรนะ แต่ว่าเพลงของจุฬาฯ เขาโอ้อวดว่าสง่าผ่าเผยมาก แล้วก็เพราะมาก ถ้าพูดถึงว่าเพลงธรรมศาสตร์เขาก็บอกว่าองอาจดี เดินก็ได้ จุฬาฯ เขาก็ตอบว่าของเขาก็เดินได้เหมือนกัน เป็นเพลงสำหรับนำแถวได้ เพลงของเกษตรนี้ก็ ที่จริงก็ควรจะตัดสินเอาเองว่าเป็นยังไง แต่ความคิดส่วนตัวของผู้แต่ง รู้สึกว่าเป็นเพลงที่อ่อนหวาน อ่อนหวานกว่าเพลงโน้น แต่อ่อนหวาน นี่ไม่ได้หมายความว่าไม่เข้มแข็ง แต่อ่อนหวานนี่อาจจะมีความหมายได้ว่า ผลิตผลของทางการเกษตรรวมทั้งผลไม้หรือสิ่งที่บริโภค ถ้ารสหวาน รู้สึกว่าดี เพราะว่าเขานิยมกันอย่างนั้น ข้าวโพดหวานเขาก็ชอบ ก็เลยคิดว่า เพลงหวานไม่เป็นไร แต่ถ้านำไปเดินสำหรับนำแถวก็อาจจะได้เปลี่ยนแปลงไปหน่อย ก็อาจจะเป็นเพลงสำหรับแตรวงเดินก็อาจจะพอได้ แต่ขออย่างเดียวอย่าเดินขบวน..."

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เมื่อครั้งได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเพลงเกษตรศาสตร์นั้น ได้กล่าวถึงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ว่า "เนื้อเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ดีเยี่ยม จนทำให้ผู้เขียนแหยงว่าไม่มีทางประพันธ์ให้ไพเราะใกล้เคียงกับเพลงนั้นได้"[2]

ไม่พบไฟล์เสียง "MahaChulalongkorn.ogg"

น้ำใจน้องพี่สีชมพู
ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา
พระคุณของแหล่งเรียนมา
จุฬาลงกรณ์

ขอทูนขอเทิดพระนามไท
พระคุณแนบไว้นิรันดร
ขอองค์พระเอื้ออาทร
หลั่งพรคุ้มครอง

นิสิตพร้อมหน้า
สัญญาประคอง
ความดีทุกอย่างต่างปอง
ผยองพระเกียรติเกริกไกร

ขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง
นิสิตประสงค์เป็นธงชัย
ถาวรยศอยู่คู่ไทย
เชิดชัย ชโย

มีเดีย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. พระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านดนตรี
  2. ประวัติเพลงพระราชนิพนธ์เกษตรศาสตร์