ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านลอมกลาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 2: บรรทัด 2:


== สภาพทางภูมิศาสตร์ ==
== สภาพทางภูมิศาสตร์ ==
บ้านลอมกลาง หมู่ 3 ตำบล[[ยม]] อำเภอ[[ท่าวังผา]] จังหวัด[[น่าน]] รหัสไปรษณีย์ 55140 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยม เนื้อที่ของหมู่บ้านจำนวน 1500 ไร่ จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 97 ครัวเรือน ตั้งอยู่บน[[ทางหลวงแผ่นดิน]]หมายเลข 1180 [[กิโลเมตร]]ที่ 12 สภาพเป็นเนินภูเขา อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่าง[[ลำน้ำบั่ว]]และ[[แม่น้ำย่าง]] ทางด้านทิศเหนือเป็น[[ภูเขา]]สูงโอบล้อมอยู่เป็นที่ตั้งของ[[ดอยม่อนหลวง]] และ[[ดอยม่อนหีโง]] จรดไปถึงลำน้ำหมู บ้านนานิคม และข้ามไปถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดห้วยช้างสั่น บ้านป่ากลาง อ.[[ปัว]] และบ้านน้ำฮาว ทิศใต้เป็นเนินที่ราบเรียกว่า[[ทุ่งฆ้อง]] และ[[ที่ราบสูงบ้านเสี้ยว]]โดยมีแม่น้ำย่างกั้นระหว่างบ้านเสี้ยวกับบ้านลอมกลาง ทางทิศเหนือห่างจากหมู่บ้าน 2 กม.เป็น[[ดอยภูคา]] ทิศตะวันตกเป็นเนินลงลำน้ำบั่วกั้นระหว่าง[[บ้านสบบั่ว]]กับบ้านลอมกลาง
บ้านลอมกลาง หมู่ 3 ตำบล[[ยม]] อำเภอ[[ท่าวังผา]] จังหวัด[[น่าน]] รหัสไปรษณีย์ 55140 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยม เนื้อที่ของหมู่บ้านจำนวน 1500 ไร่ จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 97 ครัวเรือน ตั้งอยู่บน[[ทางหลวงแผ่นดิน]]หมายเลข 1180 หลัก[[กิโลเมตร]]ที่ 12 (ถนนท่าวังผา-ศิลาเพชร) สภาพเป็นเนินภูเขา อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่าง[[ลำน้ำบั่ว]]และ[[แม่น้ำย่าง]] ทางด้านทิศเหนือเป็น[[ภูเขา]]สูงโอบล้อมอยู่เป็นที่ตั้งของ[[ดอยม่อนหลวง]] และ[[ดอยม่อนหีโง]] จรดไปถึงลำน้ำหมู บ้านนานิคม และข้ามไปถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดห้วยช้างสั่น บ้านป่ากลาง อ.[[ปัว]] และบ้านน้ำฮาว ทิศใต้เป็นเนินที่ราบเรียกว่า[[ทุ่งฆ้อง]] และ[[ที่ราบสูงบ้านเสี้ยว]]โดยมีแม่น้ำย่างกั้นระหว่างบ้านเสี้ยวกับบ้านลอมกลาง ทางทิศเหนือห่างจากหมู่บ้าน 2 กม.เป็น[[ดอยภูคา]] ทิศตะวันตกเป็นเนินลงลำน้ำบั่วกั้นระหว่าง[[บ้านสบบั่ว]]กับบ้านลอมกลาง


== อาณาเขต ==
== อาณาเขต ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:32, 30 กันยายน 2551

บ้านลอมกลาง อยู่ในจังหวัดน่าน

สภาพทางภูมิศาสตร์

บ้านลอมกลาง หมู่ 3 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55140 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยม เนื้อที่ของหมู่บ้านจำนวน 1500 ไร่ จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 97 ครัวเรือน ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1180 หลักกิโลเมตรที่ 12 (ถนนท่าวังผา-ศิลาเพชร) สภาพเป็นเนินภูเขา อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างลำน้ำบั่วและแม่น้ำย่าง ทางด้านทิศเหนือเป็นภูเขาสูงโอบล้อมอยู่เป็นที่ตั้งของดอยม่อนหลวง และดอยม่อนหีโง จรดไปถึงลำน้ำหมู บ้านนานิคม และข้ามไปถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดห้วยช้างสั่น บ้านป่ากลาง อ.ปัว และบ้านน้ำฮาว ทิศใต้เป็นเนินที่ราบเรียกว่าทุ่งฆ้อง และที่ราบสูงบ้านเสี้ยวโดยมีแม่น้ำย่างกั้นระหว่างบ้านเสี้ยวกับบ้านลอมกลาง ทางทิศเหนือห่างจากหมู่บ้าน 2 กม.เป็นดอยภูคา ทิศตะวันตกเป็นเนินลงลำน้ำบั่วกั้นระหว่างบ้านสบบั่วกับบ้านลอมกลาง

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับบ้านนานิคม หมู่ 10 ต.ยม และบ้านป่ากลาง ต.ป่ากลาง อำเภอปัว

ทิศใต้ ติดกับบ้านเสี้ยว

ทิศตะวันออก ติดกับบ้านทุ่งฆ้อง และบ้านเชียงยืน

ทิศตะวันตก ติดกับบ้านสบบั่ว

ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน

ไฟล์:ตัวหนังสือไทลื้อ.jpg
ตัวอักษรไทลื้อ
ไฟล์:ผีเฮือน.jpg
หอผีบรรพบุรุษชาวเมืองเชียงลาบ บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

บ้านลอมกลาง หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย หรือ บ้านบั่วใต้ หรือบ้านน้ำบั่ว ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามในสิบสองปันนาสงบลง เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้โปรดให้ลูกหลานของพญาเชียงลาบ จำนวน 15 ครอบครัว ได้ตั้งบ้านเรือน บริเวณลุ่มลำน้ำบั่ว

ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมืองเชียงลาบ ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านและมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ และเดือนแปดตามปฏิทินไทลื้อ พิธีนี้ยังคงมีจนถึงปัจจุบัน

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ. 2330 เกิดยุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" เจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และเจ้าผู้ครองนครน่าน นครแพร่ นครลำปาง เจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าจอมหง แห่งเชียงตุง และกองทัพสยาม ได้นำกำลังไพร่พลและอาวุธ เข้าตีหัวเมืองลื้อต่าง ๆ ในสิบสองปันนา เพื่อขับไล่พม่าออกจากล้านนา และหัวเมืองสิบสองปันนา และในครั้งนั้นได้นำกำลังเข้าโจมตีเชียงแสน ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในขณะนั้นเมืองเชียงลาบเป็นหัวเมืองหนึ่งของเชียงแสน และเป็นเมืองขึ้นของพม่า

เมื่อทัพของเจ้าเจ็ดตนแห่งล้านนาได้ขับไล่พม่าออกจากเมืองเมืองเชียงแสนเจ้ากาวิลละโปรดให้ให้รื้อกำแพงเมืองทั้งหมด ซึ่งในตอนนั้นถือว่าสิ้นสุดของเชียงแสน ส่วนเมืองเชียงลาบ ในขณะนั้นเป็นหัวเมืองสำคัญของเชียงแสน ก็ถือคราวแตก และเป็นอิสระแก่เชียงแสน เมื่อทัพเจ้าเจ็ดตนขยายการยึดครองเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนารวมถึงเชียงลาบ ด้วย ทางเชียงลาบ ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ติดริมแม่น้ำโขง เจ้าหลวงเชียงลาบพิจารณาเห็นแล้วว่ากำลังของชาวเชียงลาบไม่สามารถที่จะต้านทานศึกสงครามในครั้งนี้ได้แน่จึงได้ขอเป็นขอบข้าขัณฑสีมาแต่ล้านนา

นับแต่เมืองเชียงลาบ ไปสุดเมืองเชียงแขง เมืองล้า เมืองพง เมืองมาง เมืองภูคา เมืองเทิง เมืองเลน ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเมืองน่าน ในฐานนะหัวเมืองขึ้น หลังจากเมืองน่านได้ปกครองหัวเมืองลื้อต่าง ๆ แล้วจึงได้มีหนังสือโองการเจ้าฟ้าแห่งเมืองนครน่าน ไปแจ้งยังเจ้าฟ้าไทลื้อหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อเดินทางมายังหอคำหลวงนครน่าน เพื่อรับฟังข้อกฎหมายปกครองนครน่าน ดังจารึกหลักคำ เรื่องอาณาจักรหลักคำน่าน (กฎหมายปกครองนครน่าน) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งดังนี้....

ครั้นเถิงเดือนยี่ออก ๑ ค่ำ มีเจ้าพระยาอุปราชาหอหน้าเป็นประธาน และเจ้าพระยาราชบุตร เจ้าพระยาศรีสองเมือง เจ้าพระยาสุริยพงษ์ เจ้าพระยาวังซ้าย เจ้าพระยาวังขวา เจ้าพระยาอริยวงษา เจ้าพระยาเทิง เจ้าพระยาเมืองราชา เจ้าพระเมืองแก้ว เจ้าพระเมืองน้อย เจ้าพระวิไชยราชา เจ้าเมืองเชียงแขง เจ้าเมืองเชียงของ เจ้าเมืองเลน เจ้าราชวงษ์เมืองเลน เจ้าเมืองหลวง เจ้าเมืองเชียงลาบ เจ้าเมืองภูคา เจ้าเมืองล้ำ แลขัติยราชวงษา ท้าวพญาเสนาอามาตย์ราชเสวกผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งมวลพร้อมกันเอาเนื้อความปรึกษาตั้งราชอาชญานั้นขึ้นกราบหลอง๗ เถิงราชสำนักเราเป็นเจ้าแล้ว จึงได้พร้อมกันตั้งพระราชอาชญาไว้หื้อเป็นอาณาจักรหลักคำ ไว้สั่งสอนห้ามปรามเจ้านายท้าวขุนลูกหลานไพร่ไทยทั้งหลายอย่ากระทำกรรมอันบ่ดีสืบต่อไปภายหน้าว่าตั้งแต่ศักราช ๑๒๑๔ ตัวปีเต่าไจ้เดือนยี่ ออก ๑ ค่ำ วันพุธนี้ไป ภายหน้าห้ามอย่าหื้อเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลายได้สมคบกันกระทำกรรมบ่ดี

ผลจากสงครามครั้งนี้จึงทำให้เมืองเชียงลาบยังคงรักษาสถานะความเป็นเมืองและยังคงมีเจ้าผู้ครองเมืองดังเดิม ซึ่งแตกต่างจากเจ้าเมืองยอง ซึ่งเป็นเสมือนเมืองพี่กับเมืองเชียงลาบ ซึ่งล้วนเป็นเมืองขึ้นของพม่าด้วยกัน ที่ไม่ยอมเจรจาเลยถูกโจมตีอย่างหนักถึงสามวันสามคืน จนเมืองแตก ทำให้เกิดการอพยพเทครัวทั้งเมืองรวมถึงเจ้าฟ้าเมืองยองถูกนำตัวมาไว้ที่ลำพูน

เมื่อเสร็จสิ้นสงครามครั้งนี้ ทางเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ให้อพยพผู้คนบางส่วนจากเชียงลาบตามตามทัพของท่าน กลับเข้ามาสู่นครน่าน

สู่ขอบข้าฟ้าใหม่นครน่าน

ครั้นเมื่อกองทัพเจ้าอัตถวรปัญโญกลับมาถึงเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2345 เมืองย่าง และเมืองยม ซึ่งเป็นหัวเมืองหนึ่ง ของนครน่าน เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ผู้คนล้มตาย และสูญหายไปเป็นจำนวน มาก อีกทั้งเจ้าเมืองย่าง คือ แสนปั๋นถึงแก่กรรม

โดยครั้งนั้นเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านได้มาตรวจสภาพพื้นที่เมืองย่าง และเมืองยม เห็นว่ามีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี มีพื้นที่ราบกว้างขวาง ประกอบกับในบริเวณเมืองย่างนั้นมีชาวไทลื้อที่เจ้าเมืองเล็นอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบางส่วนมาตั้งบ้านเรือนในสมัยพระเมืองราชา เจ้าเมืองน่านแล้วนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปกครองจึงพิจารณาเห็นสมควรโปรดให้ชาวไทลื้อ ที่ได้อพยพมาจาก เมืองยอง เมืองยู้ เมืองเชียงลาบ ตั้งบ้านเรือน อยู่ริมฝั่งริมสองฟากฝั่งแม่น้ำย่าง ในเขตเมืองยม

โดยครั้งนั้นโปรดให้ชาวไทลื้อที่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบ เจ้าเมืองเชียงลาบตั้งบ้านเรือนอยู่ริมลำน้ำบั่ว โปรดให้ลูกหลานพญาคำแสนเจ้าเมืองเล็น ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำย่างฝั่งทิศเหนือ โปรดให้ชาวเมืองยอง ตั้งบ้านเรือนอยู่ทิศใต้ของแม่น้ำย่าง ชาวลื้อเมืองยู้ตั้งบ้านเรือนอยู่กลางน้ำย่าง

ภาษา ศาสนาและความเชื่อ

สำเนียงภาษาชาวลื้อเมืองเชียงลาบ เป็นสำเนียงภาษาเดียวกับภาษาเชียงรุ่ง เหมือนกับภาษาชาวไทยอง (ลื้อเมืองยอง) ตัวอักษรของชาวไทลื้อคล้ายกับภาษาของชาวไทเขิน ซึ่งต่างจากอักษรล้านนา ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบนับถือพุทธศาสนา และนับถือผีบรรพบุรุษและผีต่าง ๆ

การนับถือพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา นับถือนิกายเถรวาท ประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมชาวเชียงลาบ การยอมรับนับถือพุทธศาสนานั้นชาวเชียงลาบได้รับการเผยแพร่มาจากเชียงใหม่


การนับถือผี

ข้อห้ามสำหรับแขก หรือบุคคลที่ไม่ได้นับถือบรรพบุรุษเดียวกันคือ ห้ามบุคคลที่นับถือผีต่างกันหรือแขกที่มาเยี่ยมเข้าไปห้องนอนของเจ้าบ้านโดยเด็ดขาด เพราะห้องนอนจะเป็นที่สถิตย์ของผีครูและผีเรือน

    • ผีเจ้าเมือง คือผีเจ้าหลวงเชียงลาบ และพระมหาเทวีเจ้า และนักรบโบราณต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ดูแลปกปักรักษาบ้าน เมือง เสื้อเมือง ซึ่งผู้ทำหน้าที่ติดต่อผีเรียกว่า เข้าจ้ำ ซึ่งจะเป็นผู้ชาย และจะต้องทำพิธีบวงสรวงด้วยหมูสีดำสนิท และต้องเป็นตัวที่ไม่มีที่ติ ถูกต้องตามลักษณะ ตามตำราของหมอผี การบวงสรวงจะกระทำปีละสองครั้ง คือเดือนสี่และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติ ต้องบวงสรวงด้วยวัว ควาย หมู เป็ด ไก่

ข้อห้ามคือ ห้ามผู้หญิงเข้าเขตบวงสรวง นี้โดยเด็ดขาด

    • ผีเรือน ซึ่งมีทั้งผีเรือนฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ การสืบผีนั้นผู้หญิงจะทำหน้าที่สืบผีเรือน คือต้องทำหน้าที่ต่อกับผีเซ่นไหว้ไม่ให้ขาด การบวงสรวงผีเรือนจะกระทำหลังจากบวงสรวงผีเจ้าเมือง การบวงสรวงจะบวงสรวงด้วยไก่สีดำ และไข่ไก่ ฝ้าย เทียนเหลือง หรือขี้ผึ้ง ผู้หญิงจะเป็นคนกระทำ
    • ผีเตาไฟ และผีหม้อนึ้ง มีหน้าที่ดูแลรักษาบ้านเรือนไม่ให้เกิดไฟไหม้ และอาหารเป็นพิษ อันจะทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตรวจตราว่าเกิดสิ่งร้ายอันใดขึ้นกับบุคคลในครอบครัวและผู้อื่น กล่าวคือ เมื่อมีคนไม่สบายในบ้านเรือน เข้าจ้ำจะทำพิธีหาสาเหตุโดยเสี่ยงทายจากหม้อนึ้ง
    • การทรงผีหม้อนึ้ง ผู้ทำหน้าที่ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นและจะต้องสืบทางสายเลือด เมื่อมีการทรงนั้นจะนำน้ำเต้าและไหข้าวมาผูกกับไม้คานให้เป็นรูปคน เขียนหูเขียนตา จมูก ใส่เสื้อผ้า แล้วนำข้าวสารใส่กระด้ง ก่อนการทรงผีนั้นจะให้ชาวบ้านพิสูจน์ก่อนคือให้ลองยกไหข้าวก่อนว่าน้ำหนักเบา เมื่อมีการทรงแล้วไหข้าวจะมีน้ำหนักมาก จนต้องใช้คนถึงสองคนช่วยกันยก ไปบริเวณพิธีที่มีกระด้งอยุ่ เมื่อไปถึงกระด้งผีหม้อนึ่งจะเขียนตัวหนังสือเป็นภาษาไทลื้อ ซึ่งจะมีล่ามคือคนแก่อ่านให้ฟัง หรือใครที่อ่านออกก้ออ่านได้เลย จากนั้นก้อจะทำพิธีเสี่ยงทายเรื่องต่าง ๆ แล้วแต่ใครอยากรู้เรื่องอะไร แต่ส่วนใหญ่ถามเรื่องอาการเจ็บป่วย หากคนเจ็บป่วยนั้นจะต้องตายแน่ ๆ ผีหม้อนึ้งจะวาดเป็นรูปโลงศพ แล้วโกยข้าวสารกลบรูปโลงศพ ซึ่งการเสี่ยงทายนั้นจะตรงกับความจริงเสมอ (การทำพิธีนี้นาน ๆ อาจสิบปีจะมีสักครั้งหรือสองครั้ง)
    • ผีก๊ะผีห่า คือผีไม่มีญาติ หรือสังภเวสีต่าง ๆ ที่คอยมารังควานทำร้ายชาวบ้าน เมื่อเจ็บป่วยหมอจะทำพิธีเสี่ยงทายและจะให้นำของไปเซ่นไหว้ ตามที่ผลเสี่ยงทายออกมา
    • ผีครู คือผีครูบาอาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่ปกปักรักษาศิษย์ ผู้เรียนคาถาเวทมนตร์ต่าง ๆ

ประเพณีของชาวลื้อเมืองเชียงลาบ

  • ป๋างสี่ป๋างแปด ตรงกับเดือนสี่ และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ คือพิธีบวชสรวงดวงวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงลาบ และพระนางมหาเตวีเจ้า และเหล่าดวงวิญญานักรบโบราณ เสื้อบ้าน เสื้อเมืองเชียงลาบ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปี ในช่วงเดือนสี่ และเดือนแปด ของชาวไทลื้อ (เป็นประเพณีที่ต้องทำทุกปี ห้ามเว้นโดยเด็ดขาด)


  • จิ๊ก๋องโหล คือ ประเพณีถวายอัคคีพุทธบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทย หรือวันยี่เป็งของล้านนา แต่ในเดือนของชาวไทลื้อ คือ เดือนเจ๋งเป็ง หรือ "เก๋งเป็ง" หมายถึงเดือนหนึ่งหรือเดือนอ้ายขึ้นสิบห้าค่ำ นั่นเองซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมานับแต่สมัยอยู่เมืองเชียงลาบ ซึ่งว่างเว้นหรือไม่จัดไม่ได้เด็ดขาด กล่าวคือในวันดังกล่าวจะมีพิธีแป๋งเข่าลดเค๊าะ และพิธีตักบาตรในตอนเช้าตอนสายฟังธรรม จนถึงสองทุ่มจึงทำพิธีเผาไม้ง่ามหรือไม้ก้ำสลี

- การทำไม้ค้ำสลี สำหรับถวายทานนี้ฝ่ายผู้ชายต้องไปหาไม้ง่ามในป่ามาปอกเปลือกให้หมด ไม้ที่นิยมคือไม้เป้า หาให้มีจำนวนครบกับคนในครอบครัว และบวกเพิ่มอีก 1-2 ท่อน แล้วจารึกชื่อ และอักษรธรรมภาษาไทลื้อลงไปในไม้แต่ละท่อน จากนั้นนำไม้ไปสุมเป็นกองหน้าวิหารวัด แล้วนำด้ายพันรอบไม้ค้ำสลี ก่อนจุดพระจะเป็นคนสวดนำทางเวียนเทียนสามรอบ เมื่อครบสามรอบแล้วจึงนำเทียนนั้นจุดไฟเผาไม้ เมื่อไฟไหม้ไม้ ทุกคนจะอธิษฐานของให้เคราะห์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับตัว และอริศัตรูต่าง ๆ นั้นมอดไหม้ไปกับไฟนี้อย่าให้มีเหลือ ขอให้ชีวิตรุ่งเรืองเหมือนกับไฟที่ลุกสว่างขึ้นเรื่อย ๆ

  • ประเพณีปี๋ใหม่ ตรงกับเดือนหกของชาวไทลื้อ คือวันสงกรานต์ของไทย พิธีที่ต่างกันจากชาวล้านนาทั่วไปคือ ชาวลื้อจะมีการฉลองโดยการทำพิธีบายสีสู่ขวัญคนเฒ่าคนแก่ทุกคน และจะต้องทำให้ครบทุกคนในหมู่บ้าน และทุกบ้านหากมีผู้สูงอายุต้องทำพิธี และต้องเชิญชาวบ้านมาร่วมงาน และจะมีการฆ่าไก่ เพื่อมาต้มสู่ขวัญและ นำมาเลี้ยงแขกทุกคนในบ้าน และต้องเลี้ยงจนแขกคนสุดท้ายกลับ


อ้างอิง

  • พื้นเมืองเชียงแสน วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
  • ประวัติชาวไทลื้อ บ้านลอมกลาง ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน
  • ประวัติความเป็นมาของตำบลศิลาเพชร ต.ศิลาเพชร อ.ปัว จ.น่าน