ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศีล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
[[de:Sila]]
[[de:Sila]]
[[en:Sila]]
[[en:Sila]]
[[es:Sila]]
[[fr:Sila]]
[[fr:Sila]]
[[it:Sila (disambigua)]]
[[it:Sila (disambigua)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:56, 30 กันยายน 2551

ศีล แปลได้หลายความหมาย ซึ่งในอรรถกถา นิยมให้ความหมายว่า สีลนะ แล้วให้คำจำกัดความของคำว่า สีลนะ ไว้ ๒ ข้อหลัก คือ

  1. สมาทานํ - การสำรวมกายวาจาไว้เรียบร้อยดี
  2. อุปธารณํ - รองรับการทำบุญชั้นสูงกว่าศีลขึ้นไป ได้แก่ รองรับการรักษาธุดงค์ การทำสมาธิ การทำวิปัสสนา.

กล่าวโดยสรุป ศีล จึงหมายถึง ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" ด้วย.

ศีลในทางพระพุทธศาสนามี่อยู่หลายอย่างด้วยกัน.

  1. ปัญจศีล (ศีล ๕) หรือเรียกว่านิจจศีล(คือถือเนื่องนิจจ์)
  2. อาชีวัฏฐมกศีล (ศีลกุศลกรรมบท ๑๐) หรือเรียกว่าอาทิพรหมจริยาศีล(หรือเรียกอีกอย่างว่า นวศีล)
  3. อัฏฐศีล (ศีล ๘) หรือเรียกว่าอุโบสถศีล (ศีลอุโบสถ)
  4. ทสศีล (ศีล ๑๐)
  5. ภิกษุณีวินัย (ศีล ๓๑๑)
  6. ภิกษุวินัย (ศีล ๒๒๗)

ศีล แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือจุลศีล (ศีลอย่างน้อย) ได้แก่ คหัฏฐศีลทั้ง ๒ คือ ศีล๕ และอาชีวัฏฐมกศีล มัชฌิมศีล (ศีลอย่างกลาง)ได้แก่ บรรพชาศีลทั้ง ๒ คือได้แก่อัฏฐศีล และทสศีล มหาศีล(ศิลอย่างสูง) ได้แก่ อุปสมบททั้ง๒ คือ ภิกษุณีวินัย และภิกษุวินัย

ศีล คือ หลักในการปฏิบัติเพื่อที่จะให้ผู้ปฏิบัติมีกาย วาจา ใจ เป็นอิสระ จากเครื่องเหนี่ยวรั้งทั้งปวง และปกป้องตัวเองจากความเสื่อมทั้งหลาย และพ้นจากกรรมชั่ว ที่จะกลับมาสนองกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติในศีล

อานิสงส์ของการรักษาศีลแต่ละชั้นย่อมแตกต่างกันไป ตอนนี้ขอกล่าวถึงอานิสงส์กว้างๆ จากการรักษาศีล คือ ทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".