ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงจีนป่วยพวง แซ่โค้ว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''หลวงจีนเย็น ฮวบ หรือ พระอาจารย์เย็นฮวบ''' เป็นพระเถระสำคัญรูปหนึ่งของ[[คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย]] และท่านเป็นศิษย์ของ[[พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้งมหาเถระ]])เถระประวัติของท่านนั้นจะรู้จักกันในเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์ในคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยแล้ว ส่วนคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้สัมผัสแทบจะไม่ค่อยรู้จัก เพราะเนื่องจากท่านเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และชอบปลีกวิเวก และบำเพ็ญสมาธิ อยู่ที่สวนโพธิวนาราม ของ[[วัดเทพพุทธาราม]] ตลอดเวลา
'''หลวงจีนเย็น ฮวบ หรือ พระอาจารย์เย็นฮวบ''' เป็นพระเถระสำคัญรูปหนึ่งของ[[คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย]] และท่านเป็นศิษย์ของ[[พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้งมหาเถระ]]) เถระประวัติของท่านนั้นจะรู้จักกันในเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์ในคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยแล้ว ส่วนคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้สัมผัสแทบจะไม่ค่อยรู้จัก เพราะเนื่องจากท่านเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และชอบปลีกวิเวก และบำเพ็ญสมาธิ อยู่ที่สวนโพธิวนาราม ของ[[วัดเทพพุทธาราม]] ตลอดเวลา


==พระสำเร็จ==
==พระสำเร็จ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:41, 27 กันยายน 2551

หลวงจีนเย็น ฮวบ หรือ พระอาจารย์เย็นฮวบ เป็นพระเถระสำคัญรูปหนึ่งของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย และท่านเป็นศิษย์ของพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้งมหาเถระ) เถระประวัติของท่านนั้นจะรู้จักกันในเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์ในคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยแล้ว ส่วนคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้สัมผัสแทบจะไม่ค่อยรู้จัก เพราะเนื่องจากท่านเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และชอบปลีกวิเวก และบำเพ็ญสมาธิ อยู่ที่สวนโพธิวนาราม ของวัดเทพพุทธาราม ตลอดเวลา

พระสำเร็จ

พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกายฌาณ หรือเซน หากภิกษุใดที่ถือวิปัสสนาอย่างเคร่งครัด เมื่อถึงกาลมรณภาพมักจะเข้าฌานสมาบัติให้สิ้นใจในเวลานั่งสมาธิอยู่ในฌานสมาบัตินั้น เมื่อมรณภาพแล้วร่างกายจะดำรงอยู่อย่างนี้แล้วแห้งไปเอง ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น นับถือบูชากันว่าเป็นร่างศักดิ์สิทธิ์เรียก กันว่า พระสำเร็จ หรือ เส่งเต๋า

ตลอดประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน และต่างประเทศมักจะเห็นสรีระธาตุของบูรพาจารย์มากมาย ตัวอย่างที่รู้จักกันดี คือ พระสังฆปริณายกเว่ยหลาง แห่งนิกายฌาน ซึ่งมรณภาพมากว่า 1000 ปีแล้ว สรีระพระอาจารย์ตังชั้ง สรีระพระอาจารย์คัมซัว (หันซาน) พระปราชญ์แห่งราชวงศหมิง ที่ประดิษฐานรวมกันในวัดน่ำฮั้วยี่ (หนานหัวซื่อ) มณฑลกวางตุ้ง

ส่วนพระเถระฝ่ายจีนนิกายในเมืองไทยที่นั่งมรณภาพในฌานสมาบัติก็มีอีกหลายรูป เช่น พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร(สกเห็ง) พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (กวยหงอ) แต่ร่างของท่านทั้งสองได้รับพระราชทานเพลิงศพตามประเพณีนิยม และอีกรูปหนึ่งคือพระอาจารย์เย็นฮวบ ซึ่งทางลูกหลานได้ขอให้ฌาปณกิจศพของท่านในเวลาต่อมา

ในปัจจุบันวัดฝ่ายจีนนิกายยังมีสรีระร่างบูรพาจารย์ได้แก่ พระอธิการตั๊กฮี้ พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (เซียงหงี) พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้ง) พระอาจารย์เย็นกวง พระอาจารย์เย็นกวน เป็นต้น

ส่วนของพระเถระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) อดีตเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายแห่งประเทศไทย รูปที่ 6 มีผู้สำเร็จธรรม หรือ เส่งเต๋า ถึงปัจจุบันนี้มี 3 รูป คือ พระอาจารย์เย็นกวง พระอาจารย์เย็นกวน พระอาจารย์เย็นฮวบ


เถระประวัติ

หลวงจีนเย็นฮวบ มีนามเดิมว่า ป่วยพวง แซ่โค้ว (เจริญคุปต์) เกิดที่ตำบลเปี่ยเป๋า อำเภอเยี่ยวเพ้ง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน บิดาชื่อนายเยียกเนี้ย มารดาชื่อนางชุงฮ้อ แซ่ตั้ง ปี พศ 2435 เมื่ออายุ 11 ปี ก็สิ้นบุญมารดา เมื่ออายุ 15 ปีจึงได้ติดตามบิดาเดินทางสู่ประเทศไทย ทำงานเดินเรือ กับบิดาและต่อมาทำกิจการค้าขาย จนเมื่อท่านอายุได้ 46 ปี ก็ตั้งร้านค้าขายชื่อร้าน “ชอเฮงหลี” กิจการเจริญเติบโตจนถึงปัจจุบัน

เมื่อย่างเข้าสู่วัยชราอายุได้ 62 ปี ท่านจึงหลบจากสังคมหาสถานที่สงบ ณ ภูเขาหลังพระพุทธบาท จ.สระบุรี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย เมื่อปี 2499 ท่านอายุได้ 65 ปี จึงได้ธรรมจักษุจึงได้สละโลกทางโลกียออกบวช และท่านได้ขออุปสมบท กับพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) ณ วัดโพธิ์เย็น จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อท่านได้บวชแล้วจึงได้เร่งความเพียรพยายามเพื่อปฏิบัติธรรมให้สำเร็จ

เมื่ออายุได้ 75 ปี ท่านจึงได้สร้างกุฏิเพื่อเจริญสมาธิภาวนา ณ วัดเทพพุทธาราม จ.ชลบุรี และท่านเป็นพระเคร่งพระวินัยมาก ท่านมักจะสวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิแผ่กุศลไปยังสรรพสัตว์

จนกระทั่ง วันที่ 4 สิงหาคม 2510 ขณะท่านได้เจริญสมาธิ ได้บังเกิดมรณญาณ คือรู้วันเวลาแตกดับของสังขารใกล้เข้ามาแล้ว และท่านจึงจุดเทียนรอบกายท่านแล้วเขียนโศลกบทหนึ่งว่า

“เมื่อละได้ ก็สามารถไปถึงพุทธเกษตร นั่งดับในท่ามกลางแสงเทียน ได้เฝ้าพระสุคตด้วยตัวเอง”

จากนั้นท่านจึงเข้าฌานสมาธิหน้าพระพุทธรูปในอุโบสถ แล้วดับสังขารในท่าสมาธิขัดบัลลังค์ รวมสิริอายุได้ 76 ปี 12 พรรษา