ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลอเรนโซ วัลลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: ลอเรนโซ วัลลา (Lorenzo valla) ลอเรนโซ วัลลา (Lorenso หรือ Laurentius Valla) (ค.ศ. 1406-1457) ชาวอิ...
 
ปังคุง (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการหมวดหมู่ +ต้องการวิกิลิงก์ +เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการวิกิลิงก์}}
{{ต้องการหมวดหมู่}}
ลอเรนโซ วัลลา (Lorenzo valla)
ลอเรนโซ วัลลา (Lorenzo valla)



รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:12, 27 สิงหาคม 2551

ลอเรนโซ วัลลา (Lorenzo valla)


ลอเรนโซ วัลลา (Lorenso หรือ Laurentius Valla) (ค.ศ. 1406-1457) ชาวอิตาลี ครอบครัวของวัลลามาจากเมือง Piacenza บิดาของเขาคือ Luca dellea Vallea ซึ่งเป็นนักกฎหมาย วัลลาเป็นนักมนุษยนิยม นักภาษาศาสตร์ และนักศึกษาศาสตร์ วัลลามีความสนใจในการอ่านต้นฉบับของเอกสารสมัยคลาสสิคจนสามารถสังเกตวิวัฒนาการของภาษา วัลลามีไหวพริบในการวิเคราะห์ถ้อยคำและเป็นผู้บุกเบิกในการวิพากษ์วิจารณ์เอกสารต้นฉบับของจริง

1. การศึกษา วัลลาจบการศึกษาที่กรุงโรม เขาได้ศึกษาในชั้นเรียนของอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Leonardo Bruni และ Giovanni Aurispa ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้เป็นผู้สอนในด้านอักษรศาสตร์กรีกและลาตินแก่วัลลา นอกจากนี้เขายังได้เข้าศึกษาที่ University of Padua ในปี ค.ศ. 1428 เขาพยายามที่จะเข้าไปดำรงตำแหน่งในคณะทูตของสันตะปาปา แต่กลับถูกปฏิเสธเพราะอายุยังน้อย ต่อมาในปี ค.ศ. 1429 เขาได้รับหน้าที่ให้เข้าไปสอนวิชา rhetoric (วิชาที่ว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ทางด้านภาษา) ที่ Padua แต่ก็ถูกบังคับให้ลาออกหลังจากที่ตีพิมพ์จดหมายที่เป็นการดูถูกวิธีการสอนการวิจัยทางนิติศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1431 วัลลาได้บวช และหลังความพยายามที่เขาจะหาความปลอดภัยจากตำแหน่งเลขานุการของผู้เผยแพร่ศาสนาในประเทศจีน เขาได้เดินทางไปที่ Piacenza และจากที่นี่เขาได้เดินทางต่อไปยัง Pavia ที่ซึ่งเขาได้รับตำแหน่งอาจารย์ในการที่จะพูดโน้มน้าวใจ วัลลาได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และมีการนัดหมายและเข้าบรรยายในหลายเมือง ในปี ค.ศ. 1433 วัลลาได้เดินทางไปยังเมืองเนเปิลส์ และราชสำนักของ Alfonso V of Aragon (Alfonso the Magnanimous, ค.ศ. 1936-1458) ซึ่ง Alfonso ทรงแต่งตั้งให้วัลลาเป็นเลขานุการส่วนพระองค์ และต่อสู้คดีให้วัลลาในการที่เขาได้กล่าวโจมตีฝ่ายตรงข้าม การกล่าวโจมตีครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อวัลลาถูกเรียกเข้ามาสอบสวนหาความผิดในคำกล่าวของเขาเกี่ยวกับเรื่องเทววิทยา รวมถึงการที่เขาปฏิเสธว่า Apostle’s Creed (คำกล่าวของผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่เริ่มต้นว่า “I Believe in the god father Almighty …”) มิได้ถูกเรียบเรียงขึ้นมาโดย 12 อัครสาวกของพระเยซู แต่ในที่สุดคำกล่าวหาพวกนี้ก็หมดลง


ภาพเขียนในสมัยกลาง แสดงให้เห็นว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงมอบที่ดินให้กับสันตะปาปา Sylvester


วัลลาได้แสดงให้เห็นว่าถ้อยคำในเอกสารมิได้ถูกเขียนขึ้นมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 4

2. การเปิดเผยความหลอกลวงของประวัติศาสตร์ วัลลาเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์ที่เฉียบแหลม และมีความรู้เกี่ยวกับ Classical Latin Style ซึ่งถูกนำไปใช้ในงานเขียนของเขาที่ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1439 คือ De falso credita et ementita Constantini donatione declamatio ในสมัยของสันตะปาปา Eugene IV (ค.ศ. 1383-1447) วัลลาได้ทำงานให้กับ Alfonso of Aragon ซึ่งขณะนั้นทรงมีปัญหาพิพาทอยู่กับสันตะปาปา วัลลาได้วิพากษ์วิจารณ์เอกสารที่สันตะปาปาทรงใช้เป็นหลักฐานในการอ้างว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงมอบที่ดินให้กับศาสนจักร วัลลาอาศัยการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ และภาษาศาสตร์ เช่น เขาระบุว่าการพบคำว่า “fief” ในเอกสารดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่าเอกสารดังการน่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 บทความของวัลลานี้ถูกตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1440 เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าบทความ “Constitutum Constantini” ไม่ได้เขียนขึ้นในสมัยอาณาจักรโรมัน ซึ่งที่จริงแล้ววัลลาไม่ได้ต้องการที่จะโจมตีศาสนา แต่การกระทำของเขาก็ยังผลให้คนที่กำลังเสื่อมศรัทธากับศาสนจักรยิ่งรู้สึกคลางแคลงใจมากขึ้น

3. การงานในช่วงหลัง ที่เนเปิลส์ วัลลายังคงทำงานเกี่ยวกับด้านปรัชญาอยู่ เขาได้แสดงความคิดเห็นว่า จดหมายของพระเยซูถึง Abgarus นั้นเป็นของปลอม และเขายังมีความสงสัยในเอกสารที่คิดว่าเป็นของแท้อีกหลายชิ้น และการสอบถามที่เป็นประโยชน์ต่อนักบวช เขายังได้กระตุ้นให้เกิดความโกรธจากเรื่องจริงที่เชื่อถือได้ เขาได้ผลักดันให้มันเกิดขึ้นก่อนที่ศัตรูของเขา และเขาก็ได้หนีไปจากการถูกแทรกแซงจาก Alfonso เขายังได้ดูหมิ่นพระคัมภีร์ฉบับ Vulgate และกล่าวหาว่า St.Augustine (ผู้ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า St.Augustine of Heresy) ว่าเป็นพวกนอกรีต ในปี ค.ศ. 1444 วัลลาได้เดินทางไปยังกรุงโรม แต่ที่เมืองนี้เต็มไปด้วยศัตรูของเขาจำนวนมากและล้วนแต่เป็นผู้มีอำนาจมากมาย แต่เขาก็ได้ปกป้องชีวิตของตัวเองด้วยการหลบหนีไปยัง Bacelona และกลับไปที่เนเปิลส์ และโชคชะตาที่ดีของเขาก็มาถึง หลังการสิ้นพระชนม์ของสันตะปาปา Eugene IV ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1447 วัลลาก็ได้กลับไปยังกรุงโรมอีกครั้ง และครั้งนี้เขาได้รับการต้อนรับจากสันตะปาปา Nicolas V (ค.ศ. 1447-1455) ซึ่งเป็นสันตะปาปาพระองค์ใหม่ และวัลลาก็ได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนพระองค์ ซึ่งการกลับเข้ามายังกรุงโรมของวัลลาครั้งนี้ถูกเรียกว่า “ชัยชนะของมนุษยนิยมเหนือหลักปฏิบัติและประเพณีดั้งเดิม” และวัลลาก็ได้มีความสนิทสนมกับสันตะปาปา Calixtus III (ค.ศ. 1378-1458)

4. ผลงานของวัลลา วัลลามีผลงานมากมาย แต่ส่วนมากจะยังไม่สมบูรณ์ โดยผลงานของเขาได้ถูกตีพิมพ์ใน Basel ในปี ค.ศ. 1540 และในเวนิส ในปี ค.ศ. 1592 และ De Elegantiis ได้รับการตีพิมพ์ใหม่ถึง 60 ครั้ง ในช่วงปี ค.ศ. 1471 ถึง 1536 ผลงานของวัลลา เช่น 4.1 De Voluptate หรือ On Pleasure ใน De Voluptate เขาได้เปรียบเทียบหลักการของ Stoics กับคำสอนของ Epicurus ซึ่งเป็นการประกาศให้แสดงความเห็นใจกับสิ่งที่อ้างสิทธิ์เพื่อความถูกต้องของการทำตามใจสำหรับความอยากอาหารของคนทั่วไป มันเป็นคำพูดที่แปลก นี่เป็นครั้งแรกที่ค้นพบของการแสดงออกอย่างตั้งใจของพวกศาสนานอกรีตในช่วงเรอแนสซองซ์ (Renaissance) ในงานของเขาอย่างเป็นวิชาการและหลักปรัชญาที่น่ายกย่อง 4.2 De Elegantiis Latinae Linguae (Elegances of the Latin Language หรือความงดงามของภาษาลาติน) เป็นหนังสือหลักไวยากรณ์ภาษาลาตินเล่มแรก ได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1471 4.3 Annotations on the New Testament หรือคำอธิบายประกอบพระคัมภีร์ใหม่ เป็นผลงานชิ้นสำคัญของเขา ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1505

5. ประวัติของวัลลากับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ มีความเป็นไปได้สูงที่จะประมาณว่าชีวิตส่วนตัวและนิสัยของวัลลามีความคลุมเครือ วัลลาถูกวิพากษ์วิจารณ์ไว้ว่าตัวเขาเองก็มีความไร้ค่า มีความระแวงและการที่ชอบวิวาท แต่เขาก็มีลักษณะของนักมนุษย์นิยมที่ดีเลิศ มีการวิจารณ์ที่แหลมคม และเป็นนักเขียนที่ประสงค์ร้าย ลูเธอร์ ได้แสดงความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับวัลลาไว้ในงานเขียนของเขา Cardinal Bellarmine ได้เรียกวัลลาว่า praecursor lutheri Sir Richard Jebb กล่าวว่า งานเขียน “De Elegantiis” ของวัลลาเป็นสัญลักษณ์ถึงการวิพากษ์วิจารณ์การเรียนภาษาลาติน Erasmus สรุปไว้ใน De ratione studii ว่าไม่มีผู้ชักนำที่ดีกว่าวัลลาแล้ว