ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูดคุย:พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/กรุ 1"

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
{{บทความเฉลิมพระเกียรติ|ระดับ=พอใช้}}
{{บทความเฉลิมพระเกียรติ|ระดับ=พอใช้}}
{{โต้เถียง}}
{{โต้เถียง}}
== ความเห็น ==
พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประมุขของชาติ นั่นคือเป็นประธานของคนทั้งชาติ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น ก็เปรียบเสมือนทรัพย์สินของคนทั้งชาติ ในทางกลับกันทรัพย์สินของชาติเปรียบเป็นทรัพย์สินใต้ร่มพระมหาเศวตฉัตร จึงอนุมานได้ว่า เป็นทรัพย์สิยส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยศักดิ์ จึงทำให้พระองค์ท่านถูกจัดให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยมั่งคั่งที่สุด

== ต้องการอ้างอิง ==
== ต้องการอ้างอิง ==
บทความนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลย ขอให้ editor ทุกคนใส่แหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนสำหรับ edit ของตน ไม่งั้น editor คนอื่นมีสิทธิ์ revert [[ผู้ใช้:Patiwat|Patiwat]] 07:01, 8 สิงหาคม 2006 (UTC)
บทความนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลย ขอให้ editor ทุกคนใส่แหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนสำหรับ edit ของตน ไม่งั้น editor คนอื่นมีสิทธิ์ revert [[ผู้ใช้:Patiwat|Patiwat]] 07:01, 8 สิงหาคม 2006 (UTC)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:47, 26 สิงหาคม 2551

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/กรุ 1 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/กรุ 1 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/กรุ 1 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช/กรุ 1 หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ความเห็น

พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประมุขของชาติ นั่นคือเป็นประธานของคนทั้งชาติ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น ก็เปรียบเสมือนทรัพย์สินของคนทั้งชาติ ในทางกลับกันทรัพย์สินของชาติเปรียบเป็นทรัพย์สินใต้ร่มพระมหาเศวตฉัตร จึงอนุมานได้ว่า เป็นทรัพย์สิยส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยศักดิ์ จึงทำให้พระองค์ท่านถูกจัดให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยมั่งคั่งที่สุด

ต้องการอ้างอิง

บทความนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลย ขอให้ editor ทุกคนใส่แหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนสำหรับ edit ของตน ไม่งั้น editor คนอื่นมีสิทธิ์ revert Patiwat 07:01, 8 สิงหาคม 2006 (UTC)

ตรงวัดประจำรัชกาลผู้ที่ใส่เข้ามาแน่ใจหรือ ที่วัดประจำรัชกาลของพระองค์คือ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ถ้ามีข้อมูลก็ช่วยเพิ่มแหล่งอ้างอิงด้วยครับ--supasate

ภาพที่อาจจะไม่เป็นไปตามนโยบาย

ภาพที่ใช้ในบทความนี้มไม่เหมาะสมสักภาพ เนื่องจากขาด free license ตามนโยบาย Wikipedia เป็นการละเมิดสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ นอกจากนั้นยังไม่ระบุที่มาของภาพ ถ้าไม่มี editor คนอื่นเปลี่ยนภาพเป็นภาพที่มี free license ผมจะลบภาพจาก server. Patiwat 22:02, 14 สิงหาคม 2006 (UTC)

คุณ Patiwat อาจจะเข้าใจผิดนะครับ นโยบายวิกิพีเดีย ไม่ได้มีกล่าวไว้ว่า ภาพต้องมี free license นะครับ ไม่ว่าทั้งนโยบายในวิกิพีเดียไทย หรือวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ --Manop | พูดคุย - 20:46, 24 สิงหาคม 2006 (UTC)
  • en:Wikipedia:Images#Using images "All images on Wikipedia must comply with the image use policy. This means that they must be compatible with the conditions of the GNU Free Documentation License."
  • Thai Wikipedia policy is much less strict: "หลายรูปมีการเปิดให้ใช้อย่างเสรี แต่สำหรับรูปที่มีลิขสิทธิ์กำหนดไว้ ทางวิกิพีเดียมีการยอมให้ใช้ในเจตนาเพื่อประกอบบทความเท่านั้น ตาม การใช้งานโดยชอบธรรม โดยรูปลิขสิทธิ์ทุกรูปต้องมีการกำกับไว้ว่ารูปนั้นเป็นรูปลิขสิทธิ์ ดูเพิ่มที่ แม่แบบที่ใช้กำกับลิขสิทธิ์รูปแบบต่างๆ"
  • ภาพแต่ละภาพ ไม่ระบุที่มาสักภาพ แต่อ้างว่า ผู้ถือลิขสิทธ ได้ปล่อยเป็นสาธารณสมบัติ. ทางสำนักพระราชวังเขาปล่อยจริงหรือ? มีหลักฐานมั้ย? Patiwat 05:19, 26 สิงหาคม 2006 (UTC)
    • ถึงแม้ว่าสำนักพระราชวังจะไม่ปล่อย แต่ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย ถ้าเอกสารหรือภาพเกิน xx ปี ถือว่าภาพนั้นเป็นสาธารณสมบัติ ครับ แต่ยังหาแหล่งอ้างอิงไม่ได้ อาจต้องฝากคุณ Patiwat หรือคนอื่นที่สนใจช่วยหาครับ --Manop | พูดคุย - 20:21, 27 สิงหาคม 2006 (UTC)
    • ข้อมูลเรื่อง| กฎหมายลิขสิทธิ์ไทยครับ --Bpitk 03:17, 28 สิงหาคม 2006 (UTC)
ส่วนที่ ๔ อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
มาตรา ๑๙
ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒ ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย
ถ้าผู้สร้างสรรค์หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมทุกคนถึงแก่ความตายก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้น ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
  • อย่างไรก็ตาม ภาพแต่ละภาพ ไม่ระบุที่มาสักภาพ ดังนั้น ไม่สามารถประเมินว่าใครคือผู้สร้างสรรค์ และสร้างสรรค์เมื่อไหร่ Patiwat 21:11, 28 สิงหาคม 2006 (UTC)

กปส.

กรมประชาสัมพันธ์เอาไปใช้ [1] แต่ไม่เอ่ยถึงวิกิพีเดียเลยแฮะ --Pi@k 04:22, 5 พฤษภาคม 2007 (UTC)

พระราชสมบัติ

ผมได้ทำการใส่เนื้อหาหัวข้อนี้กลับเข้าไปนะครับผม เนื่องจากว่าเขียนในรูปแบบสารานุกรม มีแหล่งอ้างอิง เนื้อหาในระดับที่เป็นกลาง ตามนโยบายและหลังจากอ่านแล้ว ไม่น่าจะหมิ่นหรืออย่างไรครับผม เพราะเป็นการแสดงตามข้อเท็จจริง และให้บทความสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งควรมีเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 18:08, 15 พฤษภาคม 2007 (UTC)

แหล่งอ้างอิงกับข้อความที่เขียนตรงกันหรือเปล่า??? ได้เช็คไหม??? หรือแค่มีว่าใส่อ้างอิงอะไรสักอย่างมาให้ก็ถือว่ามีอ้างอิงแล้ว??? การเขียนที่ขึ้นต้นบอกว่า "ในหลวงทรงเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก..." ลงท้ายด้วย " ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี " แต่ไม่มีการพูดถึงทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ต้องเสียภาษีทั้งที่อยู่ในอ้างอิงที่ (2) เหมือนกัน ถือว่าเป็นกลาง??? ข้อความที่เกิดปัญหากลับไม่มีการเช็คให้ละเอียดและกลับปล่อยข้อมูลออกมาแบบนี้ เหมาะสม???? --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 161.200.255.162 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ตรงกันครับ รายได้ส่วนที่ไม่ต้องเสียภาษีในปี 2547 คือ 5 พันล้านบาทครับ ส่วนส่วนที่ต้องเสียภาษีนั้นไม่ได้พูดถึงเพราะเป็นเรื่องปกติทั่วไป อนึ่ง ผมคัดลอกข้อความตรงนี้มาจากวิกิฉบับภาษาอังกฤษ ลองตรวจเช็คดูได้ http://en.wikipedia.org/wiki/Bhumibol_Adulyadej ซึ่งอันที่จริงยังขาดส่วนท้ายไปหน่อย ผมจะเพิ่มให้แล้วละกัน --เจเอฟเค 17:54, 16 พฤษภาคม 2007 (UTC)
ผมว่าคุณเจเอฟเคใส่อ้างอิงค่อนข้างไม่ตรงนะครับ ฝากรบกวนคุณเจเอฟเคดูอ้างอิงก่อนก๊อปมาลงก็ดีนะครับ --Manop | พูดคุย - 01:11, 17 พฤษภาคม 2007 (UTC)
ผมก๊อปปี้อ้างอิงจากตัวภาษาอังกฤษมาน่ะครับ ไม่น่าจะผิดนะ ถ้าอ้างอิงอันไหนสลับกันรบกวนช่วยแก้ให้ด้วยแล้วกันนะครับ --เจเอฟเค 08:24, 17 พฤษภาคม 2007 (UTC)
ไม่ผิดหรอกครับ ที่ผมบอกคือน่าจะอ่านก่อนอะครับก่อนก๊อปมา เพราะไม่รู้ว่าที่ก๊อปมามันถูกหรือผิดนะครับต้องระวังนิดหน่อย เพราะมีหลายครั้งในวิกิอังกฤษที่เขียนขึ้นมาแต่หาอ้างอิงไม่ได้ ก็ใส่อ้างอิงลอยๆไว้นะครับ --Manop | พูดคุย - 17:45, 17 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ทดลองปรับปรุงข้อความ ส่วนพระราชทรัพย์

ช่วยดูหน่อยครับ ว่าเป็นกลางได้หรือยัง - ('-' ) ( '-' ) ( '-') - 22:49, 21 พฤษภาคม 2007 (UTC)

พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินและหุ้น ซึ่งถูกบริหารโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือหุ้นใหญ่ในบริษัทปูนซิเมนส์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทคริสเตียนีแอนด์นีลเซน เทเวศน์ประกันภัย สำนักงานทรัพย์สินฯยังเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้เช่ากว่า 3 หมื่นแห่ง รวมทั้งโรงแรมโฟร์ซีซั่น สวนลุมไนท์บาซา สยามพารากอน และเซนทรัลเวิลด์พลาซ่า ซึ่งได้รับการประเมินมูลค่าว่าอาจจะสูงถึง 3 แสนล้านบาท ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[1]

รายได้ส่วนหนึ่งของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (5 พันล้านบาทในปี 2547) นั้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี [2][3]

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีการลงทุนส่วนพระองค์เองโดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยประกันชีวิต และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สัมมากร และอื่นๆ [4][5]

  1. Horn, Robert (December 06, 1999). "The Banker Who Saved A King". Time Asia. สืบค้นเมื่อ 05 July. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)
  2. According to Section 8 of the Royal Assets Structuring Act of 1936 (พระราชบัญญัติ จัดระเบียบทรัพย์สิน ฝ่ายพระมหากษัตริย์)
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ sentinel
  4. See Stock Exchange of Thailand Report 56-1 for TIC and SAMCO
  5. Giles Ji Ungpakorn, "The Monarchy in Modern Thailand: Invented Tradition or Ancient Institution?", Paper given at the 9th Thai Studies Conference, University of Northern Illinois in April 2005

ข้อความตอนท้าย "ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก" น่าจะเอาออก ผมหาไม่เจอว่าใครจัดอันดับ อ่านในอ้างอิงก็ไม่พบ --Pi@k 06:07, 22 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ล่าสุดนิตยสาร Forbes จัดอันดับแล้วกษัตริย์ที่มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก ในหลวงของเราติด Top 5 แบบนี้ถือว่าจัดดับได้มั้ยครับ
* Forbes.com - The World's Richest Royals
* Forbes.com - No.5 of The World's Richest Royels (30 August 2007)
-- Fff.fun 12:01, 20 กันยายน 2007 (ICT)

พักผ่อนสักครู่

ขออนุญาตระงับการอภิปรายชั่วคราว ก่อนนะครับ และปิดข้อความที่เถียงประเด็นล่าสุด ไว้ใจเย็นแล้วมาปลดล็อกให้ ถ้ายังไม่ปลดตามได้เลย --ธวัชชัย 12:38, 24 พฤษภาคม 2007 (UTC)


ขอคำถามเดียว ถ้ามีคนบอกว่าพ่อแม่คุณรวย คุณโกรธถึงขนาดจะตัดหัวคนรึเปล่า ถ้าไม่ ลองมองย้อนดูตัวเองดีๆ มีอะไรผิดปกติหรือเปล่า
ถ้าคุณบอกคุณรักในหลวงมากกว่าพ่อแม่ คุณอกตัญญูเกินไปรึเปล่า หรือถ้าคุณจะบอกว่าพ่อแม่คุณก็แค่ไพร่ ไม่คู่ควรนำไปเทียบกับในหลวง ก็ตามใจ --เจเอฟเค

พระราชทรัพย์ (ต่อ)

ขอไม่ไปขุดอันเก่าขึ้นมา เพราะมันหลงประเด็นไปแล้ว แต่คิดว่าจำเป็นต้องอภิปรายเรื่องนี้ต่อ เพราะล็อกค้างกันไว้แบบนี้ไม่เหมาะสมเท่าไรนัก (ล็อกจนกว่าการโต้เถียงจะได้ข้อสรุป ถ้าไม่อภิปรายกันก็คงไม่มีข้อสรุปอ่ะครับ)

คำถามที่ค้างกันไว้

  • ควรจะมีส่วนพระราชทรัพย์ในบทความหรือไม่
  • พระราชทรัพย์ของพระองค์คืออะไรบ้าง (กรณีสำนักงานทรัพย์สินฯ)

ข้อแรก ผมคิดว่ามีอยู่ในบทความก็ไม่มีปัญหาอะไร ทรัพย์สินของบุคคลก็เกี่ยวข้องกับบุคคล ตรงๆ ไม่มีอะไรมาก ตราบเท่าที่มีอ้างอิงครบ เขียนเป็นกลาง ทำตามนโยบายวิกิพีเดีย (รวมถึงเรื่องชีวประวัติบุคคลที่มีชีวิต)

ส่วนข้อสอง สำคัญ เพราะเป็นเหตุผลที่สนับสนุนข้อแรก โดยส่วนตัวไม่มีความเห็น เป็นเรื่องของหลักฐานอ้างอิง --kinkkuananas 08:24, 6 มิถุนายน 2007 (UTC)

เห็นด้วยกับคุณ kinkku นะครับ ในขั้นแรก ผมขออนุญาตปลดล็อกออก ให้แก้ไขได้เฉพาะผู้ที่ล็อกอินก่อนนะครับ --PaePae 10:47, 13 มิถุนายน 2007 (UTC)
ถ้าเป็นข้อเท็จจริงก็สามารถอ้างอิงนำมาใส่ได้ครับ เพราะชาววิกิพีเดียไม่ได้เป็นคนกุเรื่องขึ้นมาเองอยู่แล้ว วิกิพีเดียไม่มีเซ็นเซอร์ (ในนโยบายอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย) --Octahedron80 18:33, 19 กันยายน 2007 (ICT)

แจ้งเกลา ย่อหน้าแรก

เป็นเวลายาวนานที่สุดในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่ ณ ปัจจุบัน??? - ต้องการการสรรคำที่ดีกว่านี้ขอรับท่าน! ว่าอย่างไรขอรับท่านผู้เชี่ยวชาญคำศัพท์เฉพาะทาง --unknown_00011 16:45, 24 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งบริหารโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อันได้แก่หุ้นและที่ดินดังที่กล่าวมา เป็นทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ครับ อีกนัยหนึ่งก็คือกองกลาง ซึ่งเป็นคนละส่วน กับทรัพย์สินส่วนพระองค์ โดยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ถือเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน จึงได้รับการยกเว้นภาษี ขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ต้องเสียภาษีฮะ แล้วก็ การลงทุนใน ธ.ไทยพานิชย์ ปูนฯไทย เทเวศประกันภัย รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินเซ็นทรัลเวิล ที่ดินองค์การสะพานปลา ที่ดินริมถนนพระรามที่ 4 ฝั่งเหนือ จากสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ยาวจรด ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พวกนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ครับ ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ (หาอ่านเพิ่มเติมได้ใน ฟ้าเดียวกัน เล่มไหนจำไม่ได้) ::-- อควาคุย ไฟล์:WikiBotany tap.png 20:25, 19 กันยายน 2007 (ICT)

ถ้าจากคำอธิบายของคุณ อควา ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ไม่สามารถนำมารวมกันในบทความได้ ?
แต่ว่าถ้าเช่นนั้น ทรัพย์สินส่วนพระองค์ จะหาข้อมูลได้จากแหล่งไหนได้บ้างล่ะครับ หรือไม่ก็ต้องอธิบายในบทความให้ชัดว่า พระราชสมบัติ ในบทความนั้น คือ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ (ข้อมูลแนวนี้หายากจริงๆ ขนาดในเว็บ สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังไม่บอกเลย) -- Fff.fun 11:54, 20 กันยายน 2007 (ICT)

ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น รู้สึกไม่มีการเปิดเผยครับ พวกเงินทูลเกล้าตามพระราชอัธยาศัยต่างๆ เป็นส่วนพระองค์ของแต่ละองค์ไป แต่ถาจะเขียน ให้เขียนในรูปแบบทรัพย์สินของสถาบันก็ได้คับ แต่ว่าต้องอธิบายว่านี้เป็นทรัพย์สินสถาบัน ไม่ใช่ ทรัพย์ส่วนพระองค์ อ้อ... ดอกผลจากโครงการส่วนพระองค์ เป็นทรัพย์ส่วนพระองค์นะครับ ไม่ใช่ทรัพย์สถาบัน ปกติแล้ว พระเจ้าแผ่นดินจะใช้ทรัพย์สถาบันเพื่อการบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฏร แต่ในรัชกาลปัจจุบัน ท่านได้ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นหลัก เนื่องจากว่าสี่ห้าปีที่แล้ว ทรัพย์สินสถาบันฯมียอดต่ำมาก จนเกิดการบริหารทรัพย์สินส่วนสถาบันใหม่ ด้วยการขายบริษัทย่อยๆ (แต่ธุรกิจหลักคือ ไทยพาณิชย์ ปูนฯไทย เทเวศ ฯลฯ ไม่ขาย) แล้วเน้นดอกผลจากที่ดินเพิ่มขึ้นครับ --อควา (ธัญกิจ) 23:56, 20 กันยายน 2007 (ICT)

กรณีพัฒนาดอกผลจากที่ดินนี้ การรถไฟเองกนำไปใช้เหมือนกัน คือเรื่องตลาดซันเดนั่นแหละคับ ส่วนแปลงติดถนนใหญ่ เซ็นทรัล-icao-ปตท.สผ. ก็เห็นว่ามีการขึ้นค่าเช่าเหมือนกันครับ เพราะตอนนี้ทรัพย์สินสถาบันต่างๆเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัวกัน --อควา (ธัญกิจ) 23:56, 20 กันยายน 2007 (ICT)

~ทรัพย์สินสถาบัน ก็เหมือนทรัพย์สินประจำตำแหน่ง เช่น รถประจำตำแหน่ง เงินเดือนประจำตำแหน่ง ห้องทำงานประจำตำแหน่ง อะไรแบบนี้อ่ะคับ คือคนในตำแหน่งนั้นๆ จะมีสิทธิใช้จนกว่าจะพ้นจากตำแหน่ง --อควา (ธัญกิจ) 11:37, 27 กันยายน 2007 (ICT)

ทดลองเขียนส่วน "พระราชทรัพย์" (ต่อจากด้านบน)

(รวบรวมมาจากด้านบนและเพิ่มเติมข้อมูล)


พระราชทรัพย์

พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินและหุ้น โดยแบ่งออกได้เป็นส่วนๆ โดยสังเขป คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

เป็นการบริหารงานในรูปแบบองค์กรนิติบุคคล ดูแลและจัดประโยชน์อันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ภายใต้ชื่อ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ได้แก่ที่ดินและหุ้น โดยปัจจุบันมีผู้เช่าทั่วประเทศมากกว่า 3 หมื่นสัญญา [1] รวมทั้งโรงแรมโฟร์ซีซั่น สวนลุมไนท์บาซา สยามพารากอน และเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า บริษัทซีพีริชาร์ดเอลลิส (บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก) ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ที่ 32,500 ไร่ (13,000 เอเคอร์) โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่ [2] ทั้งนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆ อีกด้วย โดยถ้านับรวมทั้งหมด หุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีอยู่ทั้งหมดคิดเป็น 7.5% ของมูลค่าตลาดรวมของตลาดหุ้นไทย [2] ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก [6]

ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินฯ 1.7 แสนล้านบาท [6] นั้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี [1]

ทรัพย์สินส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีการลงทุนส่วนพระองค์เอง โดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) 43.87% บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 18.56% บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 2.04% [3] [4] [5] เป็นต้น ทรัพย์สินส่วนพระองค์นี้ยังหมายรวมถึง เงินทูลเกล้าถวายฯ ตามพระราชอัธยาศัยต่างๆ อีกด้วย

อ้างอิง

ผิดพลาดตรงไหน รบกวนช่วยกันแก้ไขให้ถูกต้องด้วยนะครับ จะได้นำไปใส่ในหน้าบทความ -- Fff.fun 20:18, 21 กันยายน 2007 (ICT)

ทอดเวลามาหนึ่งสัปดาห์ ไม่มีใครแก้ไข เดี๋ยววันเสาร์ (29) ตอนกลางวันผมจะเอาไปใส่ในหน้าบทความนะครับ -- Fff.fun 00:14, 29 กันยายน 2007 (ICT)
ผมโพสต์ในหน้าบทความแล้วนะครับ -- Fff.fun 12:10, 29 กันยายน 2007 (ICT)
ขอขอบคุณ คุณ Fff.fun ที่มาช่วยเขียนและเพิ่มเติมเนื้อหาดังกล่าวครับ ขอแนะนำสำหรับครั้งต่อไป หรือสามารถช่วยแก้ไขได้เช่นกันโดยรบกวนให้ใส่แหล่งที่มาเป็นรูปแบบตาม วิกิพีเดีย:แหล่งที่มาครับผม ขอบคุณมากครับ --Jutiphan | พูดคุย - 13:37, 29 กันยายน 2007 (ICT)
  • ความเห็นเพิ่มเติม ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นี่เข้าใจว่าตกทอดมาในลักษณะของพระราชวงศ์ตั้งแต่ก่อนรัชกาลปัจจุบัน จึงต้องมีหน่วยงานกลางดูแลไม่ต่างอะไรกับการจัดการมรดกประจำตระกูล
  • ทรัพย์สินส่วนพระองค์ก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าไม่ต่างอะไรกับการที่บุคคลในราชอาณาจักรนี้ย่อมมีเอกสิทธิ์ในการครอบครองทรัพย์สิน หรือกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลนั่นเอง สำหรับในประเทศนี้เหตุหนึ่งที่จะนำไปสู่การจะถอดถอนสิทธินี้ก็คงมีเฉพาะผู้ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดทางแพ่ง

อยากให้เพิ่มส่วนเกี่ยวกับ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ควรจะกล่าวถึงเรื่องที่เป็นประเด็นเกี่ยวกับพระองค์ให้ครบทุกด้าน

อันนี้ที่แปลมาจากอังกฤษ

การหมายเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

แม้ว่าคนไทยจะเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก แต่พระองค์ก็ยังได้รับการปกป้องจากกฎหมายหมื่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องถูกจำคุกเป็นเวลา 3 ถึง 15 ปี กฎหมายมีขอบเขตกว้างขึ้นเมื่อ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกที่มาจากการรัฐประหารได้เพิ่มกฎหมายห้ามวิพากษ์วิจารณ์พระราชวงศ์, โครงการพระราชดำริ, สถาบันพระมหากษัตริย์, ราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ สุลักษณ์ ศิวลักษณ์ ถูกจับหลายครั้งเพราะหมิ่นพระบรมเดชานุภาะ Lech Tomacz Kisielwicz ถูกจับเพราะไม่ยอมปิดไฟอ่านหนังสือบนเครื่องบินที่มีพระราชวงศ์ไทยสองพระองค์ประทับอยู่ด้วย เขาถูกจำคุกเป็นเวลาสองสัปดาห์ หลังจากนั้นเขาจึงขอโทษต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถูกเนรเทศออกจากประเทศไทย

มีข้อถกเถียงว่าการวิพากษ์วิจารณ์องคมนตรีถือเป็นการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ด้วยหรือไม่ Police Special Branch Commander Lt-General Theeradech Rodpho-thong ปฏิเสธที่จะใช้ก ฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจับนักกิจกรรมสองคนที่เรียกร้องให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ลาออก เขากล่าวว่ากฎหมายสามารถใช้ได้กับพระราชวงศ์เท่านั้น สองวัดถัดมา เขาก็ถูกลดยศโดยผู้บัญชาการตำรวจ เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส


Promethee ขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม --- สำหรับเรื่องนี้มีประเด็นที่ต้องอธิบายในทางปรัชญากฎหมายให้ชัดเจนมากขึ้น ประเด็นสำคัญที่ควรอธิบายเพิ่มเติมอย่างย่อ ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ พระมหากษัตริย์มิได้ทรงอยู่ในฐานะที่จะปกป้องพระองค์เองในทางกฎหมายได้เสมือนพลเมืองทั่วไป เช่นกรณีมีผู้โจมตีกล่าวหา พระองค์มิสามารถเสด็จขึ้นศาลแก้ต่างให้กับพระองค์เองได้ กฎหมายดังกล่าวอาจเรียกได้ว่า "ล้อ" ไปกับกฎหมายที่กำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไปนั่นเอง หากแต่ความรุนแรงของโทษก็ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับสถานะของพระมหากษัตริย์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนั้น "รัฐ" จึงต้องทำหน้าที่คุ้มครองและรับรองสถานะของพระองค์แทน และกฎหมายนี้ยึดโยงกับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญตั้งแต่รัชกาลที่ 7 และถือเป็นประเพณีทางกฎหมายของประเทศมาถึงทุกวันนี้

เดี๋ยวก่อนครับ เรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ควรจะอยู่ในบทความนี้เหรอครับ น่าจะไปเขียนไว้ที่บทความกษัตริย์ไทยมากกว่า เพราะกฎหมายนั้นมีความหมายรวมถึงกษัตริย์ทุกพระองค์ไม่ว่าจะอดีต (ตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญ) ปัจจุบัน หรืออนาคต --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:17, 12 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ชาวไทย-อเมริกัน

(ย้ายมาจาก ปุจฉา-วิสัชนา)

จาก หมวดหมู่:ชาวไทย-อเมริกัน = คนไทยที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หรือลูกครึ่ง ไทย-อเมริกัน ดังนั้น ในหลวงเราควรอยู่ในหมวดหมู่นี้หรือเปล่า? --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 18.187.6.119 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ผมคิดว่าควรจะลบบทความเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินของพระองค์ท่าน

เรื่องทรัพย์สินของพระองค์ท่านควรจะเป็นเรื่องส่วนพระองค์มากกว่านะครับ เพราะมีพวกฝรั่งหลายคนนำบทความนี้ไปแปลในทางเสียหายว่าพระองค์ท่านทรงร่ำรวยจากเงินภาษีของประชาชน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ซึ่งมีมาก่อนตั้งนานแล้ว ผมยังสังเกตด้วยว่า ขบวนการล่มสถาบันในขณะนี้กำลังมุ่งโจมตีพระองค์ท่านในเรื่องทรัพย์สินมากเป็นพิเศษ ยังไงก็เรียนท่านเว็บมาสเตอร์ผู้เกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยนะครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.142.97 (พูดคุย | ตรวจ) 04:06, 5 พฤษภาคม 2551 (ICT)

หาแหล่งอ้างอิงมายืนยันข้อมูลดีกว่านะครับ เรื่อง "มีพวกฝรั่งหลายคนนำบทความนี้ไปแปลในทางเสียหายว่าพระองค์ท่านทรงร่ำรวยจากเงินภาษีของประชาชน" ดีว่ามานั่งเถียงกันหรือมาขอเสนอให้ลบ เพราะ วิกิพีเดียไม่มีเซนเซอร์ ต้องเสนอทุกเรื่องที่พิสูจน์ได้ ไม่ว่าจะเรื่องดีหรือไม่ดี (กระผมไม่ได้หมายความว่าพระองค์ท่านไม่ดีนะครับ) เรื่องพระราชทรัพย์ผมก็เห็นว่ามีแหล่งอ้างอิงทุกที่ และเขียนด้วยความเป็นกลาง ไม่ผิดนโยบาย จึงไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะมาปิดบังข้อมูลเหล่านี้ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 06:11, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)


  • ๑) เห็นด้วยกับพี่ "ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา" ทุกประการค่ะ =^-^=
——YURi | พูดคุย - ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑, ๑๑:๐๔ นาฬืกา (GMT)

ขออนุญาต ย้ายความคิดเห็นส่วนตัว ของ ผู้ใช้:YURi และ ความคิดเห็นเกี่ยวเนื่อง เกี่ยวกับสถาบัน ไปคุยกันต่อที่ คุยกับผู้ใช้:YURi ผู้ใดต้องการคุยเรื่องนี้ต่อ โปรดตามลิงก์ไปนะครับ -- t¸·´ ¯·.¸¸.ღp 11:54, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)


นี่ไงลิงก์ที่ว่าน่ะ แต่นี่เป็นของคนไทยนะ http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=law_tu&topic=9108 http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=law_tu&topic=9058 --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 125.25.133.11 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ขอลิงก์ที่เป็นบทความจริงๆ ครับ เช่นข่าวหรือบทวิจารณ์ หรือข้อความจากหนังสือ โดยชาวต่างประเทศ อะไรแบบนี้ ไม่ใช่หน้าเว็บบอร์ด เพราะเว็บบอร์ดก็เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งก็อาจมีความไม่เป็นกลางอยู่โดยผู้แสดงความคิดเห็น เหมือนกับที่คุณกำลังแสดงความคิดเห็นอยู่นี้ ซึ่งก็อาจจะคัดลอกจากที่อื่นมาอีกทอดหนึ่งเหมือนกัน (เป็นเหตุผลว่าทำไมวิกิพีเดียถึงห้ามอ้างอิงจากเว็บบอร์ด) ผมตามไปดูแล้ว กระทู้ภาษาอังกฤษก็ไม่มีแหล่งที่มา กระทู้ภาษาไทยก็ลิงก์ไปที่เว็บบอร์ดอื่น แล้วก็วนกลับมาที่เดิม สรุปว่าหาต้นตอไม่เจอเลยครับ (ไม่ใช่ว่าคุณเองหรอกหรือที่ไปโพสต์กระทู้เหล่านั้น ผมดูวันที่ก็หลังวันที่ 5 ทั้งนั้น แถมยังไอพีเดียวกันอีกด้วย) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:51, 12 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ลองเปรียบเทียบดูนะครับ ถ้าคุณมีเงินจำนวนหนึ่งในบัญชี แล้วมีญาติใกล้ชิดของคุณถอนเงินไปหมด เอาบัตรไปรูดซื้อของหมดโดยที่คุณไม่รู้ ส่งผลให้บัญชีถูกยกเลิกการใช้งาน แถมยังเป็นหนี้เพราะรูดบัตรเกิน คุณมารู้ทีหลังว่าเป็นหนี้ก็ร้องเรียนไปยังธนาคาร คุณคิดว่ามันสมเหตุสมผลไหมครับ เทียบกับการที่จะขอร้องให้ปิดบังเนื้อหาบทความ เพราะว่ามีพวกฝรั่งหลายคนนำบทความนี้ไปแปลในทางเสียหาย (คุณต้องไปด่าพวกนั้นสิถึงจะถูก) :D --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 14:23, 12 พฤษภาคม 2551 (ICT)

เมื่อกี้ผมลืมบอกไปว่า ข้อความในเว็บบอร์ดนั่นน่ะมีแหล่งอ้างอิงมาจากเว็บนี้อีกทีคับ http://jotman.blogspot.com/2008/02/worlds-most-expensive-royal-family.html

ส่วนอันนี้มองผิวเผินอาจจะเหมือนแค่เว็บไซต์เชียร์ทักษิณทั่วไป แต่หากเข้าไปดูในแต่ละลิงก์แล้ว ก็จะเชื่อมต่อไปสู่บทความหมื่นพระบรมฯเกือบทั้งหมดhttp://absolutelybangkok.com/?p=393

ส่วนกรณีที่คุณมากล่าวหาว่าผมเป็นคนโพสต์ข้อความนั้น ข้อนี้คุณน่าจะมีตรรกะพอที่จะแยกแยะออกว่าใครกันที่เป็นคนโพสต์ คุณก็น่าจะทราบจุดประสงค์ที่ผมมาเขียนร้องเรียน ก็เพราะมีคนนำหลักฐานนี้ไปอ้างอิง โดยเฉพาะพวกกลุ่ม"ใต้ฟ้าเดียวกัน"ที่ดูหมิ่นในหลวงกันเป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้าผมโพสต์ดูหมิ่นในหลวงเอง ผมคงไม่มาร้องเรียนเพื่อให้ลบบทความหรอก ผมกลับจะยิ่งสนับสนุนให้มีบทความแบบนี้เพิ่มขึ้นอีกด้วยซ้ำ ที่ผมมาร้องเรียน เพราะผมทนไม่ได้ที่เห็นคนอื่นจาบจ้วงดูหมิ่นในหลวง แต่คุณกลับมาขัดขวางทุกวิธีทางจนถึงขั้นตะแบงแก้ตัวให้คนเหล่านั้น ทั้งที่หลักฐานเห็นกันชัดๆ หรือบางข้อก็ไม่จำเป็นต้องใช้หลักฐานด้วยซ้ำก็สามารถรู้เองได้ว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ตอนนี้ภัยกำลังคุกคามสถาบัน ดังนั้น ถ้าคุณรักในหลวง คุณก็ควรจะมีหน้าที่ปกป้องสถาบันกษัตริย์ ส่วนกรณีที่คุณยกตัวอย่างเปรียบเทียบน่ะ มันมาใช่กับกรณีนี้ไม่ได้หรอก มันคนละประเด็นชัดๆ เราควรจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุที่เป็นบ่อเกิดของปัญหาทั้งหมด แทนที่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เราไปด่าฝรั่งแล้วมันจะช่วยอะไรได้เล่า ควรจะจัดการพวกคนไทยด้วยกันก่อนไม่ดีกว่ารึไง

ขอบคุณที่ให้ลิงก์มาครับ ความตั้งใจแรกคือผมอยากได้ลิงก์นั้นมาเพิ่มเติมเนื้อหาในบทความด้วยซ้ำ (เรื่องการกล่าวถึงด้วยสาระสำคัญที่ผิด) แต่กลับพบว่าเป็นทั้งเว็บบอร์ดและบล็อก ซึ่งเป็นประเภทที่สำหรับแสดงความคิดเห็นเหมือนกัน (เช่นกันวิกิพีเดียไม่อ้างอิงบล็อก) จึงไม่สามารถนำมาอ้างอิงเขียนเพิ่มเติมได้ คุณอย่าเข้าใจผิดว่าผมเป็นตัวขัดขวางและแก้ตัวให้คนเหล่านั้นนะครับ ผมก็กล่าวตามสิ่งที่เห็นจึงอาจเข้าใจผิด ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัย (ที่จริงคุณก็น่าจะโพสต์ลงในนี้โดยตรงเลยแทนที่จะไปโพสต์ในเว็บบอร์ดข้างนอก) ผมก็ไม่ชอบหรอกพวกลบหลู่สถาบันใดๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะต้องมีหน้าที่ไปแก้ต่างคำลบหลู่เหล่านั้น เพราะมันก็ไม่ได้อะไรดีขึ้นมาเหมือนกัน (ผมไปแจ้งความเสียเลยไม่ดีกว่าหรือ ไม่ต้องพูด-พิมพ์ให้เสียเวลา) อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังยืนยันว่าหัวข้อพระราชทรัพย์ไม่ผิดนโยบายของวิกิพีเดีย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลบออก แต่รู้สึกว่า absolutelybangkok จะนอกประเด็นนะครับ และคุณกำลังจะสื่อว่า วิกิพีเดียคือต้นเหตุแห่งปัญหา? เหรอครับ ข้อมูลในบทความก็ได้รับการเปิดเผยมาจากที่อื่นอีกต่อหนึ่ง ไม่ได้นึกคิดเอาเอง จะมาว่าวิกิพีเดียก็กระไรอยู่นะครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 16:30, 12 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ผมมีข้อเสนออีกประการหนึ่ง ถ้าคุณไม่อยากให้เกิดการเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ทำไมไม่ช่วยปรับแต่งสำนวนภาษาละครับ หัวข้อข้างบนน่ะ และแนะนำให้สมัครสมาชิกด้วยครับ ข้อดีนั้นมีหลายอย่างมากกว่าไอพี --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:25, 12 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ยกมาไว้ตรงนี้ก็แล้วกันนะครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | 21:42, 12 พฤษภาคม 2551 (ICT)

พระราชทรัพย์

พระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินและหุ้น โดยแบ่งออกได้เป็นส่วนๆ โดยสังเขป คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

เป็นการบริหารงานในรูปแบบองค์กรนิติบุคคล ดูแลและจัดประโยชน์อันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ภายใต้ชื่อ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ได้แก่ที่ดินและหุ้น โดยปัจจุบันมีผู้เช่าที่ดินทั่วประเทศมากกว่า 3 หมื่นสัญญา [1] โดยแปลงสำคัญๆ ประกอบด้วย ที่ดินโรงแรมโฟร์ซีซั่น ที่ดินสยามพารากอน ที่ดินเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ที่ดินองค์การสะพานปลา และ ที่ดินริมถนนพระรามที่ 4 ฝั่งเหนือ จากสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ยาวจรด ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทั้งนี้บริษัทซีบีริชาร์ดเอลลิส บริษัทโบรกเกอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของโลก ได้เคยประมาณการตัวเลขพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ที่ 32,500 ไร่ (13,000 เอเคอร์) โดยในบางพื้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 380 ล้านบาทต่อไร่ [2] ทั้งนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆ อีกด้วย โดยถ้านับรวมทั้งหมด หุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีอยู่ทั้งหมดคิดเป็น 7.5% ของมูลค่าตลาดรวมของตลาดหุ้นไทย [2] ทำให้พระองค์ทรงได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[3] ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากถือว่าเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน[1]

ทรัพย์สินส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีการลงทุนส่วนพระองค์เอง โดยไม่ผ่านสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยการเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) 43.87% บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 18.56% บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 2.04% [4] [5] [6] เป็นต้น ทรัพย์สินส่วนพระองค์นี้ยังหมายรวมถึง เงินทูลเกล้าถวายฯ ตามพระราชอัธยาศัยต่างๆ อีกด้วย ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้นไม่ได้รับการยกเว้นเรื่องภาษี ดังนั้นต้องเสียภาษีอากรตามปกติ[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (www.crownproperty.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  2. 2.0 2.1 Thai King Strengthens Grip on Stocks as Nation's No. 1 Investor (www.bloomberg.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  3. The World's Richest Royals. No. 5, King Bhumibol Adulyadej (www.forbes.com) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  4. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) : SAMCO (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  5. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : TIC (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
  6. รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) : MINT (www.set.or.th) เรียกข้อมูลวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550