ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิตเติลบอย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: bg:Малчугана
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: uk:Малюк (бомба)
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
[[sv:Little Boy]]
[[sv:Little Boy]]
[[tr:Little Boy]]
[[tr:Little Boy]]
[[uk:Малюк (бомба)]]
[[vi:Little Boy]]
[[vi:Little Boy]]
[[zh:小男孩原子彈]]
[[zh:小男孩原子彈]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:48, 24 กรกฎาคม 2551

แบบจำลองระเบิดลิตเติลบอยหลังจากระเบิดจริงถูกนำไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมา

ลิตเติลบอย (ภาษาอังกฤษ: Little Boy) เป็นชื่อรหัสของระเบิดปรมาณู ที่ถูกนำไปทิ้งเหนือเมืองฮิโรชิมา ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 โดยเครื่องบิน B-29 Superfortress (เครื่องบินลำนี้มีชื่อ Enola Gay) ผู้ทำหน้าที่นักบินคือ นายพันโทพอล ทิบเบตส์ (Paul Tibbets) แห่งกองกำลังอากาศในกองทัพบกสหรัฐอเมริกา (ภายหลังได้ยกฐานะขึ้นเป็นกองทัพอากาศ) นับเป็นระเบิดปรมาณูลูกแรก ที่ใช้ในการสงคราม ส่วนระเบิดปรมาณูลูกที่สอง ซึ่งมีชื่อว่า แฟตแมน นั้น ถูกนำไปทิ้งเหนือเมืองนางาซากิของญี่ปุ่นในอีก 3 วันต่อมา

อาวุธนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในระหว่างจัดตั้งโครงการแมนฮัตตัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้กำลังระเบิดมาจากธาตุยูเรเนียมที่ผ่านกระบวนการแยกไอโซโทปแล้ว (enriched uranium) การทิ้งระเบิดปรมาณูเหนือเมืองฮิโรชิมา และนางาซากิของญี่ปุนนั้น ถือเป็นการระเบิดปรมาณูครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ (ครั้งแรก เป็นการทดลองเรียกว่า ทดลองทรีนิตี้ (Trinity test) ระเบิดลิตเติลบอย มีความยาว 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 71 เซนติเมตร และน้ำหนัก 4,000 กิโลกรัม บรรจุธาตุยูเรเนียมประมาณ 64 กิโลกรัม แต่ส่วนที่จะระเบิดแบบฟิสชั่นมีน้ำหนักเพียง 700 กรัมเท่านั้น

การทิ้งระเบิดถล่มเมืองฮิโรชิมา

เมฆรูปดอกเห็ดเหนือเมืองฮิโรชิมาหลังการทิ้งระเบิด "ลิตเติลบอย"

ระเบิดลิตเติลบอยนั้นถูกลำเลียงขึ้นเครื่องบิน B29 และบินขึ้นไปยังระดับความสูง 9,600 เมตร เหนือเมืองฮิโรชิมา จากนั้นจึงปล่อยลงมา เมื่อเวลาประมาณ 8.15 น. (JST) การจุดชนวนระเบิดเกิดขึ้นที่ระดับความสูง 580 เมตร และด้วยแรงระเบิด 13 - 16 กิโลตัน ทำให้ระเบิดลูกนี้มีอานุภาพต่ำกว่า "แฟตแมน" ซึ่งถูกนำไปทิ้งเหนือเมืองนางาซากิ (21 - 23 กิโลตัน) เอกสารของทางการระบุว่าอานุภาพของระเบิดปรมาณูลูกนี้เทียบเท่ากับการระเบิดของระเบิดทีเอ็นที (TNT) ปริมาณราว 15 กิโลตัน นั่นคือ 6.3 × 1013 จูล = 63 TJ (เทอราจูล) [1]

อย่างไรก็ตาม ความเสียหายและจำนวนของเหยื่อระเบิดลูกนี้มีสูงกว่ามาก เพราะเมืองฮิโรชิมานั้นอยู่บนที่ราบ ขณะที่จุดศูนย์กลางของเมืองนางาซากิอยู่ในหุบเขาขนาดเล็ก

มีผู้คนประมาณ 70,000 คน เสียชีวิตอันเป็นผลจากการะเบิดโดยตรง และที่ได้รับบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนใกล้เคียงกัน ขณะที่ผู้คนอีกจำนวนมากต้องเสียชีวิตในภายหลังจากการะเบิด อันเนื่องมาจากกัมมันตรังสี และมะเร็ง [2]

สำหรับมารดาที่กำลังตั้งครรภ์นั้นก็ต้องสูญเสียทารกในครรภ์ไป หรือมิฉะนั้นก็ให้กำเนิดทารกที่พิการ เสื้อผ้าไหม้หมดจนเหลือแต่เนื้อตัวเปล่าเปลือย

ความสำเร็จของการทิ้งระเบิดครั้งนี้ได้ถูกรายงานข่าวกระจายออกไปอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาท่ามกลางความอยากรู้ นักวิจารณ์จำนวนมากคาดว่าน่าจะเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามก่อนที่มันจะยืดเยื้อและมีการบุกเกาะญี่ปุ่นอย่างนองเลือด


แม่แบบ:Link FA