ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เวกเตอร์หนึ่งหน่วย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YurikBot (คุย | ส่วนร่วม)
robot Adding: he, nl
YurikBot (คุย | ส่วนร่วม)
robot Adding: da
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
[[Category:พีชคณิตเชิงเส้น]]
[[Category:พีชคณิตเชิงเส้น]]


[[da:Enhedsvektor]]
[[de:Einheitsvektor]]
[[de:Einheitsvektor]]
[[en:Unit vector]]
[[en:Unit vector]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:19, 17 มีนาคม 2549

เวกเตอร์หนึ่งหน่วย (unit vector) ในปริภูมิเวกเตอร์ คือ เวกเตอร์ที่มีความยาวเท่ากับ 1. เวกเตอร์หนึ่งหน่วยมักเขียนด้วย “หมวก” เช่น î.

ในปริภูมิแบบยุคลิด ผลคูณจุดของเวกเตอร์หนึ่งหน่วย 2 เวกเตอร์ คือ โคไซน์ของมุมระหว่างเวกเตอร์ทั้งสอง ซึ่งเป็นผลมาจากสูตรผลคูณจุดของเวกเตอร์ ที่มีความยาวเท่ากับ 1

เวกเตอร์หนึ่งหน่วย û ของ เวกเตอร์ที่ขนาดไม่เป็นศูนย์ u คือ เวกเตอร์หนึ่งหน่วยที่มีทิศทางเดียวกับ u ดังนั้น

สมาชิกของฐานหลัก (basis) มักจะแทนด้วยเวกเตอร์หนึ่งหน่วย ในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน 3 มิติ เวกเตอร์หนึ่งหน่วยเหล่านี้มักจะเป็น i, j, และ k ซึ่งเป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยในแกน x, y, และ z ตามลำดับ

บางครั้ง เวกเตอร์หนึ่งหน่วยก็เขียนอย่างไม่มีหมวก แต่โดยทั่วไป เราจะให้ i, j, และ k เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยอยู่แล้ว

ในระบบพิกัดอื่นๆ เช่น พิกัดเชิงขั้ว หรือพิกัดทรงกลม จะใช้เวกเตอร์หนึ่งหน่วยที่แตกต่างกันไป