ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นอร์ธรอป เอฟ-5"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Loveless (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: nl:Northrop F-5 Freedom Fighter
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:F-5 flying.jpg|thumb|250px|เอฟ-5อี ไทเกอร์ทูว์]]
[[ภาพ:F-5 flying.jpg|thumb|250px|เอฟ-5อี ไทเกอร์ทูว์]]


บรรทัด 71: บรรทัด 72:
{{Commons|F-5 Freedom Fighter}}
{{Commons|F-5 Freedom Fighter}}
<references/>
<references/>
{{โครงทหาร}}
[[หมวดหมู่:เครื่องบิน|อ]]
[[หมวดหมู่:เครื่องบิน|อ]]
[[หมวดหมู่:อากาศยานทางการทหาร|อ]]
[[หมวดหมู่:อากาศยานทางการทหาร|อ]]
[[หมวดหมู่:เครื่องบินขับไล่|อ]]
[[หมวดหมู่:เครื่องบินขับไล่|อ]]
{{โครงทหาร}}


[[cs:Northrop F-5 Freedom Fighter]]
[[cs:Northrop F-5 Freedom Fighter]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:57, 16 มิถุนายน 2551

ไฟล์:F-5 flying.jpg
เอฟ-5อี ไทเกอร์ทูว์

เอฟ-5 ฟรีดอมไฟเตอร์ (F-5 Freedom Fighter) เป็นเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐอเมริกา เริ่มออกแบบเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) โดยบริษัทนอร์ธรอป


ประวัติ

ในช่วงปลายสงครามเวียดนาม กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้พบว่าเครื่องบินขับไล่ทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่แบบเอฟ-111 ได้กลายเป็นเป้าซ้อมปืนและจรวดให้กับนักบินมิก-21 อย่างมันมือ ด้วยความใหญ่และหนักของเอฟ-111 ไม่อาจสร้างความได้เปรียบในการรบแบบติดพัน (Dog Fight) ได้ ดังนั้นเอฟ-111 จึงถูกเปลี่ยนภารกิจให้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบาและออกปฏิบัติการภายใต้การคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-4 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ขนาด 2 ที่นั่ง ซึ่งว่าไปแล้วก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่ดี และจะต้องใช้ถึงสองเครื่องในการไล่ต้อนมิก-21 ที่แสนจะปราดเปรียว ซึ่งในการดวลกันตัวต่อตัวระหว่างเอฟ-4 กับมิก-21 นั้น ส่วนใหญ่มิก-21 จะบินหลบหนีไปได้

ความต้องการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาเพื่อต่อกรกับมิก-21 อย่างสูสี ทำให้เอฟ-5 เอของบริษัทนอร์ธรอปซึ่งแต่เดิมถูกจัดวางไว้ในฐานะเครื่องบินลาดตระเวนโจมตีเบาและตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศเช่นเดียวกับเครื่องเอ-4 ถูกจับตามองด้วยความสนใจ เพราะเอฟ-5 เป็นเครื่องบินเบาที่มีท่วงท่าการบินและความปราดเปรียวคล่องตัวที่ใกล้เคียงกับมิก-21 มากที่สุด ดังนั้นบริษัทนอร์ธรอปจึงได้รับสั่งให้อัพเกรดเครื่องเอฟ-5 เป็นเครื่องบินขับไล่เบา

เครื่องเอฟ-5 ได้รับการปรับปรุงโดยการขยายโครงสร้างให้ใหญ่และยาวขึ้นกว่าเดิมประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ใช้เครื่องยนต์ของเยเนอรัล อิเลคทริครุ่นใหม่ที่มีแรงขับดันสูงขึ้น ติดเรดาห์ที่มีขีดความสามารถจับเป้าหมายได้อย่างแม่นยำในระยะ 15 ไมล์ สามารถยิงจรวดอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยอินฟราเรดแบบเอไอเอ็ม-9 และเรียกเอฟ-5 รุ่นนี้ว่าเอฟ-5 อี ไทเกอร์ทูว์

เอฟ-5 อี ถูกส่งเข้าประจำการในเวียดนามใต้เพียงไม่กี่ร้อยเครื่องและยังไม่ทันได้ประมือกับมิก-21 สหรัฐอเมริกาก็ยอมถอนตัวออกจากสงครามเวียดนามพร้อมกับทิ้งเอฟ-5 อี จำนวน 350 เครื่องไว้ในเวียดนาม ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้เก็บรักษาเอฟ-5 อี ไว้ในอนุสรณ์สถานสงครามเวียดนามเพียงไม่กี่เครื่องและทิ้งส่วนที่เหลือให้ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่มีการซ่อมบำรุงและอะไหล่สนับสนุน

สหรัฐอเมริกาเองก็ยังคงใช้งานเอฟ-5 อี มาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ในสามภาระกิจคือ เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติในการฝึกหลักสูตรท็อปกัน (TOP GUN) เพราะเอฟ-5 อี มีลักษณะการบินที่ใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่มิกของรัสเซียมาก ใช้เป็นเครื่องบินสังเกตการณ์การบินของอากาศยานทดลองและใช้ฝึกนักบิน โดยใช้ที-38 แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นที-45 ของอังกฤษแล้ว กองทัพอากาศไทยก็ได้ทำการปรับปรุงเอฟ-5 อี ในประจำการให้มีขีดความสามารถในการรบเพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนเรดาห์ให้สามารถจับเป้าข้าศึกได้ในระยะ 25 ไมล์ เพิ่มจอฮัด (HUD) ติดระบบนำร่องแบบทาแคนซึ่งเอฟ-5 อีของกองทัพอากาศไทยเมื่อปรับปรุงแล้ว จึงมีขีดความสามารถในการยิงจรวดนำวิถีแบบไพธอน 4 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ยิงเอไอเอ็ม-9 ได้แบบเดียวเท่านั้น

เครื่องบินขับไล่เบาที่เป็นอมตะที่สุดในโลกนี้ (ยังคงประจำการในกองทัพของประเทศผู้ผลิตจนถึงปัจจุบัน) นอกจากมิก-21 แล้ว มีเพียงเอฟ-5 อีคู่ปรับที่ไม่เคยเจอกันเลยตลอดกาล

รุ่นของเอฟ-5

  • F-5A
  • F-5B
  • F-5C Skoshi Tiger
  • F-5D
  • F-5E Tiger II
  • F-5F Tiger II
  • F-5G ต่อมาคือเอฟ-20
  • F-5N
  • F-5S
  • F-5T
  • RF-5A
  • RF-5A(G)
  • RF-5E Tigereye
  • YF-5

เหตุการณ์ในประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศไทยได้รับเอฟ-5 เอจากกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวน 5 เครื่องและเมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวจากสงครามเวียดนาม นักบินสหรัฐอเมริกาได้นำเอฟ-5 อีจำนวน 3 เครื่องบินหนีจากเวียดนามมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเอฟ-5 อีทั้ง 3 เครื่องนี้สหรัฐอเมริกาได้นำกลับไปด้วย

ปี พ.ศ. 2519 กองทัพอากาศไทยขออนุมัติรัฐบาล จัดซื้อเครื่องบินขับไล่เอฟ-5 อีและเอฟ-5 เอฟจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 12 เครื่องและได้รับเครื่องบินเข้าประจำการครบฝูงในปี พ.ศ. 2521 โดยใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข) หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดซื้อเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงในปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีเอฟ-5 อีมากกว่า 90 เครื่อง

เอฟ-5 ที่ประจำการในประเทศไทย

  • F-5A ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ข.๑๘)
  • F-5B ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก (บ.ข.๑๘ ก)
  • F-5E ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข)
  • F-5F ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ค (บ.ข.๑๘ ค)
  • RF-5A ใช้ชื่อเครื่องบินตรวจการณ์ขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ตข.๑๘)

รายละเอียด เอฟ-5

  • ผู้สร้าง บริษัท นอร์ธรอป แอร์คราฟท์ (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท เจ๊ตขับไล่ยุทธวิธีที่นั่งเดียว
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ๊ต เจเนอรัล อีเล็กตริค เจ 85-ยีอี-21 ให้แรงขับเครื่องละ 1,588 กิโลกรัม และ 2,268 กิโลกรัม เมื่อสันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก 8.13 เมตร
  • ยาว 14.68 เมตร
  • สูง 4.06 เมตร
  • พื้นที่ปีก 17.29 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 4,346 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 11,192 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด ไม่เกิน 1,314 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อมีน้ำหนักปฏิบัติการรบ 6,010 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง 1.63 มัค ที่ระยะสูง 10,975 เมตร เมื่อเครื่องบินหนัก 10,975 กิโลกรัม
  • เพดานบินใช้งาน 15,790 เมตร
  • รัศมีทำการรบ 917 กิโลเมตร
  • พิสัยบิน 2,943 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงชนิดปลดทิ้งได้
  • อาวุธ ปืนใหญ่อากาศขนาด 20 มม. M-39 A2/A3 ติดตั้งที่ลำตัวส่วนหัว 2 กระบอกพร้อมกระสุนกระบอกละ 280 นัด
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ เอไอเอ็ม-9 เจ ไซด์ไวน์เดอร์ ติดตั้งที่ปลายปีก ข้างละ 1 แห่ง
    • ลูกระเบิดสังหาร ลูกระเบิดทำลาย ลูกระเบิดเนปาล์ม ลูกระเบิดพวง
    • จรวดขนาด 2.95 นิ้ว
    • สามารถติดตั้งอาวุธที่ใต้ปีกได้ข้างละ 2 แห่ง และ ใต้ลำตัว 1 แห่ง รวมเป็นน้ำหนักสูงสุด 3,175 กิโลกรัม

[1]

อ้างอิง

  1. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522