ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพลงไทยเดิม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
'''เพลงไทยเดิม''' หมายถึง เพลงที่มีการขับร้องด้วยวิธีการแบบไทย เช่น การเอื้อน ลงทรวง เป็นต้น พร้อมด้วยการบรรเลง[[ดนตรีไทย]]ไปด้วยในขณะที่กำลังขับร้องหรือบรรเลงเฉพาะดนตรีไม่มีการขับร้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ปรากฏในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการสันนิษฐานถึงที่มาของ[[เครื่องดนตรีไทย]]ในบางเครื่องว่ากำเนิดมาจากต่างชาติ แต่บรรพบุรุษไทยก็ได้เปลี่ยนแปลงและประยุกต์ให้เข้ากับเพลงไทย
'''เพลงไทยเดิม''' หมายถึง เพลงที่มีการขับร้องด้วยวิธีการแบบไทย เช่น การเอื้อน ลงทรวง เป็นต้น พร้อมด้วยการบรรเลง[[ดนตรีไทย]]ไปด้วยในขณะที่กำลังขับร้องหรือบรรเลงเฉพาะดนตรีไม่มีการขับร้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ปรากฏในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการสันนิษฐานถึงที่มาของ[[เครื่องดนตรีไทย]]ในบางเครื่องว่ากำเนิดมาจากต่างชาติ แต่บรรพบุรุษไทยก็ได้เปลี่ยนแปลงและประยุกต์ให้เข้ากับเพลงไทย



รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:21, 16 มิถุนายน 2551

เพลงไทยเดิม หมายถึง เพลงที่มีการขับร้องด้วยวิธีการแบบไทย เช่น การเอื้อน ลงทรวง เป็นต้น พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรีไทยไปด้วยในขณะที่กำลังขับร้องหรือบรรเลงเฉพาะดนตรีไม่มีการขับร้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ปรากฏในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการสันนิษฐานถึงที่มาของเครื่องดนตรีไทยในบางเครื่องว่ากำเนิดมาจากต่างชาติ แต่บรรพบุรุษไทยก็ได้เปลี่ยนแปลงและประยุกต์ให้เข้ากับเพลงไทย

ลักษณะ

คีตกวีหรือนักแต่งเพลงไทยเดิม จะจะแต่งทำนองขึ้นก่อนแล้วจึงตั้งชื่อเพลงนั้น สำหรับเนื้อร้องบางครั้ง จะเอาเนื้อร้องจากคำประพันธ์ที่ไพเราะในวรรณคดีต่างๆ เช่นจากพระอภัยมณี พระลอ ขุนช้างขุนแผน ฯลฯ มาใส่ การแต่งเพลงขึ้นตอนแรกจะมีจังหวะปานกลางแต่บางครั้งก็เอาทำนองนั้นไปขยายให้ยาวขึ้นและยุบทำนองให้สั้นลง แล้วนำมาบรรเลงติดต่อกันโดยเริ่มทำนองขยายก่อนด้วยจังหวะช้าเรียกว่าจังหวะ 3 ชั้น ต่อด้วยทำนองเดิมจังหวะปานกลางเรียกว่า 2 ชั้น และต่อด้วยทำนองที่ยุบให้สั้นลงด้วยจังหวะเร็วเรียกว่า ชั้นเดียว จะเรียกว่า เพลงเถา ถ้านำไปบรรเลงเพียงจังหวะเดียวเรียกเพลงเกร็ด และนำเพลงเกร็ดหลาย ๆ เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเรียกว่า เพลงตับ

การเอื้อน มาจากการที่เพลงไทยอาศัยเนื้อร้องจากคำประพันธ์อื่นมา สวมใส่ทำนองที่แต่งไว้แล้ว ทำนองและเนื้อร้องจึงไม่พอดีกัน โดยใช้เสียง “เออ” หรือ “เอย” และลักษณะนี้เองทำให้เพลงไทยไม่เหมือนเพลงของชาติอื่น ๆ ในโลก เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงไทย

อ้างอิง