ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็องตวน อ็องรี แบ็กแรล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
<!--ชื่อตัวของเขาอยู่ที่ชื่อกลาง และวิกิพีเดียอังกฤษใช้ชื่อนี้จึงนำมาเป็นชื่อบทความ-->
<!--ชื่อตัวของเขาอยู่ที่ชื่อกลาง และวิกิพีเดียอังกฤษใช้ชื่อนี้จึงนำมาเป็นชื่อบทความ-->
[[ภาพ:Henri Becquerel.jpg|thumb|right|250px|อองรี เบ็กเกอเรล นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส]]
[[ภาพ:Henri Becquerel.jpg|thumb|right|250px|อองรี เบ็กเกอเรล นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:53, 13 มิถุนายน 2551

อองรี เบ็กเกอเรล นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส

อองตวน อองรี เบ็กเกอเรล (Antoine Henri Becquerel) (15 ธันวาคม พ.ศ. 2395 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2451) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เกิดในตระกูลที่มีนักวิทยาศาสตร์ถึง 4 รุ่น ตั้งแต่รุ่นปู่จนกระทั่งรุ่นลูก เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2446 ร่วมกับปิแยร์ กูรี และมารี กูรี หลังจากที่เขาถึงแก่กรรม ชื่อสกุลของเขาได้กลายเป็นหน่วยวัดกัมมันตภาพ ในระบบหน่วยเอสไอ คือ เบ็กเกอเรล เขียนด้วยสัญลักษณ์ Bq

ชีวิตส่วนตัว

อองรี เบ็กเกอเรล เกิดที่กรุงปารีส โดยเป็นบุตรของอะเล็กซองดร์-เอ็ดมง เบ็กเกอเรล (Alexandre-Edmond Becquerel) ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทัศนศาสตร์ ไฟฟ้าและแม่เหล็ก อองรีได้เข้าเรียนในโรงเรียน เอกอล โปลีเตกนิค (École Polytechnique) ซึ่งเป็นโรงเรียนช่างฝีมือทหารของฝรั่งเศส และต่อมาก็เข้าเรียนใน เอกอล เดส์ ปองต์ เอต์ โชเซส์ (École des Ponts et Chaussées) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สอนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ในด้านชีวิตครอบครัว อองรีสมรสกับหลุยส์ เดสิเร ลอริโอซ์ (Louise Désirée Lorieux ) มีบุตร 1 คน คือ ชอง เบ็กเกอเรล (Jean Becquerel) ซึ่งก็ได้เป็นนักฟิสิกส์เช่นเดียวกับอองรี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2451 อองรีได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (Académie des Sciences) และถึงแก่กรรมที่เลอ ครัวซี (Le Croisic) ในเมืองบริตตานี ในปีเดียวกันกับที่ได้รับเลือก

ชีวิตการงาน และงานวิจัยที่สำคัญ

ภาพหมอกจากแผ่นฟิล์มที่อองรี เบ็กเกอเรลได้ทดลองนำกัมมันตภาพรังสีมาวางบนแผ่นฟิล์มที่ปกปิดอย่างดี แต่ก็ไม่อาจต้านทานการทะลุทะลวงได้

ในปี พ.ศ. 2435 อองรีได้เป็นคนที่สามในตระกูลเบ็กเกอเรล ที่ได้เป็นภัณฑารักษ์ส่วนฟิสิกส์ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติฝรั่งเศส (Muséum National d'Histoire Naturelle) อีกสองปีให้หลัง เขาได้รับตำแหน่งหัวหน้านายช่างประจำกรมการสะพานและทางหลวง

นับจากที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้านายช่าง 2 ปี อองรีได้ศึกษาการเรืองแสงอย่างช้า (phosphorescence) ในเกลือยูเรเนียม จนเขาได้พบกัมมันตรังสีเข้าโดยบังเอิญ โดยเขาได้วางโพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟต ซึ่งตกทอดมาจากพ่อของเขา ไว้บนฟิล์มถ่ายรูปและวัสดุดำ จากนั้นนำไปตั้งไว้กลางแดด โดยเขาได้อธิบาย ณ ที่ประชุมวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส มีใจความดังนี้

เมื่อหุ้มฟิล์มถ่ายรูปลูมิแยร์ด้วยกระดาษดำหนา ๆ ซึ่งมีสารพวกโบรไมด์คั่นอยู่ ฟิล์มนั้นจะไม่มีลายหมอก แม้ตั้งไว้กลางแดดจ้า เมื่อวางสารนั้น (โพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟต)บนกระดาษซึ่งทับห่อนั้น จากนั้นนำไปวางไว้กลางแดด แล้วเอาฟิล์มนั้นมาล้าง จะพบว่ามีลายหมอกเป็นสีดำบนภาพเนกะทีฟ (ภาพที่ยังไม่ได้อัด) เมื่อใดที่เอาวัตถุอื่นใดปกปิดสารนั้น แล้วทดลอง ก็ปรากฏรูปวัตถุนั้น ๆ บนฟิล์ม...ดังนั้นจึงสรุปว่า สารนั้นมีกัมมันตรังสีจริง รังสีนั้นผ่านทะลุกระดาษหนา ๆ ได้ และรีดิวซ์เงินได้[1]

จากการค้นพบนี้เอง ทำให้อองรีได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับสองสามีภรรยาตระกูลกูรี ในปี พ.ศ. 2446

อ้างอิง

  1. Comptes Rendus 122, 420 (1896), แปลโดย Carmen Giunta. เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น