ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส่วนกลางของกระดูกเรเดียส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{กล่องข้อมูล กระดูก
{{กล่องข้อมูล กระดูก
| Name = ส่วนกลางของกระดูกเรเดียส<br> (Body of radius)
| Name = ส่วนกลางของกระดูกเรเดียส<br> (Body of radius)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:24, 13 มิถุนายน 2551

ส่วนกลางของกระดูกเรเดียส
(Body of radius)
ภาพวาดกระดูกเรเดียสและกระดูกอัลนาข้างขวา ด้านบนเป็นส่วนต้น (ข้อศอก) และด้านล่างเป็นส่วนปลาย (ข้อมือ)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินcorpus radii
TA98A02.4.05.006
TA21215
FMA33782
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

ส่วนกลางของกระดูกเรเดียส หรือ ตัวกระดูกเรเดียส (body of the radius หรือ shaft of radius) มีลักษณะคล้ายปริซึมสามเหลี่ยมที่โค้งออกไปทางด้านข้างเล็กน้อย ด้านบนแคบกว่าด้านล่าง ประกอบด้วย 3 ขอบกระดูก และ 3 พื้นผิว

ขอบกระดูก

ขอบด้านฝ่ามือ (volar border) หรือ ขอบด้านหน้า (anterior border) (ละติน: margo volaris) เริ่มจากส่วนล่างของปุ่มนูนเรเดียสไปจนถึงส่วนหน้าของฐานของสไตลอยด์ โพรเซส (styloid process) ซึ่งอยู่ทางปลายกระดูก แบ่งระหว่างพื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) และพื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) ส่วนด้านบนหนึ่งในสาม (upper third) มีลักษณะยื่นออกมาเป็นแนวเฉียง จึงเรียกว่า แนวเฉียงของกระดูกเรเดียส (oblique line of the radius) ซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อปลายแขนสองมัด คือ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitalis superficialis) และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (Flexor pollicis longus) ส่วนที่อยู่เหนือแนวเฉียงนี้เป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator muscle) ตรงกลางหนึ่งในสาม (middle third) ของของด้านนี้มีลักษณะกลมและขอบไม่ชัดเจน ส่วนล่างหนึ่งในสี่ (lower fourth) เป็นส่วนยื่นเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (Pronator quadratus muscle) และจุดเกาะของเอ็นดอร์ซัลคาร์ปัล (dorsal carpal ligament) และส่วนปลายของขอบด้านนี้เป็นปุ่มกระดูกขนาดเล็ก ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของเอ็นกล้ามเนื้อบราคิโอเรเดียลิส (Brachioradialis muscle)

ขอบด้านหลัง (dorsal border หรือ posterior border) (ละติน: margo dorsalis) เริ่มจากด้านหลังของคอกระดูกเรเดียส ไปจนถึงส่วนหลังของฐานของสไตลอยด์ โพรเซส ขอบนี้แบ่งระหว่างพื้นผิวด้านหลัง (posterior surface) และพื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) ด้านบนและด้านล่างของขอบนี้ไม่ชัดเจนนัก แต่ส่วนตรงกลางหนึ่งในสามนั้นชัดเจน

สัน หรือขอบด้านเยื่อระหว่างกระดูก (interosseuous border or crest) (ละติน: crista interossea) เริ่มจากด้านบนจากทางด้านหลังของปุ่มนูนเรเดียส ซึ่งขอบมีลักษณะกลมและไม่ชัดเจน แล้วไล่ลงมาทางด้านปลายกระดูกโดยขอบแหลมขึ้นเรื่อยๆ ตามแนวที่ลงมา จนถึงส่วนล่างซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สันไปเป็นขอบด้านหน้า (anterior margin) และขอบด้านหลัง (posterior margin) ของรอยเว้าอัลนา (ulnar notch) ด้านหลังของสันทั้งสองมีส่วนล่างของเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน (interosseous membrane) มายึดเกาะพื้นผิวรูปสามเหลี่ยมระหว่างสันทั้งสองเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (pronator quadratus muscle) สันนี้แบ่งระหว่างพื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) และพื้นผิวด้านหลัง (dorsal surface) และเป็นจุดเกาะของเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก เกิดเป็นการเชื่อมต่อของกระดูกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่าข้อต่อแบบซินเดสโมเซส (syndesmoses joint) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด

พื้นผิว

พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) หรือ พื้นผิวด้านหน้า (anterior surface) (ละติน: facies volaris) ส่วนด้านบนสามในสี่มีลักษณะเว้า เป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus muscle) ส่วนถัดมาด้านล่างมีลักษณะกว้างและแบน ให้จุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (Pronator quadratus) สันยื่นออกมาจำกัดจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัสให้อยู่ด้านล่าง และระหว่างสันนี้และขอบล่างของกระดูกเป็นพื้นผิวรูปสามเหลี่ยมขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็นเรดิโอคาร์ปัลด้านฝ่ามือ (volar radiocarpal ligament) ที่บริเวณรอยต่อระหว่างด้านบนหนึ่งในสามและตรงกลางหนึ่งในสามของพื้นผิวด้านฝ่ามือมีช่องสารอาหาร (nutrient foramen) ซึ่งมีทิศเฉียงขึ้น

พื้นผิวด้านหลัง (dorsal surface หรือ posterior surface) (ละติน: facies dorsalis) ส่วนบนหนึ่งในสามมีลักษณะนูนและเรียบ คลุมด้วยกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) ส่วนกลางมีลักษณะกว้าง เว้าเล็กน้อย ด้านบนมีจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) และด้านล่างมีจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis muscle) และส่วนล่างหนึ่งมนสามมัลักษณะกว้าง นูน และคลุมด้วยเอ็นของกล้ามเนื้อซึ่งวิ่งลงมาตามลำดับในร่องบนปลายล่างของกระดูก

พื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) หรือ พื้นผิวด้านนอก (external surface) (ละติน: facies lateralis) มีลักษณะโค้งนูนตลอดพื้นผิว ส่วนบนประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวกระดูกด้านนี้จะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ ขณะที่ส่วนกลางจะมีแนวสันขรุขระที่เป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส ส่วนล่างมีลักษณะแคบ และคลุมด้วยเอ็นของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (abductor pollicis longus) และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (extensor pollicis brevis)