ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระไภษัชยคุรุทั้ง 7"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
'''พระไภษัชยคุรุทั้ง 7''' เป็นกลุ่มของ[[พระพุทธเจ้า]]ตามคติของ[[มหายาน]]กลุ่มหนึ่ง มีจำนวน 7 พระองค์ เป็นที่นับถือกันมาใน[[ทิเบต]]และเ[[นปาล]] โดยพระพุทธะแต่ละองค์จะมีโลกธาตุหรือ[[พุทธเกษตร]]เป็นของตนเองเช่นเดียวกับแดนสุขาวดีของ[[พระอมิตาภะ]] ในบรรดาพระพุทธเจ้ากลุ่มนี้ [[พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา]]เป็นที่นับถือมากที่สุด
'''พระไภษัชยคุรุทั้ง 7''' เป็นกลุ่มของ[[พระพุทธเจ้า]]ตามคติของ[[มหายาน]]กลุ่มหนึ่ง มีจำนวน 7 พระองค์ เป็นที่นับถือกันมาใน[[ทิเบต]]และเ[[นปาล]] โดยพระพุทธะแต่ละองค์จะมีโลกธาตุหรือ[[พุทธเกษตร]]เป็นของตนเองเช่นเดียวกับแดนสุขาวดีของ[[พระอมิตาภะ]] ในบรรดาพระพุทธเจ้ากลุ่มนี้ [[พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา]]เป็นที่นับถือมากที่สุด



รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:43, 12 มิถุนายน 2551

พระไภษัชยคุรุทั้ง 7 เป็นกลุ่มของพระพุทธเจ้าตามคติของมหายานกลุ่มหนึ่ง มีจำนวน 7 พระองค์ เป็นที่นับถือกันมาในทิเบตและเนปาล โดยพระพุทธะแต่ละองค์จะมีโลกธาตุหรือพุทธเกษตรเป็นของตนเองเช่นเดียวกับแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ ในบรรดาพระพุทธเจ้ากลุ่มนี้ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาเป็นที่นับถือมากที่สุด

พระไภษัชยคุรุทั้ง 7 ตามความเชื่อของชาวจีน

พระพุทธะในกลุ่มนี้ได้แก่[1]

  • พระสุนามยศศิริราชาตถาคต อยู่ที่ชยประภาโลกธาตุ มีปณิธาน 8 ประการคือ ช่วยสรรพสัตว์ให้หายจากโรคร้าย ช่วยผู้พิการให้มีร่างกายสมบูรณ์ ช่วยให้สรรพสัตว์มีโอกาสหลุดพ้นจากอนันตริยกรรม ช่วยให้สรรพสัตว์มีโภคทรัพย์สมบูรณ์ ช่วยเหลือสรรพสัตว์ที่ถูกโบยตีให้พ้นทุกข์ ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นภัยจากสัตว์ร้าย ช่วยให้สรรพสัตว์มีเมตตา ช่วยสรรพสัตว์ที่พลัดหลงให้ปลอดภัย
  • พระรัตนจันทรประภาปรัชญาประภาศัพทศวรราชาตถาคต อยู่ที่สุรัตนโลกธาตุ มีปณิธาน 8 ประการคือ ช่วยให้สรรพสัตว์ประสบความสำเร็จในการค้า ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากการต้องทนหนาวร้อน ช่วยสตรีที่มักมากในกามให้พ้นจากกิเลส ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากการถูกปล้นระหว่างทาง ช่วยสรรพสัตว์ที่เดินทางกลางคืนให้ปลอดภัย ช่วยให้สรรพสัตว์หันมาศึกษาพระธรรม ช่วยสรรพสัตว์ให้หันมาตั้งมั่นในโพธิจิต ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นภัยทางโลก
  • พระสุวรรณรัตนประภามัญชุจรยสิทธิตถาคต อยู่ที่บริบูรณ์คันธาลยโลกธาตุ มีปณิธาน 4 ประการคือ ช่วยสรรพสัตว์ที่ทำกรรมโดยอาชีพให้พ้นกรรม ช่วยสรรพสัตว์ที่ทำความชั่วให้พ้นกรรม ช่วยให้สรรพสัตว์มีความเมตตา ช่วยให้สรรพสัตว์ที่มีสังโยชน์ให้พ้นกรรม
  • พระอโศกาวิชยตถาคต อยู่ที่อโศกาโลกธาตุ มีปณิธาน 4 ประการคือ ช่วยสัตว์ให้พ้นจากความโศก ช่วยสัตว์ให้พ้นจากอเวจีนรก ช่วยสัตว์ที่จะตกนรกในชาติหน้าให้พ้นทุกข์ ช่วยให้สรรพสัตว์ให้พ้นจากอำนาจของภูตผีปีศาจ
  • พระธรรมสาครครชิตศัพทตถาคต อยู่ที่ธรรมธวัชโลกธาตุ มีปณิธาน 4 ประการคือ ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากความหลงผิดในการมีมิจฉาทิฏฐิต่อพระรัตนตรัย ช่วยให้สัตว์พบกัลยาณมิตรที่จะพาไปสู่พระโพธิญาณ ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากความขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม ช่วยให้สรรพสัตว์หันมาสร้างกรรมดี
  • พระธรรมสาครชยประภาอภิญญากรีฑาตถาคต อยู่ที่วิจิตรรัตนสาครโลกธาตุ มีปณิธาน 4 ประการ คือ ช่วยให้สรรพสัตว์เลิกสร้างกรรมชั่ว ช่วยให้สรพพสัตว์หันมาสร้างกุศลกรรม ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากการถูกประหารชีวิต ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากมิจฉาทิฐิของมาร
  • พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต อยู่ที่ ศุทธิไวฑูรยโลกธาตุ มีปณิธาน 12 ประการ

นอกจากนั้นในคัมภีร์อุตรเคราะห์นิรภัยจิรายุวัฒนาวิเศษสูตร กล่าวถึงพระพุทธเจ้าทั้งเจ็ดพระองค์นี้ว่า ทรงมีนิรมาณกายเป็นเทพเจ้า 7 องค์ รวมกับพระโพธิสัตว์ 2 องค์ กลายเป็นเทพนพเคราะห์ 6 องค์ ที่ควบคุมสรรพสิ่งในจักรวาล

พระไภษัชยคุรุทั้ง 9 ตามความเชื่อของชาวทิเบต

พระไภษัชยคุรุตามความเชื่อของชาวทิเบตมี 9 องค์ ดังนี้ [2]

  • พระไภษัชยคุรุ กายสีฟ้าหรือสีทอง หัตถ์ขวาถือผลสมอ หัตถ์ซ้ายทำสมาธิ
  • พระสิงหนาท หัตถ์กระทำปางวิตรรกะ หัตถ์ซ้ายทำสมาธิรองรับบาตร
  • พระสุปริกีรติตนามศรี กายสีเหลือง หัตถ์ขวาทำท่าวิตรรกกะหรือประทานอภัย หัตถ์ซ้ายทำสมาธิ
  • พระสวรโฆษราช กายสีแดงอมเหลือง หัตถ์ขวาทำปางประทานพร หัตถ์ซ้ายทำสมาธิ
  • พระสุวรรณภัทรวิมลรัตนประภาส กายสีเหลืองซีด ทำปางธรรมจักรหรือประทานพร ประทานอภัย
  • พระอโคโกตมศรี กายสีแดงเพลิง ทำปางสมาธิ
  • พระธรรมกีรติสาครโฆษะ กายสีแดง ปางธรรมจักร
  • พระอภิฌาราช กายสีแดง หัตถ์ขวาประทานพร หัตถ์ซ้ายทำสมาธิ
  • พระศิยิน กายสีแดงอมเหลือง หัตถ์ขวาประทานอภัย หัตถ์ซ้ายทำสมาธิ

อ้างอิง

  1. ภิกษุจีนวิศวภัทร. พระพุทธเจ้าและพระธรรมสูตรฝ่ายมหายาน. กทม. หมื่นคุณธรรมสถาน. 2549
  2. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กทม. โรงพิมพ์อักษรสมัย. 2543 หน้า 62-63