ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนราชดำริ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ปังคุง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
'''ถนนราชดำริ (Thanon Ratchadamri)''' เป็นถนนที่เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงปทุมวันกับ[[แขวงลุมพินี]] [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]] มีเส้นทางเริ่มตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง [[ถนนพระรามที่ 4]] ตัดกับ[[ถนนพระรามที่ 1]] ที่[[สี่แยกราชประสงค์]] และสิ้นสุดที่[[สะพานเฉลิมโลก 55]] ซึ่งเป็นสะพานข้าม[[คลองแสนแสบ]]
'''ถนนราชดำริ (Thanon Ratchadamri)''' เป็นถนนที่เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงปทุมวันกับ[[แขวงลุมพินี]] [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]] มีเส้นทางเริ่มตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง [[ถนนพระรามที่ 4]] ตัดกับ[[ถนนพระรามที่ 1]] ที่[[สี่แยกราชประสงค์]] และสิ้นสุดที่[[สะพานเฉลิมโลก 55]] ซึ่งเป็นสะพานข้าม[[คลองแสนแสบ]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:16, 11 มิถุนายน 2551

ถนนราชดำริ (Thanon Ratchadamri) เป็นถนนที่เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงปทุมวันกับแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง ถนนพระรามที่ 4 ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกราชประสงค์ และสิ้นสุดที่สะพานเฉลิมโลก 55 ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองแสนแสบ

ถนนราชดำริเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ใน พ.ศ. 2445 การสร้างถนนราชดำรินี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้กำหนดขนาดถนนที่จะสร้างในรัชสมัยของพระองค์ โดยคำนึงถึงความสำคัญของถนนในอนาคตด้วย เพื่อว่าเมื่อธุรกิจก้าวหน้าขึ้น ประชาชนที่มากขึ้นและนิยมเดินทางด้วยถนนมากขึ้นจะทำให้ถนนคับแคบไปดังเช่นถนนเจริญกรุง เมื่อแรกสร้างประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ว่ากว้างเกินไป แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนเจริญกรุงกลับแคบเล็กไปทำให้เกิดอุบัติเหตุเสมอ

ถนนที่จะตัดขึ้นใหม่นั้น ควรจะได้วินิจฉัยเสียก่อนว่าจะเป็นถนนขนาดใด แล้วให้ปักเขตถนนไว้และห้ามมิให้ปลูกสร้างตึกเรือนที่ถาวรลงในเขตถนนที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการเตรียมการไว้แต่แรก เจ้าหน้าที่จะได้ไม่ลำบากในการรื้อถอนเมื่อต้องการจะขยายถนน และโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มที่ถนนราชดำริเป็นต้นไป การตัดถนนและขุดคลองตั้งแต่ศาลาแดงไปถึงบางกะปิโดยโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการและกระทรวงธรรมการเป็นผู้ดำเนินการ และมีเจ้าพนักงานในการสุขาภิบาลเป็นนายงานทำการขุดคลองและถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนและนามคลองในคราวเดียวกันเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2445 ว่า "ถนนราชดำริห์" และ "คลองราชดำริห์" และมีพระราชกระแสให้ปลูกต้นไม้ เช่น ต้นขี้เหล็ก หรือต้นจามจุรี หรือต้นประดู่ เพื่อให้รากของต้นไม้ยึดขอบถนนไว้ด้วย แต่เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ได้กราบบังคมทูลว่าท่านได้ปลูกต้นยางอินเดียและต้นมะพร้าวสลับกันไปแล้ว ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้คงไว้ตามเดิม

เกร็ดความรู้