ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตพระนคร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bact (คุย | ส่วนร่วม)
{{วิกิประเทศไทย}}
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 226: บรรทัด 226:


[[Category:เขตพระนคร]]
[[Category:เขตพระนคร]]

[[Category:เขต|พระนคร]]


[[de:Phra Nakhon]]
[[de:Phra Nakhon]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:38, 1 มีนาคม 2549

เขตพระนคร เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เขตพระนคร หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
เขตพระนคร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Phra Nakhon
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตพระนคร
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตพระนคร
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด5.536 ตร.กม. (2.137 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2543)
 • ทั้งหมด92.636 คน
 • ความหนาแน่น16,843 คน/ตร.กม. (43,620 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10200
รหัสภูมิศาสตร์1001
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางของกรุงเทพฯ มีสถานที่สำคัญ ทั้งด้านวัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง ตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่บนเกาะรัตนโกสินทร์ จึงจัดอยู่ในกลุ่มเขตรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นบริเวณทิศตะวันตกสุดของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้

ประวัติศาสตร์

เขตพระนคร เดิมมีฐานะเป็น อำเภอชนะสงคราม ขึ้นกับกรมนครบาล มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ ติดกับวัดชนะสงครามด้านเหนือ

ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีประกาศยกเลิกอำเภอชั้นในแต่เดิมและตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ 25 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระราชวัง อำเภอชนะสงคราม อำเภอสำราญราษฏร์ อำเภอพาหุรัด อำเภอจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ อำเภอสามแยก อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอสามยอด อำเภอนางเลิ้ง อำเภอบางขุนพรหม อำเภอสามเสน อำเภอดุสิต อำเภอพญาไท อำเภอประแจจีน อำเภอประทุมวัน อำเภอบางรัก อำเภอสาธร อำเภอบ้านทะวาย อำเภอบางพลัด อำเภออมรินทร์ อำเภอหงสาราม อำเภอราชคฤห์ อำเภอบุปผาราม และอำเภอบุคคโล

ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2471 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวมพื้นที่อำเภอพาหุรัด อำเภอสำราญราษฏร์ อำเภอพระราชวัง อำเภอชนะสงคราม อำเภอสามยอด และอำเภอบางขุนพรหม เป็นอำเภอเดียวกัน เรียกว่า อำเภอพระนคร ตามประกาศยุบรวมอำเภอและกิ่งอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี ซึ่งในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดระเบียบการปกครองในเขตนครหลวงใหม่ อำเภอพระนครจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตพระนครแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1. พระบรมมหาราชวัง (Phra Borom Maha Ratchawang) 2. บวรนิเวศ (Bowon Niwet)
3. วังบูรพาภิรมย์ (Wang Burapha Phirom) 4. ตลาดยอด (Talat Yot)
5. วัดราชบพิธ (Wat Ratchabophit) 6. ชนะสงคราม (Chana Songkhram)
7. สำราญราษฎร์ (Samran Rat) 8. บ้านพานถม (Ban Phan Thom)
9. ศาลเจ้าพ่อเสือ (San Chaopho Suea) 10. บางขุนพรหม (Bang Khun Phrom)
11. เสาชิงช้า (Sao Chingcha) 12. วัดสามพระยา (Wat Sam Phraya)

สถานที่สำคัญ

ศาลหลักเมือง

เขตพระนครอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

ที่ทำการรัฐบาล

มีจำนวน 17 แห่ง ได้แก่

วัด

มีจำนวน 23 แห่ง ได้แก่

มัสยิด

มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่

ศาลเจ้า

มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่

โบราณสถานและสถานที่สำคัญต่าง ๆ

ในตอนเริ่มแรกนั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง 14 ป้อมปราการ เพื่อรักษาพระนคร แต่ถูกรื้อลงเกือบหมดในสมัยต่อมา ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียง 2 ป้อม ได้แก่ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ แต่เดิมนั้น บริเวณรอบ ๆ ป้อมพระสุเมรุ เป็นแค่ถนนธรรมดา แต่ในปี พ.ศ. 2543 ได้สร้างสวนสาธารณะ สวนสันติชัยปราการ

เมื่อปี พ.ศ. 2548 ทางรัฐบาลได้อภิปราย พื้นที่บริเวณตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าจนถึงท่าวาสุกรี ส่งไปให้องค์การยูเนสโกเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคต

มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของรัฐ

มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่

ห้างสรรพสินค้า

มีจำนวน 9 แห่ง ได้แก่

การคมนาคม

มีถนนสายหลักในเขตพระนคร ได้แก่

และมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 แห่ง ได้แก่

ลิงก์ภายนอก