ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำรวจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: la:Vigil
PipepBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: gan:警察
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
[[fi:Poliisi]]
[[fi:Poliisi]]
[[fr:Police (institution)]]
[[fr:Police (institution)]]
[[gan:警察]]
[[gl:Policía]]
[[gl:Policía]]
[[he:משטרה]]
[[he:משטרה]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:37, 8 มิถุนายน 2551

ไฟล์:Police armed uk.jpg
ตำรวจอังกฤษ
ไฟล์:005990015.jpg
ตำรวจไทย

ตำรวจ หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เรียกชื่อตามหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจกองปราบ ตำรวจดับเพลิง ตำรวจน้ำ ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้ ตำรวจจราจร ตำรวจนครบาล ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร ตำรวจลับ ตำรวจวัง ตำรวจสภา ตำรวจสันติบาล ตำรวจหลวง


ตำรวจในประเทศไทย คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าพนักงานที่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ตำรวจนั้นมีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เป็นผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงในการดูแลคุ้มครอง ให้เกิดความสงบสุขแก่พลเมืองของประเทศ

ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ตำรวจไว้ใน

ลักษณะที่ ๑
บททั่วไป
มาตรา ๖ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 
(๑) รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
(๒) ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๓) ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
(๔) รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๖) ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตาม(๑)(๒)(๓)(๔)หรือ(๕)เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
    ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดความผิดทางอาญาขึ้นสำหรับการกระทำใดเป็นการเฉพาะและตกอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ   
ตาม(๓)(๔)หรือ(๕)จะตราพระราชกฤษฎีกาโอนอำนาจหน้าที่ตาม(๓)(๔)หรือ(๕)เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญาดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน
ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นใดก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ข้าราชการตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาิติพ้นจากอำนาจหน้าที่ดังกล่าวทั้งหมด
หรือบางส่วน และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานสอบสวน หรือพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

อำนาจของตำรวจ

อำนาจของตำรวจตามพฤตินัย ตำรวจมีแนวทางในการประพฤติปฎิบัติหน้าที่ ตามประเพณีที่เป็นแบบอย่างดังนี้ ตำรวจมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและมีอำนาจจะสอบสวน จับกุม คุมขัง ปราบปราม เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่อำนาจเหล่านี้สามารถสร้างคุณและโทษได้เท่าๆ กัน สุดแต่การใช้ ตำรวจทุกคนจึงจำเป็นต้องควบคุมจิตใจให้มั่นคง เที่ยงตรงอยู่ในความสัตย์สุจริต ไม่ใช้อำนาจที่มีอยู่ด้วยอคติ หรือยอมให้ผู้อื่นมาแอบแฝงใช้อำนาจของตนโดยไม่เป็นธรรม

อำนาจของตำรวจจะเกิดผลเป็นคุณประโยชน์ คือ เป็นการรักษาความสงบสุข ปกป้องสุจริตธรรม และผดุงความถูกต้องเป็นธรรม จึงต้องขอให้ตำรวจทั้งหลายได้คิดพิจารณาให้เห็นถ่องแท้ จะได้สามารถใช้อำนาจที่มีอยู่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ให้สำเร็จประโยชน์โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์