ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
Midori~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
'''[http://maps.google.com/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&msa=0&msid=113236588015887881643.00044e1d1d270e86c8739&ll=13.763333,100.509061&spn=0.003032,0.005858&t=h&z=18 แผนที่]'''แสดงจุดที่ตั้งเวทีชุมนุมของ[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] (ตั้งแต่ 25 พ.ค. 51 เป็นต้นไป) ดูที่เว็บไซต์ [[ครป.]] http://web.cpdthai.org
'''[http://maps.google.com/maps/ms?ie=UTF8&hl=th&msa=0&msid=113236588015887881643.00044e1d1d270e86c8739&ll=13.763333,100.509061&spn=0.003032,0.005858&t=h&z=18 แผนที่]'''แสดงจุดที่ตั้งเวทีชุมนุมของ[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] (ตั้งแต่ 25 พ.ค. 51 เป็นต้นไป) ดูที่เว็บไซต์ [[ครป.]] http://web.cpdthai.org
และยังชุมนุมยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2551
และยังชุมนุมยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2551


==ดารา นักร้องที่ขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย==
*[[ศรัณยู วงศ์กระจ่าง]]
*[[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]]
*จอย [[ศิริลักษณ์ ผ่องโชค]]
*หน่อย [[บุษกร วงศ์พัวพัน]]
*[[สุกัญญา มิเกล]]
*[[นัดดา วิยะกาญจน์]]
*[[หรั่ง ร็อคเคสตร้า]]
*[[อ๊อด คีรีบูน]]
*[[คาราวาน (วงดนตรี)|คาราวาน]]
*[[พงษ์สิทธิ์ คำภีร์]]
*[[พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ]]
*[[ซูซู]]
*[[แฮมเมอร์]]
*[[โฮป แฟมิลี่]]
*[[สมิธ แอนด์ เชน]]
*[[มาลีฮวนน่า]]
*[[สุนทรี เวชานนท์]]
*[[สุเทพ วงศ์กำแหง]]
*[[สเกน สุทธิวงศ์]]
*เหมี่ยว [[ปวันรัตน์ นาคสุริยะ]]
*[[ท็อป ดาราณีนุช]]
*[[ทราย วรรณพร]]
*[[จุลจักร จักรพงษ์|ฮิวโก้]]
*[[ฮาน่า ทัศนาวลัย]]
*[[ประทีป ขจัดพาล]]
*เชษฐ์ [[สมาย บัฟฟาโล่]]
*[[ณัฐ ยนตรรักษ์]] และ [[พวงเดือน ยนตรรักษ์]]
*[[เค้ก บีไฟว์]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:06, 7 มิถุนายน 2551

สัญลักษณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ไฟล์:5 leader of people's alliance for democracy.jpg
5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (จากซ้าย) สนธิ ลิ้มทองกุล, สมศักดิ์ โกศัยสุข, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, พิภพ ธงไชย
ไฟล์:พันธมิตร 2551.jpg
การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ล่าสุดที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy: PAD) เกิดจากการรวมตัวกันของหลายองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรอิสระภาคประชาชน จุดประสงค์หลักของการรวมตัวเพื่อกดดันขับไล่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเห็นว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัวและคนสนิทและประพฤติผิดอีกหลาย ๆ อย่างอันไม่สมควรในการเป็นผู้บริหารประเทศ โดยมีแกนนำ 5 คน ได้แก่

  1. สนธิ ลิ้มทองกุล
  2. พล.ต. จำลอง ศรีเมือง
  3. สมศักดิ์ โกศัยสุข
  4. พิภพ ธงไชย
  5. สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์

และผู้ประสานงาน

ก่อนและหลังการปฏิรูปโดย คปค.

นายสนธิ ลิ้มทองกุล และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ให้สัมภาษณ์ข่าวเกี่ยวกับทฤษฎี "แผนฟินแลนด์" และกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สมคบคิดกับอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี ยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทย และก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตผู้นำและผู้ร่วมพคท. ได้ปฏิเสธว่า แผนสมคบคิดนี้ไม่ได้มีอยู่จริง แต่เป็นที่เชื่อกันในสังคมว่าเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริงและกำลังถูกดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ภายหลังรัฐประหารสำเร็จได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย[1][2][3]

หลังจากเกิดการปฏิรูปโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทางกลุ่มพันธมิตรฯซึ่งแผนการเดิม จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อขับไล่รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง ก็ได้ยุติการชุมนุมไป แล้วทิศทางในปัจจุบันนี้คือ ทางแกนนำกลุ่มพันธมิตรทั้ง 5 คน ก็ได้ตัดสินใจแยกทางกันตามปกติ ยุติการเคลื่อนไหวแล้ว แต่ก็ยังมีการจับตาทางฝ่ายของอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่ เพื่อไม่ให้อดีตนายกรัฐมนตรีรวมทั้งคณะรัฐมนตรีในพรรคไทยรักไทย ที่ได้จัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งปลายปี พ.ศ. 2550 แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือแทรกแซงระบอบราชการอีก

การกลับมาเคลื่อนไหวของพันธมิตรภายใต้รัฐบาลสมัคร

ไฟล์:พันธมิตร.jpg
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมใหญ่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีประชาชนมาร่วมฟังการปราศรัยนับหมื่นคน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับมายังประเทศไทย โดยกลุ่มพันธมิตรให้เหตุผลว่าคำสั่งโยกย้าย อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (ปชส.) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.สตช.)อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นไปอย่างมีเงื่อนงำ และอาจเป็นการแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรม

โดยที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขอย้ำจุดยืนว่าจะไม่เคลื่อนไหวใด ๆ เพื่อคัดค้านการกลับมาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ทันทีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางถึงประเทศ ไทย แกนนำทั้งหมดจะเฝ้าดูและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ พันธมิตรฯ ขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตำรวจในฐานะเจ้าพนักงานสอบสวน อัยการสูงสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับ โดยยึดหลักปฏิบัติเดียวกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่กลับมายังประเทศไทยก่อนหน้านี้ [4]

ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง โดยจัดสัมมนาที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีการเสวนาทางวิชาการโดยนักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลที่สนใจในการเมืองหลายกลุ่ม รวมทั้งมีการแสดงงิ้วธรรมศาสตร์อีกครั้ง และเปิดตัวผู้ทำงานทางด้านติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลชุดต่าง ๆ [5] และจัดชุมนุมอีกครั้งที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันที่ 25 เมษายน ปีเดียวกัน

25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้จัดรวมตัวชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. รวมทั้งมีการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อถอดถอน ส.ส. ส.ว. ที่เข้าชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ด้วย พร้อมทั้งเปิดเผยถึงขบวนการสาธารณะรัฐ ที่ต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ จากนั้นในเวลา 21.00 น. ได้เคลื่อนขบวนไปปักหลักยังหน้าทำเนียบรัฐบาล แต่ติดอยู่เพียงแค่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กั้นไว้ อีกทั้งท้ายขบวนยังมีการปะทะกับกลุ่มผู้ต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯด้วย จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย [5]

26 พฤษภาคม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าชื่อร่วมถอดถอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ที่ลงชื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ต่อ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา [6]

ส่วนอาสาสมัครผู้ช่วยการ์ดกลุ่มพันธมิตรฯ ถูกฝ่ายตรงข้ามรุมทำร้ายที่สะพานผ่านฟ้า โดยใช้ไม้หน้าสามรุมกระหน่ำตีจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ขาซ้ายหัก ศีรษะแตกเย็บกว่า 20 เข็ม จนต้องเข้ารับการผ่าตัดที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเองกลับเพิกเฉย ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแต่อย่างใด [7]

27 พฤษภาคม กลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ณ นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ร่วมชุมนุมหน้ากงสุล 250 คน พร้อมทั้งสนับสนุนเงินบริจาคให้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นจำนวน 120,000 บาท [8] ในวันเดียวกันนั้น ศาลจังหวัดเชียงรายยกคำร้องถอนประกันที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้ยื่นต่อศาลให้ถอนประกัน นายสนธิ ลิ้มทองกุล โดยศาลให้เหตุผลว่า เป็นการเข้าร่วมชุมนุมที่ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ[9]

30 พฤษภาคม มีผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์ ทั้งหญิงและชาย จากเขตดุสิต และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ประมาณ 100 คน รวมตัวกันอยู่บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า บริเวณทางออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประตูั่ฝั่ง ถนนพระอาทิตย์ [10] ในวันเดียวกันนี้ นายจักรภพ เพ็ญแข ลาออกจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี [11] และในวันนี้ซึ่งเป็นวันชุมนุมใหญ่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศที่จะยกระดับการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสมัครลาออกทั้งคณะ เพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น และยังกล่าวหาด้วยว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่พันธมิตรให้เหตุผลในการขับไล่อยู่ 12 ประำการ[12] [13] หลังจากนั้น นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ขึ้นเวทีปราศัยแล้วประกาศต่อสู้กับรัฐบาลสมัครขั้นแตกหัก โดยสั่งให้ผู้ชุมนุมทุกคนปักหลักชุมนุมต่อไป [14]

31 พฤษภาคม 08.50 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ไม่ยอมให้รถของผู้ที่จะเข้ามารวมกับกลุ่มพันธมิตรฯ ผ่านเข้าไปในบริเวณที่ชุมนุม หลังจากนั้นไม่นาน ประชาชนจำนวน 200 คน ได้เดินเข้าไปประชิดเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเจรจาขอให้เปิดทางให้กับรถยนต์ที่จะเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ โดยใช้เวลาเจรจาเพียง 5 นาที เจ้าหน้าที่จึงยอมเปิดทางให้กับกลุ่มที่จะมาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ [15]

1 มิถุนายน 15.50 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมาย้ำจุดยืนบนเวทีพันธมิตรฯ โดยยืนยันว่าจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และจะไม่ย้ายสถานที่ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ไปที่ทำเนียบรัฐบาล แม้ตำรวจจะเปิดทางให้ก็จะไม่ไป ซึ่ง พล.ต.จำลองกล่าวว่า

"เราอยู่ตรงนี้ดีแล้ว เราจะกินนอนที่นี่ ภูมิประเทศแถวนี้ผมรู้ดีกว่าตำรวจ สมัยเป็นนักเรียนนายร้อยเดินไปเดินมาบริเวณนี้ตั้ง 5 ปี ส่วนที่ทำเนียบก็เคยทำงานการเมืองมาหลายสมัย จึงรู้ทำเลดีกว่าตำรวจแน่" [16]

19.45 น. มีกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ประมาณ 200 คน ขับไปจอดที่บริเวณแยก จปร.พร้อมทั้งตะโกนด่าทอ และบีบแตรเสียงดังลั่น อยู่ประมาณ 2 นาที ก่อนวกหัวกลับไปทางถนนราชดำเนินกลาง [17]

6 มิถุนายน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ปรับแผนยุทธศาสตร์ดาวกระจาย เริ่มต้นด้วยนายสุริยะใส กตะศิลา และพร้อมชุมนุม 300 คน เดินทางไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด แล้วยื่นจดหมายถึงนายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุด นอกจากนี้ ยังได้เคลื่อนขบวนมุ่งหน้าสู่กระทรวงมหาดไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ดูแลและแก้ปัญหาของประชาชนมากกว่าการโต้ตอบทางการเมือง รวมทั้งยังเดินทางไปชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อถามหาความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ [18]


แผนที่แสดงจุดที่ตั้งเวทีชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ตั้งแต่ 25 พ.ค. 51 เป็นต้นไป) ดูที่เว็บไซต์ ครป. http://web.cpdthai.org และยังชุมนุมยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2551


ดารา นักร้องที่ขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

อ้างอิง

  1. The Nation,"'Finland plot' on dangerous ground", 25 May 2006 (อังกฤษ)
  2. The Nation, "Burning Issue: Finland, monarchy: a dangerous mix", May 25, 2006 (อังกฤษ)
  3. The Bangkok Post, "Manager sued for articles on 'Finland plot'", 31 May 2006 (อังกฤษ)
  4. “พันธมิตรฯ” กวักมือเรียก “แม้ว” เตือนอย่าแทรกแซงศาล
  5. 5.0 5.1 ผู้จัดการออนไลน์หน้าพิเศษ
  6. ตร.แห่คุมสภาเข้ม! รับ “พันธมิตรฯ” ยื่นหนังสือไล่ถอด ส.ส.-ส.ว.
  7. ผู้จัดการออนไลน์,การ์ดพันธมิตรฯ ยังสาหัส โดนม็อบถ่อยรุม - งง ตร.ยืนดูเฉย! 26 พฤษภาคม 2551
  8. พันธมิตรแอลเอ ร่วมต้าน “ฉีก รธน.50” บริจาคสมทบช่วยสู้อีกเป็นแสน
  9. “เหลิม” หน้าแหก! ศาลยกคำร้องถอนประกัน “สนธิ”
  10. มอเตอร์ไซค์ 300 คันสมทบ นปก.-ขับป่วนถึงสะพานผ่านฟ้า แล้ว
  11. ผู้จัดการออนไลน์, “เพ็ญ” แถลงลาออกแล้ว อ้างเพื่อ “รักษาขุนให้อยู่รอด” 30 พฤษภาคม 2551
  12. [1]
  13. มติชน,[2] 31 พฤษภาคม 2551
  14. ผู้จัดการออนไลน์ “สมศักดิ์” รัวกลองรบ! ขับไล่ “หมัก-รบ.นอมินี” ไร้ความชอบธรรม
  15. ผู้จัดการออนไลน์ “จำลอง”เดือด!หวิดปะทะ ตร. เหตุขวางรถไม่ให้เข้าที่ชุมนุม 31 พฤษภาคม 2551
  16. ผู้จัดการออนไลน์,“จำลอง” ย้ำจุดยืนชุมนุมจนกว่าชนะ!! ยันไม่เคลื่อนย้ายไปทำเนียบ1 มิถุยายน 2551
  17. ผู้จัดการออนไลน์,จยย.200 คันจอดตะโกน-บีบแตรป่วนพันธมิตรฯ1 มิถุนายน 2551
  18. The Bangkok Post, PAD considering moving to new site, June 7, 2008

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย