ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอนาดูน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thanatchai (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| english = Na Dun
| english = Na Dun
| province = มหาสารคาม
| province = มหาสารคาม
| coordinates={{coor dms|15|42|50|N|103|13|37|E|type:admin2nd_region:TH}}
| coordinates = {{coor dms|15|42|50|N|103|13|37|E|type:admin2nd_region:TH}}
| area = 248.449
| area = 248.449
| population = 36,485
| population = 36,559
| population_as_of = 2548
| population_as_of = 2550
| density = 146.9
| density = 147
| postal_code = 44180
| postal_code = 44180
| geocode = 4410
| geocode = 4410
| capital = ที่ว่าการอำเภอนาดูน หมู่ที่ 6 ถนนกลางเมือง ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 44180
| capital =
| phone =
| phone = 0 4379 7110
| fax =
| fax = 0 4379 7110
| คำขวัญ = พระธาตุนาดูน ศูนย์รวมจิตใจ น้ำดูนใสศักดิ์สิทธิ์ วิจิตรสวนวลัยรุกขเวช เขตปรางค์กู่สันตรัตน์คู่เมือง ลือเลื่องอารยธรรมจัมปาศรี
| คำขวัญ =
}}
}}
'''อำเภอนาดูน''' เป็นอำเภอหนึ่งของ[[จังหวัดมหาสารคาม]]
'''อำเภอนาดูน''' เป็นอำเภอหนึ่งของ[[จังหวัดมหาสารคาม]]

== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
อำเภอนาดูนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
* '''ทิศเหนือ''' ติดต่อกับ[[อำเภอวาปีปทุม]]
* '''ทิศตะวันออก''' ติดต่อกับอำเภอวาปีปทุม และ[[อำเภอปทุมรัตต์]] ([[จังหวัดร้อยเอ็ด]])
* '''ทิศใต้''' ติดต่อกับอำเภอปทุมรัตต์ (จังหวัดร้อยเอ็ด) [[อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย]] และ[[อำเภอยางสีสุราช]]
* '''ทิศตะวันตก''' ติดต่อกับอำเภอยางสีสุราชและ[[อำเภอนาเชือก]]

== การปกครองส่วนภูมิภาค ==
อำเภอนาดูนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 [[ตำบล]] 94 [[หมู่บ้าน]] ได้แก่
{|
|-
||1.||นาดูน || ||(Na Dun) || ||10 หมู่บ้าน|| || || || || 6.||หัวดง|| || (Hua Dong) || ||15 หมู่บ้าน
|-
||2.||หนองไผ่|| || (Nong Phai) || ||8 หมู่บ้าน|| || || || ||7.||ดงยาง|| || (Dong Yang) || ||11 หมู่บ้าน
|-
||3.||หนองคู || ||(Nong Khu) || ||14 หมู่บ้าน|| || || || ||8.||กู่สันตรัตน์|| || (Ku Santarat) || ||9 หมู่บ้าน
|-
||4.||ดงบัง|| || (Dong Bang) || ||9 หมู่บ้าน|| || || || ||9.||พระธาตุ|| || (Phra That) || ||8 หมู่บ้าน
|-
||5.||ดงดวน|| || (Dong Duan) || ||10 หมู่บ้าน||
|}

== การปกครองส่วนท้องถิ่น ==
ท้องที่อำเภอนาดูนประกอบด้วย[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]] 9 แห่ง ได้แก่
* '''เทศบาลตำบลนาดูน''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาดูนทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลพระธาตุ
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่ทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคู''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองคูทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงบังทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลดงดวน''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงดวนทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวดงทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลดงยาง''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงยางทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลกู่สันตรัตน์''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกู่สันตรัตน์ทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระธาตุ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาดูน)

== ลักษณะภูมิประเทศ ==
ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของอำเภอนาดูนเป็นที่ราบลูกคลื่นสลับกันไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีป่าไม้เบญจพรรณเหลือบ้างเล็กน้อยทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ในฤดูแล้งเก็บน้ำไม่อยู่ บางแห่งจะมีดินเกลือปะปนซึ่งมีมากทางทิศตะวันออกและทิศใต้

== ลักษณะภูมิอากาศ ==
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุม ฤดูฝนมีน้ำเฉลี่ยต่อปีน้อย ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด

== การคมนาคม ==
การคมนาคมสามารถเดินทางไปติดต่อกับหมู่บ้านอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวกโดยทางรถยนต์ซึ่งมีถนนลาดยางตัดผ่านหลายสาย นอกจากนั้นยังมีถนนลูกรังเชื่อมต่อหมู่บ้านและต่างอำเภอไปมาสะดวกตลอดปี


== ประวัติอำเภอนาดูน ==
== ประวัติอำเภอนาดูน ==
บรรทัด 35: บรรทัด 78:
5. นายบุญเถิง แพนลิ้นฟ้า บริจากที่ดิน 6 แปลง รวมประมาณ 10 ไร่นอกจากนั้นเป็นที่สาธารณะเลี้ยงสัตว์
5. นายบุญเถิง แพนลิ้นฟ้า บริจากที่ดิน 6 แปลง รวมประมาณ 10 ไร่นอกจากนั้นเป็นที่สาธารณะเลี้ยงสัตว์
</nowiki>
</nowiki>

== คำขวัญประจำอำเภอนาดูน ==
<nowiki>พระธาตุนาดูน ศูนย์รวมจิตใจ น้ำดูนใสศักดิ์สิทธิ์ วิจิตรสวนวลัยรุกขเวช เขตปรางค์กู่สันตรัตน์คู่เมือง ลือเลื่องอารยธรรมจัมปาศรี</nowiki>


== อำเภอนาดูน แบ่งเขตการปกครอง ==
== อำเภอนาดูน แบ่งเขตการปกครอง ==
บรรทัด 55: บรรทัด 95:
กิ่งอำเภอนาดูนได้ยกฐานะเป้นอำเภอนาดูน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2522
กิ่งอำเภอนาดูนได้ยกฐานะเป้นอำเภอนาดูน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2522
ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 90 หมู่บ้าน
ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 90 หมู่บ้าน

== อาณาเขตอำเภอนาดุนมีอานาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้ ==
1. ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
2. ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนาเชือก และอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
3.ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
4. ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
== ลักษณะภูมิประเทศ ==
ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของอำเภอนาดูนเป็นที่ราบลูกคลื่นสลับกันไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน
มีป่าไม้เบญจพรรณ เหลือบ้างเล็กน้อยทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ในฤดูแล้งเก็บน้ำไม่อยู่ บางแห่งจะมีดินเกลือปะปน
ซึ่งมีมากทางทิศตะวันออกและทิศใต้
== ลักษณะภูมิอากาศ ==
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุม ฤดูฝนมีน้ำเฉลี่ยต่อปีน้อย
ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด
<nowiki>ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพกสิกรรมเป็นหลักได้แก่ การทำนาซึ่งอาศัยน้ำฝน ไม่มีชลประทาน
<nowiki>ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพกสิกรรมเป็นหลักได้แก่ การทำนาซึ่งอาศัยน้ำฝน ไม่มีชลประทาน
หรือแหล่งน้ำใหญ่ในการเพาะปลูกการทำไร่มันสำปะหลัง การทำไร่อ้อย การเลี้ยงสัตว์
หรือแหล่งน้ำใหญ่ในการเพาะปลูกการทำไร่มันสำปะหลัง การทำไร่อ้อย การเลี้ยงสัตว์
บรรทัด 73: บรรทัด 101:
ได้แก่ การเจียรไนพลอย การเย็บผ้า และอื่นๆ</nowiki>
ได้แก่ การเจียรไนพลอย การเย็บผ้า และอื่นๆ</nowiki>


== การคมนาคม ==
การคมนาคมสามารถเดินทางไปติดต่อกับหมู่บ้านอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ได้สะดวกโดยทางรถยนต์
จักรยานยนต์ ซึ่งมีถนนลาดยางตัดผ่านหลายสาย นอกจากนั้นยังมีถนนลูกรังเชื่อมต่อหมู่บ้านและต่างอำเภอ
ไปมาสะดวกตลอดปี
== ศิลปวัฒนธรรม ==
== ศิลปวัฒนธรรม ==
ชาวนาดูน มีลักษณะนิสัยจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกันฉันพี่น้อง รักความสงบ
ชาวนาดูน มีลักษณะนิสัยจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกันฉันพี่น้อง รักความสงบ
บรรทัด 257: บรรทัด 281:
</nowiki>
</nowiki>

== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
อำเภอนาดูน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
* '''ทิศเหนือ''' ติดต่อกับ[[อำเภอวาปีปทุม]]
* '''ทิศตะวันออก''' ติดต่อกับ[[อำเภอปทุมรัตต์]] ([[จังหวัดร้อยเอ็ด]]) และ[[อำเภอวาปีปทุม]]
* '''ทิศใต้''' ติดต่อกับ[[อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย]] และ[[อำเภอยางสีสุราช]]
* '''ทิศตะวันตก''' ติดต่อกับ[[อำเภอนาเชือก]]

== การปกครองส่วนภูมิภาค ==
อำเภอนาดูน แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 [[ตำบล]] 94 [[หมู่บ้าน]] ได้แก่
{|
|- valign=top
||
{|
||1.||นาดูน (Na Dun) || ||10 หมู่บ้าน|| || || || || || ||6.||หัวดง (Hua Dong) || ||15 หมู่บ้าน
|-
||2.||หนองไผ่ (Nong Phai) || ||8 หมู่บ้าน|| || || || || || ||7.||ดงยาง (Dong Yang) || ||11 หมู่บ้าน
|-
||3.||หนองคู (Nong Khu) || ||14 หมู่บ้าน|| || || || || || ||8.||กู่สันตรัตน์ (Ku Santarat) || ||9 หมู่บ้าน
|-
||4.||ดงบัง (Dong Bang) || ||9 หมู่บ้าน|| || || || || || ||9.||พระธาตุ (Phra That) || ||8 หมู่บ้าน
|-
||5.||ดงดวน (Dong Duan) || ||10 หมู่บ้าน||
|}
||&nbsp;
|}

{{อำเภอจังหวัดมหาสารคาม}}
{{อำเภอจังหวัดมหาสารคาม}}
[[หมวดหมู่:อำเภอในจังหวัดมหาสารคาม|นาดูน]]
[[หมวดหมู่:อำเภอในจังหวัดมหาสารคาม|นาดูน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:49, 25 พฤษภาคม 2551

อำเภอนาดูน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Na Dun
คำขวัญ: 
พระธาตุนาดูน ศูนย์รวมจิตใจ น้ำดูนใสศักดิ์สิทธิ์ วิจิตรสวนวลัยรุกขเวช เขตปรางค์กู่สันตรัตน์คู่เมือง ลือเลื่องอารยธรรมจัมปาศรี
พิกัด: แม่แบบ:Coor dms
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด248.449 ตร.กม. (95.927 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2550)
 • ทั้งหมด36,559 คน
 • ความหนาแน่น147 คน/ตร.กม. (380 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 44180
รหัสภูมิศาสตร์4410
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนาดูน หมู่ที่ 6 ถนนกลางเมือง ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 44180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอนาดูน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอนาดูนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอนาดูนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 94 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นาดูน (Na Dun) 10 หมู่บ้าน 6. หัวดง (Hua Dong) 15 หมู่บ้าน
2. หนองไผ่ (Nong Phai) 8 หมู่บ้าน 7. ดงยาง (Dong Yang) 11 หมู่บ้าน
3. หนองคู (Nong Khu) 14 หมู่บ้าน 8. กู่สันตรัตน์ (Ku Santarat) 9 หมู่บ้าน
4. ดงบัง (Dong Bang) 9 หมู่บ้าน 9. พระธาตุ (Phra That) 8 หมู่บ้าน
5. ดงดวน (Dong Duan) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอนาดูนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนาดูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาดูนทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลพระธาตุ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองคูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงบังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงดวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงดวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกู่สันตรัตน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกู่สันตรัตน์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระธาตุ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาดูน)

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของอำเภอนาดูนเป็นที่ราบลูกคลื่นสลับกันไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีป่าไม้เบญจพรรณเหลือบ้างเล็กน้อยทางทิศเหนือและทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ในฤดูแล้งเก็บน้ำไม่อยู่ บางแห่งจะมีดินเกลือปะปนซึ่งมีมากทางทิศตะวันออกและทิศใต้

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุม ฤดูฝนมีน้ำเฉลี่ยต่อปีน้อย ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด

การคมนาคม

การคมนาคมสามารถเดินทางไปติดต่อกับหมู่บ้านอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวกโดยทางรถยนต์ซึ่งมีถนนลาดยางตัดผ่านหลายสาย นอกจากนั้นยังมีถนนลูกรังเชื่อมต่อหมู่บ้านและต่างอำเภอไปมาสะดวกตลอดปี

ประวัติอำเภอนาดูน

ดงน้ำดูนเป็นแหล่งชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด บรรดานายพรานทั้งหลายมักจะไปล่าสัตว์ที่ดงน้ำดูนอยู่เสมอ เห็นเป็นทำเลอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะ สร้างถิ่นฐานได้ จึงได้นำพาลูกหลานไปสร้างบ้านเรือนอยู่ ณ ที่ดงน้ำดูนแห่งนี้ บรรดาบรรพบุรุพผู้มายึดดงน้ำดูนเป็นแหล่งทำมาหากินสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย แบ่งออกเป็น 4 สาย คือล่ามแขก หมื่นย้าย ขุนสเนิน พรานจ๊อก พรานอ๊อด ย้ายมาจาก บ้านทันใหญ่ อำเภอกมลไสย จังหวัดกาฬสิทธิ์( ปีเวียงจันแตก 2321 ) ได้มาล่าสัตว์ที่ดงน้ำดูน และได้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านโนนส้มกบแล้วจึงทะยอยเข้าไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านนาดูน ต่อมาได้ย้ายกลับไปอยู่บ้านยาง ใกล้บ้านตากแดดหัวโทน จังหวัดร้อยเอ้ดเฒ่าเมืองจันแป้ เฒ่าขุนบรรเทา เฒ่าพระโบฮานย้ายมาจากอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองแฮดเฒ่าเซียงจำปา หรือบัวลา กอมาตย์ ย้ายมาจากบ้านเหนือหลุมเลา เมืองเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ้ด ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ดงน้ำดูนแต่อยู่ได้ไม่นานก็ย้ายกลับบ้านเหนือหลุมเลาตามเดิม.พรานใต้ (ศรีจันทร์ ) พรานทินวงศ์ เดิมอยู่บ้านทองหลาง ( ดงใหญ่ ) อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ได้นำพาลูกหลานมาตั้งบ้านเลือน อยู่บ้านนาดูน ปกครองลูกหลานเลื่อยมา แต่พรานใต้ไม่ได้เป็นตาแสง ผุ้ได้เป็นตาแสง ( กำนัน ) คือ ตาแสงแหมบ ( ก่ำ ) ต่อจากนั้นก้มีตาแสงสืบต่อมา คือ ตาแสงแก้ว หรือหานตองติว ตาแสงสุโพ และขุนผดุง ( เซียงหนู ) ปัดตายะโส นับตั้งแต่ขุนผดุง เริ่มมีนามสกุล จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าบรรพบุรุพที่มาตั้งบ้านเรือนอยุ่ที่ดงน้ำดูนหรือหนองดูนนั้น ล้วนแต่มีเชื้อสายเป็นนายพรานโดยยึดดงน้ำดูนเป็นแหล่งทำมาหากิน และอาสัยหนองน้ำดูนเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ลูกหลานที่สืบเชื่อสายนามสกุลอยู่ในปัจจุบันได้แก่โคตรล่ามแขก ศรีจันทร์ กอบมาตย์ ปัดตายะโส เป็นต้น หนองน้ำดูน หรือหนองดูนปัจจุบันอยู่ทางทิศเหนือของบ้านนาดูน ด้วยอาศัยหนองดูนแห่งนี้เองจึงได้เรียกชื่อบ้านว่า บ้านหนองดูนหรือบ้านนาดูน ในการต่อมา(จากคำบอกเล่าของนายสุ่ย ปัดตาเนย์ ( อายุ92 ปี=2539 )(นายวีรพงษ์ สิงห์บัญชา ผู้สัมภาษณ์ เมื่อ พ.ศ. 2526 )อำเภอนาดูน เดิมเป็นหมู่บ้านที่ได้ยกฐานะให้เป็นตำบล มีชื่อว่า " ตำบลนาดูน" อยู่ในความปกครองของอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ตั้งห่างจากตัวจังหวัดมหาสารคามไปทางทิศใต้ประมาณ 65 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวอำเภอวาปีปทุม ไปทางทิศใต้ประมาณ 26 กิโลเมตร การเดินทางไปติดต่อราชการของประชาชน ไปมายากลำบากมาก เนื่องจากระยะทางไกล การคมนาคมไม่สะดวก ต้องเดินทางด้วยเท้า ใช้สัตว์ หรือใช้ล้อเกวียน เป็นพาหนะ ประกอบกับมีป่าไม้เกิดขึ้นหนาแน่น เป็นที่หลบซ่อนของโจรผู้ร้าย โดยเพาะโจรปล้นทรัพย์สินมีชุกชุมมาก ด้วยสาเหตุดังกล่าวประชาชนชาวตำบลนาดูน จึงได้ปรึกษาหารึอกันทำเรื่องราวขอยกฐานะตำบลนาดูนขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาดูน โดยมอบให้คณะทำงาน ตามรายชื่อต่อไปนี้ 1. พระครูมานิตปฏิภาน เจ้าคณะอำเภอวาปีปทุม 2. นายทองจันทร์ ปักกัตตัง กำนันตำบลนาดูน 3. นายสุ่ย ปัตตาเนย์ ผู้ใหญ่บ้านหนองโง้ง 4. นายเหลือ ปัตตาลาคะ 5. นายหนูจันทร์ โฮมละคร 6. นายสุชาติ ประทุมขำ ครูใหญ่มัธยมต้นนาดูนเป็นเลขานุการปี พ.ศ. 2508 คณะทำงานได้ทำเรื่องราวขอยกฐานะตำบลนาดูนขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาดูน ยื่นต่อนายเกษมศักดิ์ มหาปรีชาวงศ์ นายอำเภอวาปีปทุมผ่านไปยังกระทรวงมหาดไทย และได้จัดหาที่ดินสำหรับปลูกสร้าง สถานที่ส่วนราชการได้จำนวน 502 ไร่ โดยมีผู้บริจากที่ดินดังนี้ 1 .นายบุ่น บุดทะสี บริจากประมาณ 14 ไร่ 2. นายแดง พานิชย์ บริจากประมาณ 15 ไร่ 3. นายบา อนุศิริ บริจากประมาณ 15 ไร่ 4. นายหนูจันทร์ โฮมละคร บริจากประมาณ 10 ไร่ 5. นายบุญเถิง แพนลิ้นฟ้า บริจากที่ดิน 6 แปลง รวมประมาณ 10 ไร่นอกจากนั้นเป็นที่สาธารณะเลี้ยงสัตว์

อำเภอนาดูน แบ่งเขตการปกครอง

ตำบลนาดูนได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาดูนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2512 มีตำบลเข้าร่วมจัดตั้งครั้งแรก 4 ตำบล โดยแยกมาจากอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 3 ตำบล คือ 1. ตำบลนาดูน 2. ตำบลหนองไผ่ 3. ตำบลหนองคู และ 4. ตำบลดงบัง แยกมาจากตำบลภารแอ่น อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ต่อมาได้แยกจัดตั้งตำบลขึ้นอีก 5 ตำบล ตาม ลำดับ ดังนี้ 1. ตำบลดงดวน แยกหมู่บ้านมาจากตำบลนาดูน ส่วนหนึ่งและหมู่บ้านในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อีกส่วนหนึ่ง 2. ตำบลหัวดง แยกหมู่บ้านมาจากตำบลดงบัง ส่วนหนึ่งและตำบลดงดวนอีกส่วนหนึ่ง 3. ตำบลดงยาง แยกหมู่บ้านมาจากตำบลหนองคูส่วนหนึ่ง ตำบลนาดูนส่วนหนึ่ง และตำบลหนองไผ่ อีกส่วนหนึ่ง 4. ตำบลกู่สันตรัตน์ แยกหมู่บ้านมาจากตำบลนาดูนส่วนหนึ่งและตำบลหนองไผ่อีกส่วนหนึ่ง 5. ตำบลพระธาตุ แยกหมู่บ้านมาจากตำบลกู่สันตรัตน์ส่วนหนึ่ง และตำบลดงบังอีกส่วนหนึ่ง กิ่งอำเภอนาดูนได้ยกฐานะเป้นอำเภอนาดูน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2522 ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 90 หมู่บ้าน

ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพกสิกรรมเป็นหลักได้แก่ การทำนาซึ่งอาศัยน้ำฝน ไม่มีชลประทาน หรือแหล่งน้ำใหญ่ในการเพาะปลูกการทำไร่มันสำปะหลัง การทำไร่อ้อย การเลี้ยงสัตว์ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น นอกจากนั้นก็มี การประกอบอาชีพค้าขาย การอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน ได้แก่ การเจียรไนพลอย การเย็บผ้า และอื่นๆ

ศิลปวัฒนธรรม

ชาวนาดูน มีลักษณะนิสัยจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกันฉันพี่น้อง รักความสงบ ชอบทำบุญทำกุศล ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม เป็นผู้ร่ำรวยด้วยวัฒนธรรม หมั่นทำบุญตามประเพณี 12 เดือน ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า ฮีตสิบสอง โดยเฉพาะความเชื่อความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และนิยมศิลปะวัฒนธรรมการละเล่นพื้นเมืองได้แก่ หมอลำหมู่ หมอลำกลอน หมอลำเพลิน ฯลฯ เช่นเดียวกับชาวอีสานทั่วไป

ศูนย์กลางทางศาสนา

จากจารึกที่พบจากศาลานางขาวตอนหนึ่งระบุนามกษัตริย์ว่า "....กมรเตงอัญศรีชัยพร ( ห ) มเทพ " ( อำไพ คำโท 2524 : 2 ) พระนามนี้แสดงถึงอิทธิพล หรือเป็นกษัตริย์ที่ยอมรับทั้งพราหมณ์และพุทธแบบมหายาน ดินแดนอีสานในสมัยนั้นได้รับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไศวนิกาย (นับถือศิวลึงก์) ได้ผ่านเข้ามาทางอาณาจักรเจนละโดยเฉพาะในสมัยของ พระเจ้าเฆนทรวรมัน (เจ้าชายจิตรเสน) ส่วนพุทธศาสนาแบบมหายาน ได้ผ่านเข้ามาทางภาคกลางของประเทศไทย จากหลักฐานทางโบราณคดีของเมืองนครจัมปาศรี ที่ปรากฏในเขตอำเภอนาดูน ปัจจุบัน เช่น กู่สันตรัตน์ กู่น้อย ศาลานางขาว พระพิมพ์ดินเผา สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตลอดจนบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ที่สำคัญทางศาสนา โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา

การเกิดเมืองโบราณของเมืองนครจัมปาศรี

มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคอีสาน มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ตามเพิงผาตามถ้ำและบริเวณใกล้ริมแม่น้ำ เช่น แถบอำเภอบ้านผือจังหวัดอุดรธานี และตามหน้าผาตามริมแม่น้ำโขง เช่น ผาแต้มที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น ในการดำรงชีวิตชุมชนต่างๆ เหล่านี้อาศัยธรรมชาติเป็นสำคัญ เช่น การล่าสัตว์ จับปลา เก็บของป่าเป็นอาหาร บางท่านจึงเรียกสังคมในยุคแรกเริ่มนี้ว่าสังคมล่าสัตว์ (ไพฑูรย์ มีกุสล : 124-125 ) จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงและแหล่งอื่น ๆ ในอีสานทำให้เราทราบว่า เมื่อประมาณ 5,600 ปี มาแล้ว ชุมชนในอีสานได้อพยพจากที่สูงตามเพิงผา ลงมาอยู่บริเวณที่ต่ำ เช่นที่บ้านเชียง บ้านนาดีในจังหวัดอุดรธานี และที่บ้านโนนนกทาบ้านโนนชัย จังหวัดขอนแก่นชุมชนเหล่านี้ได้พัฒนาตนเอง เป็นชุมชนแบบเกษตรกรรม มีการปลูกพืช เลี้งสัตว์ รู่จักการทำเครื่องปั้นดินเผา การหล่อสำริตและเหล็กตามลำดับซุ่งนับว่าเป็นหัวเหลียวหัวต่อของยุคประวัติศาสคร์ และเริ่มก่อรูปกายเป็นเมืองในเวลาต่อมาสังคมโบราณก่อนประวัติศาสคร์ มีความเป็นอยู่แต่ละกลุ่มแต่ละเผ่าเป็นอิสระ มีความเชื่อทางศาสนาเป็นของกลุ่มตน ไม่ยอมรับความเชื่อจาก คนเผ่าอื่นๆอย่างง่ายๆ ต่อมา ได้เกิดความจำเป็นในการคบค้าสมาคม เพื่อการรำดงชีววิตที่สะดวกและดีขึ้น จึงมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของที่หายากระหว่างกลุ่ม บางกลุ่มมีการแก้ปัญหาโดยการแต่งงานกัน แต่ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และศาสนา ยังเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม เมื่อหลายๆกลุ่มเกิดเป็นพันธมิตรกัน จึงทำให้ชุมชนดังกล่าวหันหน้ามาร่วมมือกันสร้างที่อยู่อาศัยให้กว้างขวางใหญ่โตและกายเป็นสังคมเมือง มีการยอมรับในผู้นำที่มีความสามารถ โดยมีศาสานาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเมืองการปกครองการพัฒนาของชุมชนเกษตรกรรมมาเป็ฯชุมชนแบบเมืองในภาคอีสาน รวมทั้งเอเซียอาคเนย์นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า ได้เริ่มขึ้นในดินแดน แถบนี้ โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจากอินเดียและจีน โดยฉพาะอิทธิพลทางด้านศาสนาจากอินเดีย ยังผลให้ชุมชนในดินแดนต่างๆ ได้ก่อตั้งเป็นเมืองหรือเป็ฯรัฐเล็กๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา เช่น ฟูนัน จัมปา เจนละ เป็นต้น รัฐเหล่านี้ได้สถาปนาระบบกษัริต์ และพิธีกรรมต่างๆ ในราชสำนัก โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี การได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย จึงเป็ฯการพัฒนาตนเองให้เจริญตามลำดับทั้งในด้านจิตใจและวัตถุ ซึ่งเป็นการพัฒนาสู่ขั้นอารยธรรมสร้างปราสาทที่อยู่ของกษัริต์ เจ้าผ ู้ครองเมืองได้สร้างเมืองล้อมรอบด้วยคูน้ำและป้อมปราการสร้างปราสาทเป็นที่อยู่ของกษัริต์ พระราชวงค์ และพระเจ้า โดยมีพราหมณ์ปุโรหิตอาศัยอยู่อีกส่วนหนึ่ง ในหัวเมือง หรือนคร ชุมชนมนอีสานได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย โดยผ่านขึ้นมาตามลำน้ำโขง ( อาณาจักรเจนละ ) และจากภาคกลางของประเทศไทย ( อาณาจักรทวารวดี ) (ไพฑูรย์ มีกุสล 2529 : 127 ) ดังนั้น เมืองใดที่อยู่ริมฝั่งทะเลย่อมได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมได้เร็วกว่า ส่วนเมืองในบันดน ยุคแรกๆ ของอีสานซึ่งอยู่ลึก เข้าไปจะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมช้ากว่า ดังปรากฎหลักฐานใหเห็นถึงภาพความเจริญรุ่งเรืองของเมืองโบราณ เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยางและนครจัมปาศรี โดยเฉพาะเมือง นครจัมปาศรี อันเป็ฯที่ตั้งอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบันได้ปรากฎหลักฐานที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัคถุ ตลอดจนมีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผ าและสถูปบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ อันแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านการเมือง และเจริญในทางพระพุทธศาสนาอย่างถึงที่สุด

บ่อน้ำศักสิทธิ์

ประวัติบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บ่อน้ำศักดิ์สิทธ์ หรือหนองดูน ตั้งอยู่บริเวณที่ลุ่มกลางนาของนายก้าน ปัจจัยโก ราษฎร์บ้านหนองโง้ง หมู่ที่ 2 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากที่ตั้งอำเภอนาดุนไปทางทิศเหนือ ประมาณ 3 กิโลเมตร นายสุ่ย ปัตตาเนย์ อายุ 81 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านหนองโง้ง เล่าว่า ( สุ่ย ปัตตาเนย์ : 2529 ) แต่เดิมทุ่งดูน เป็นป่าดงมีต้นไม้หนาแน่น มีสัตว์ป่า เช่น เสือ ช้าง หมี หมูป่า กระทิง แรด สัตว์ป่าเหล่านั้นได้อาศัยน้ำในหนองดูนยังชีพ ดังนั้นบริเวณหนองดูนจึงเป็นที่ล่าสัตว์ ของ นายพราน ต่อมาเห็นว่าเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์จึงมีผู้มาตั้งบ้านเรือนขึ้นบริเวณใกล้ๆ หนองดังกล่าว และตั้งชื่อว่า " บ้านนาดูน " นายก้าน ปัจจัยโก อายุ 75 ปี ชาวของที่นาเล่าว่า ( ก้าน ปัจจัยโก : 2529 ) ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นน้ำดูนแล้ว เคยไปเฝ้าดูการไหลซึมของน้ำ และเห็นการไหลซึมของน้ำมากกว่าปกติ ในวันโกนและวันพระ ( ขึ้นแรม7 , 8 และ 14 , 15 ค่ำ ) และบริเวรหนองดูนแห่งนี้ได้มีน้ำไหลซึมตลอดปีจึงเป็นแหล่งน้ำดื่มของคนระแวกนั้น ตลอดจนสัตว์ เลี้ยงประกอบกับบริเวณใกล้เคียงกับหนองดูนเป็นที่ราบสลับกับเนินดิน บริเวณเหล่านี้ได้มีการขุดพบโบราณวัตถุ เศษกระเบื้อง ไห พระพิมพ์ดินเผา และ สำริตเป็น จำนวนมาก โดยเฉพาะเนินดินทิศใต้ของหนองดูน เป็นป่ารกมีต้นประดู่ใหญ่ ใช้เป็นที่ตั้งศาลพระภูมิของหมู่บ้าน ซึ่งมีการทำบุญเลี้ยงเจ้าที่เจ้าทา ง เป็น ประจำทุกปี เรียกว่าบุญหนองดุน ชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่าบริเวณหนองดูนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เวลาผ่านไปมาจะต้องบอกกล่าว มิฉะนั้นจะได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บลงได้ เจ้าคุณพระอริยานุวัตร เขมะจารี รองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคามกล่าวว่า ( พระยาอริยานุวัตร 2530 : 1 ) เมื่อ พ.ศ.2468 กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้หัวเมือง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดหาน้ำในสระมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ จัดส่งไปร่วมงานมหามังคลาภิเษกในพระราชพิธีรัชมหามงคลบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเสวยราชย์ ในส่วนของจังหวัดมหาสารคาม พระยาสารคามคณาภิบาล ( อนงค์ พฆัคฆันต ) ผู้ว่าราชการจังหวัด มหาสารคามในขณะนั้น ได้สั่งการให้รอง อำหมาดเอกหลวงพิทักษ์นรากรนายอำเภอวาปีปทุม เป็นผู้จัดหาน้ำมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ โดยได้จัดประชุมราชการตลอดจนผู้เฒ่า ผู้แก่ลงความเห็นให้นำน้ำจากหนองดูนและนำน้ำจากกุดฟ้าฮ่วน ( อยู่ห่างจากกู่สันตรัตน์ ประมาณ 1 กม. ) ไปมอบให้พระยาสารคามคณาภิบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด มหาสารคาม เพื่อส่งไปยังสมุหาเทศาภิบาลร้อยเอ็ด และกรุงเทพต่อไป ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ( 5 ธันวาคม 2530 ) กระทรวงมหาดไทยให้จังหวัดมหาสารคาม นำน้ำจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือน้ำที่เป็นเส้นชีพของจังหวัด เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นน้ำอภิเษกเสด็จออกมหาสารคาม ในพระราชพิธมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 5 รอบ ณ มณฑลท้อง สนามหลวง นายไสวพราหมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายเอกสิทธิ์ บุตรคล้าย นายอำเภอนาดูน ได้เลือกเอาน้ำจากหนองดูนแห่งนี้ส่งเข้าทูลเกล้า ฯ ในพระราชพิธีดังกล่าว โดยได้ประกอบพิธีพลีกรรมน้ำศักดิ์สิทธิ์ในวันพุธ ที่ 4 พฤสจิกายน 2530 เวลา 09.00 น. แล้วนำไปพักไว้ที่พักอุโบสถชัย จังหวัดมหาสารคาม ก่อนที่จะส่งไปยังกระทรวง มหาดไทยเมื่อเข้าร่วมพิธีกรรมต่อไป ส่วนในด้านความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำหนองดูนนั้น เมื่อปี พ.ศ.2494 ประชาชนได้ลือกันโดยทั่วไปว่า ถ้าใครเป็นโรคง่อยเปลี้ยเสียขาหากใช้น้ำจากสระหนองดูนไปอาบกินจะหายเป็นปกติหรือโรคในท้องในใส้ ปวดหัว เวียนศรีษะก็จะหายเช่นกัน จึงมีประชาชนจากอำเภอและจังหวัดทีใกล้เคียงมาตักน้ำดูนไปรักษาโรคเป็น จำนวนมาก ทางอำเภอวาปีปทุม ( ขณะนั้นตำบลนาดูนขึ้นอยู่กับอำเภอวาปีปทุม ) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ของอำเภอ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไปรัการความปลอดภัยเป็นเวลา เดือน เศษ จนน้ำดูนแห้งขอด และไหลช้าลงตามลำดับ บางพวกที่อยู่ไกลๆมารอเอาน้ำดูน 2 ถึง 3 วัน จึงได้เต็มขวดก็มี ( พระอริยานุวัตร 2530 : 2 )

คำกล่าวนมัสการพระธาตุนาดูน

......อะตีเตกิระ .......จัมปาสีนะคะเร สัมมาสัมพุทธะ .......สารีริกธาตุ นาตะละนามัง .........นะคะระฐาเนวะ มะหาสารัคามัง .......นะคะระสีมัง ปัจจุบันนัญจะ .........สิระสานะมามิ(สิระสานะมามะ) ..............<< คำแปล >> .......ข้าพเจ้า (ข้าพเจ้าทั้งหลาย ) ขอนอบน้อมนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเล่ากันว่าประดิษฐานอยู่ ณ นครจัมปาศรีในปางอดีตแล้ว กลับกลายมาเป็นที่ตั้งเมืองนาดูน เขตจังหวัดมหาสารคามในปัจจุบัน ........... >> ด้วยเศียรเกล้า <<

พระธาตุนาดูน

ลักษณะโครงสร้างพระธาตุนาดู

รูปลักษณะพระธาตุนาดูน จำลองแบบจากสถูปสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานประยุกต์แบบศิลปทวาราวดี ฐานกว้าง 35.70 * 35.70 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอด 50.50 เมตร ฐานรากและโครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งหมด ผนังภายนอกพระธาตุส่วนใหญ่ทำด้วยหินล้างเบอร์ 4 บางแห่งฉาบปูนเรียบสีขาว มีลวดลายลวดบัว เสาบัวต่าง ๆ จำลองแบบ พระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ ที่ขุดพบมาประดิษฐานพระธาตุจำนวน 32 รูป และมีมารแบกปั้นเป็นแบบนูนสูงประดับที่ฐาน จำนวน 40 ตัว ตัวองค์พระธาตุจะแบ่งออกเป็น 16 ชั้น ลักษณะการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ภายในโปร่ง จากฐานรากขึ้นไปชั้นที่ 1 สูง 3.7 เมตร ชั้นที่ 1 คือฐานรากมีจำนวนฐานททั้งหมด 105 ฐาน มีเสาขึ้นจากฐานทั้งหมด 144 ต้น ส่วนฐานที่เป็นองค์พระธาตุมีลักษณะกลม มีเสาทั้งหมด 16 ต้น ชั้นที่ 1 มีพื้นทางเดินโดยรอบ และมีซุ้มประตูลายปูนปั้น 4 ประตูประจำทิศ ผนังประดับด้วยกระเบื้องด่านเกวียนศิลปะของ ภาคอีสาน พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 2 สูงจากชั้นที่หนึ่ง 5.00 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 86 ต้น มีพื้นที่โดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเหนือ ทั้ง 4 และพระพุทธรูปประจำซุ้ม 4 องค์ ผนังประกอบด้วยปูนปั้นเป็นรูปเสามีบัวเหนือเสา พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไป ทำด้วยหินล้างและประดับกระเบื้องด่านเกวียน ชั้นที่ 3 สูงจากชั้นที่สอง 4.80 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 44 ต้น มีพื้นโดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียง 4 องค์ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 พื้นปูด้วยกระเบื้อง เซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 4 สูงจากชั้นที่สาม 1.60 เมตร ประกอบด้วยฐาน 8 เหลี่ยม เป็นชั้นเริ่มต้นของ ตัวองค์พระธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 24 ต้น ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 5 สูงจากชั้นที่สาม 1.00 เมตร ประกอบด้วยฐานบัวกลม โครงสร้างประกอบ ด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น ผิวภายนอกทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 10มีความสูง 11.00 เมตรเป็นตัวองค์ระฆังของพระธาตุโดยเฉพาะชั้นที่ 8 จะเป็นชั้นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น จนถึงชั้นที่ 9 ชั้นที่ 10 ลดเหลือเสา 9 ต้น ลักษณะองค์ระฆังภายนอกทำด้วยหินล้างทั้งหมด เป็นชั้นบัลลังก์ ลักษณะโครงสร้างมีเสาทั้งหมด 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 11 ชั้นที่ 11 ถึงชั้นที่ 14 มีความสูง 4.60 เมตร เป็นชั้นบัลลังก์ประกอบด้วยลักษณะทรงกลมมีลายปูนปั้นเป็นกลีบบัว โครงสร้างประกอบด้วยเสา 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้างทั้งหมด ชั้นที่ 14 ชั้นที่14 ถึงชั้นที่ 16มีความสูง 6.80 เมตร เป็นชั้นปล้องไฉน มีทั้งหมด 6 ปล้อง โครงสร้างประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ปล้องไฉนทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 16 ถึงยอดคือปลียอด มีชั้นปลี ชั้นลูกแก้ว และะชั้นฉัตรยอด โครงสร้าง ประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ผนังผิวทำด้วย หินล้างโดยรอบ ส่วนฉัตรยอดบุด้วยโมเสกแก้วสีทอง


ประวัติพระธาตุนาดูน

ประวัติความเป็นมาของพุทธมณฑลอีสาน พระธาตุนาดูน ..........ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎร์ ท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร .ชาวจังหวัดมหาสารคาม ดำริว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดี แก่ชาวจังหวัดมหาสารคามอย่างยิ่ง สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐาน ไว้ให้ถาวรมั่นคง เป็น ปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวรศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พุทธศักราช 2525-2529 ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ อานาจักร จัมปาศรี นครโบราณของบริเวณนี้ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-16 ประกอบด้วย วัด ส่วนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็ง มีปริมณฑล 902 ไร่เศษ เจดีย์พระธาตุนาดูน มีลักษณะประยุกต์จากสถูปจำลองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับลักษณะศิลปากร แบบทวารวดีออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากรสูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 35.70 เมตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ก่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 7,580,000 บาท (เจ็ดล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ครั้นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมงกุฏราชกุมารเสด็จพรัราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุ ในองค์ เจดีย์พระธาตุนาดูนนี้

พระธาตุนาดูน

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2522 ประชาชนกลุ่มหนึ่งได้ขุดพบพระพิมพ์ดินเผาในบริเวณที่นาของ นายทองดี ปะวะภูตา ราษฎร์บ้านนาดูน ได้พระพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก ข่าวการขุดค้นพบพระพิมพ์ดินเผาได้แพร่ กระจายออกไป ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวเดินทางมา ขุดค้นอย่างมากมาย และหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้เข้ามาทำการขุดแต่งโบราณสถานตรงที่ขุดพบพระพิมพ์เพื่อรักษาสภาพสถูปองค์เดิมไว้แต่กระทำไม่สำเร็จเพราะฝูงชนจำนวน มหาสาร ได้เข้ามาแย่งชิงค้นหาพระพิมพ์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ต้องยุติการขุดแต่งและปล่อยให้ประชาชนขุดค้นหาต่อไป จนกระทั่งวันที่ 8 มิถุนายน 2522 นายบุญจันทร์ เกศแสนศรี นักการพานโรงสำนักที่ดินอำเภอนาดูน ได้ขุดค้นพบสถูปพระบรมสารีริกธาตุ ตัวสถูปทำช่วยสำริต และได้นำสถูปดังกล่าวมามอบ ให้กับอำเภอนาดูนนอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพิมพ์บางองค์ยังมีจารึกเป็นภาษาขอมโบราณและมอญโบราณ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างพระพิมพ์ดินเผาดังกล่าว รัฐบาลได้เห็ฯความสำคัญของศิลปะโบราณวัตถุเล่านี้จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยบริเวณรอบๆ องค์พระธาตุนาดูนจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมอีกทั้งยังมีการสร้างส่วนรุกขชาติ และสวนสมุนไพรตกแต่งบริเวณโดยรอบให้งดงามเหมาะสมที่จะเป็สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาอันจะเป็น "พุทธมณฑลอีสาน " ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสืบต่อไป

เริ่มก่อสร้างพระธาตุนาดูน

นับตั้งแต่ได้ขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และโบราณวัตถุต่างๆ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 และเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจภูถรอำเภอนาดูนจังหวัดมหาสารคาม เป็นเวลานานหลายปี รัฐบาล จึงได้จัดสรรงบประมาณเป็นเงิน 7,580,000 บาท เพื่อสร้างพระธาตุสำหรับบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ โดยกรมศิลปากรได้ให้ นายประเสริฐ สุนทโรวาท สถาปนิก กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ และว่าจ้าง ห้างหุ้นส่วน (จำกัด) ศิวกรก่อสร้าง เป็ฯผู้ทำการก่อสร้าง ตามสัญญาจ้างเลขที่ 14/2528 ลงวันที่ 12 กันยายน 2528 กำหนดแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 24 มกราคม 2530

ประวัติความเป็นมาของเมืองนครจัมปาศรี

ประวัติความเป็นมาของเมืองนครจัมปาศรี นครจัมปาศรีมีประวัติอันยาวนานนับเป็นพันปี และได้ถูกเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จะเนื่องจากวิกฤตการณ ์หรือเหตุผล ใดก็ ไม่อาจจะทราบได้ จะอย่างไรก็ตามก็ยังมีเค้าเงื่อนพอที่จะสอบค้นได้บ้างจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่ตั้งนครจัมปาศรี มีโบราณสถานหลายแห่ง และมีโบราณวัตถุหลากหลายชนิด สามารถสอบค้นและเปรียบเทียบอายุสมัยลักษณะเผ่าพันธุ์ ตลอดจนการดำรงชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพชนในถิ่นแถบนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นตำราเอกสารอื่นๆ พอที่จะอ้างอิงเทียบเคียงได้ด้วย จากข้อสันนิษฐานของ อาจารย์สมชาย ลำดวน ภาควิชาภาไทย และภาษาตะวันออก คณะมนุนยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) สันนิษฐานได้ว่า วัดนครจัมปาศรีมีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ด้วยกันคือ 1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ.1000-1200 2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800 นครจัมปาศรีสมัยทวารวดีมีหลักฐานชี้นำให้เห็นเด่นชัดคือ 1. หลักฐานจากพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบจากกรุต่างๆ ในเขตพื้นที่นครจัมปาศรี ทางด้านมนุษยวิทยาทางกายภาพ จะเห็นว่าลักษณะพระพักต์และพระวรกายของพระพิมพ์ เป็นชนพื้นเมืองสยามโบราณฉะนั้นคนที่เราอาศัยอยู่ในนครจัมปาศรีจึงเป็นเชื้อชาติสยามพื้นเมืองดึกดำบรรพ์ นอกจากนั้นยังสังเกตุพระพุทธศิลป์ร่วมสมัยกับพระพิมพ์ แบบพระประถมทำขึ้นประมาณ พ.ศ. 950-1250 โดยจารึกอักษรคฤนต์ หรืออักษรขอมโบราณไว้ด้วยพระพิมพ์ดินเผานาดูนปางประทานพรหรือปางทรงแสดงธรรมบางองค์ที่ ขุดพบที่กรุพระธาตุก็มีอักษรคฤนถ์ทั้งขีดและเขียนด้วยสีแดงจารึกไว้บนแผ่นหลังของพระพิมพ์เหมือนกัน อาจารย์สทชาย ลำดวน ได้เรียนถาม ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ ราชบัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คระมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) เกี่ยวกับอายุนครจัมปาศรี ว่ามีอายุเก่าแก่แค่ไหน ได้รับคำตอบว่า " อันนี้เราต้องเทียนจากศิลปะอินเดีย ก็เริ่มจากคุปตเริ่มแรก สำหรับที่นครจัมปาศรีจะมีอายุระหว่าง 900 ถึง 1800 " 2. หลักฐานทางสถูปเจดีย์ ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ กล่าวว่าเจดีย์ส่วนใหญ่ฐานนั้นจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นมาจากฐานอุบลมณฑล ซึ่งเป็นต้นแบบนิยมสร้าง กัน ในสมัยคลื่นที่ 3 ของพระพุทธศาสนา ( รุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ) ที่เข้าสู่ประเทศสยามและนครจัมปาศรีก็ได้รับอิทธฺพลศิลปวัฒนธรรมในคลื่นนี้ด้วย นครจัมปาศรีเจริญรุ่งเรืองในสมัยลพบุรี ซึ่งมีหลักฐานยืนยัน ดังนี้ 1. หลักศิลาจารึก 14 บรรทัดที่ขุดพบที่ศาลานางขาว ในเขตนครจัมปาศรี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ขอนแก่น 2. ศิลปะวัตถุต่างๆ ทั้งสมบูรณ์และแตกหักที่ขุดพบและแตกกระจายในเขตนครจัมปาศรี เช่น พระวัชรธร พระอิศวร พระนารายณ์ เศียร พระกร และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก 3. โบราณสถาน เช่น กู่สันตรัตน์ กู่น้อย และศาลานางขาว หลักศิลาจารึก ศิลปวัตถุ และโบราณสถานเหล่านี้ล้วนเป็นศิลปกรรมของขอมสมัยลพบุรีทั้งสิ้น เช่นกู่สันตรัตน์ กู่น้อย ซึ่งเป็นศิลปะแบบบายน (ศิลปแบบบายน พ.ศ. 1724-ราว พ.ศ. 1780) ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของขอมข้อมูลและหลักฐานเหล่านี้ชี้ได้ชัดเจนว่า นครจัมปาศรีได้เจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ดังที่กล่าวแล้ว พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ศูนย์วัมนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัยจังหวัดมหาสารคาม ได้เขียนประวัตินครจัมปาศรีไว้ในหนังสือที่ระลึก เนื่องในงาน ทอดกฐินพระราชทานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) มีข้อความว่า" ในปี พ.ศ. 2492 ท่านเจ้าคุณได้เดินทางไปร่วมฉลองวัด หนองทุ่ม ตำบลนาดูน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ( ตำบลนาดูนเมื่อก่อนขึ้นกับอำเภอวาปีปทุม ปัจจุบันเป็นอำเภอนาดูน ) ได้มีโยมผู้เฒ่าบ้านสระบัว อายุประมาณ 80 ปี ได้ไปร่วมฉลองวัดหนองทุ่มด้วย และได้นำหนังสือก้อม ( หนังสือใบลานขนาดสั้น ) ประวัตินครจัมปาสรี กู่สันตรัตน์ ถวายท่านเจ้าคุณ เมื่อท่านเจ้าคุณได้อ่านหนังสือก้อมแล้ว จึงได้มอบถวายพระครูอนุรักษ์บุญเกต ( เสาโสรโต ) ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลนาดูนและเป็นผู้สร้างวัดหนองทุ่ม ต่อมาพระครูอนุรักษ์บุญเขตได้มรณะภาพในปี พ.ศ. 2498 หนังสือก้อมดังกล่าวได้สูญหายไปไม่สามารถจะค้นพบได้จะอย่างไรก็ตาม ท่านเจ้าคุณก็ได้เขียนประวัตินครจัมปาศรีไว้ว่านครจัมปาศรีอยู่ในสมัยมที่ศาสนาพุทธและศษสนา พราหมณ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในประเทศนี้ บันดาหัวเมืองน้อยใหญ่ในสมัยนั้นพร้อมกันมานพน้อมเป็นบริวารและต่างก้พร้อมใจกันมาทำค่ายคูเมือง เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู และเพื่อป้องกันบ้านเมืองให้ได้รับความผาสุข ในการใ ช้ตะพัง บึง หนอง ได้สะดวกและใช้เป็นตะพังชุบศรเมื่อเกิดศึกสงคราม พระยศวรราชเจ้าผู้ครองนครจัมปาศรี อันมีพระนางยศรัศมีเป็นพระราชเทวา มีวงศ์ตระกูลมาจากกษัตริย์เจ้าจิตเสราชา บ้านเมืองขระนั้นมีความสงบสุขและศาสนาพุทธ เจริญรุ่งเรืองในช่วงนั้น มีศัตรูอยู่ทางทิศใต้คือ กษัตริย์วงศ์จะนาศะ แต่ก็ไม่สามารถเข้าทำลายได้เท่าใดนัก พระราชาผู้ครองนครจัมปาศรี ตั้งแต่พระเจ้ายศวราชมาโดยลำดับได้สร้างเทวาลัย ปางค์กู่ มีกู่สันตรัตน์ กุ่น้อย และศาลานางขาวเป็นต้น เพื่อเป็นสถานที่ศักการบูชา ในพิธีกรรมตามธรรมเนียมในศาสนาพรามณ์และศาสนาพุทธตามลำดับ นครจัมปาศรีอยู่ในยุคร่วมสมัยเดียวกับเมืองศรีโคตรบูร เมืองหนองหานหลวง เมืองหนองหานน้อย เมืองสาเกตุหรือร้อยเอ็ดประตูเมืองกุรุนทะนครหรืออโยธยา เมืองอินทปัฐนคร และเมืองจุลมณี ในพุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับราชกาลของพระเจ้าสุมินทราชหรือสุมิตตธรรมวงศาธิราชแห่งอาณาจักรโคตระบอง (ศรโคตรบูล) ได้ขยาย อาณาเขตครอบคลุมหัวเมืองน้อยใหญ่จากหนังสือพระธาตุเจดีย์วัดสำคัยและพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ด พิมพ์ไดยกระทรวงธรรมการของประเทศลาว เมื่อ พ.ศ. 2517 เรื่องประวัติพระธาตุสีโคตะบอง ในหนังสืออุรังคธาตุได้กล่าวถึงแคว้นสำคัญไว้ 7 แคว้นด้วยกันคือ 1. แคว้นศรีโคตรบูล เดิมอยู่ใต้ปากเซบั้งไฟ มีพระยาศาสีโคตรบองเป็นผู้ครอง ต่อมาได้ย้ายมาฝั่งธาตุพระพนม ณ ดง ไม้ลวกได้ให้ขื่อเมืองใหม่ว่า " มรุกขนคร " มีพระยานันทเสนเป็นผู้ครอง 2. แคว้นจุลมณี คือดินแดนแคว้นตังเกี๋ย มีพระยาจุลมณีพรหมทัตเป็นผู้ครอง 3. แคว้นหนองหานหลวง คือบริเวณที่จังหวัดสกนครมีพระยาสุรรณภิงคารเป็นผู้ครอง 4. แคว้นอินทปัฐ คือดินแดนเขมรโบราณ มีพระยาอินทปัฐเป็นผุ้ครอง 5. แคว้นหนองหานน้อย คือบริเวณอำเภอหนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีพระยาคำแดงเป็นผู้ครอง 6. แคว้นสาเกต หรือเมืองร้อยเอ็ดประตูมีพระยาสาเกตเป้นผู้ครอง(เดิมอยู่ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม)