ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:


== ข้อปฏิบัติการขอใช้ตราสัญลักษณ์และการประดับธงกับตราสัญลักษณ์ ==
== ข้อปฏิบัติการขอใช้ตราสัญลักษณ์และการประดับธงกับตราสัญลักษณ์ ==
[[ภาพ:Flag of Thailand with the flag of Rama IX's 80th birthday cerebration.JPG|thumb|200px|การประดับธงชาติไทยคู่กับธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา​ ๘๐ ​พรรษา​ ๕ ​ธันวาคม​ ​พุทธศักราช​ ๒๕๕๐]]

๑. กรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป มีความประสงค์นำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใด ๆ ก็ตาม ให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการ เพื่อพิจารณาคำขออนุญาต ([[สำนักราชเลขาธิการ]] ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. ๑๐๒๐๐ โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๓๔๕๗ – ๖๒)
๑. กรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป มีความประสงค์นำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใด ๆ ก็ตาม ให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการ เพื่อพิจารณาคำขออนุญาต ([[สำนักราชเลขาธิการ]] ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. ๑๐๒๐๐ โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๓๔๕๗ – ๖๒)



รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:47, 18 เมษายน 2551

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ออกแบบโดย นายสุเมธ พุฒพวง นักวิชาการช่างศิลป์ ๗ กลุ่มงานศิลปประยุกต์ กลุ่มจิตรกรรมศิลปประยุกต์และลายรดน้ำ กรมศิลปากร

ความหมายตราสัญลักษณ์

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙ เป็นภาพพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุณาโลม รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือวงจักรเป็นพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันหมายถึง พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มีพระบรมเดชานุภาพเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ได้ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ตามโบราณราชประเพณี และสมาชิกรัฐสภาได้ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปดเป็นครั้งแรกแทนราชบัณฑิต

ส่วนพระแท่นลานั้นโรยด้วยดอกพิกุลเงินพิกุลทอง ๙ ดอก พระราชลัญจกรล้อมรอบด้วยเพชร ๘๐ เม็ด หมายถึงพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

ด้านบนพระราชลัญจกรเป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ภายในพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นเลข ๙ หมายถึงรัชกาลที่ ๙ พระมหาพิชัยมงกุฎนั้นอยู่ด้านหน้าพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรซึ่งอยู่กึ่งกลาง และขนาบข้างด้วยพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น อันเป็นเครื่องแสดงพระราชอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์

ด้านล่างพระราชลัญจกรเป็นเลข ๘๐ หมายถึงพระองค์มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ถัดจากเลขไทยลงมาเป็นแพรแถบบอกชื่องานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ แพรแถบนอกจากบอกชื่องานพระราชพิธีแล้ว ยังรองรับประคองพระเศวตฉัตรด้วย

ข้อปฏิบัติการขอใช้ตราสัญลักษณ์และการประดับธงกับตราสัญลักษณ์

การประดับธงชาติไทยคู่กับธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา​ ๘๐ ​พรรษา​ ๕ ​ธันวาคม​ ​พุทธศักราช​ ๒๕๕๐

๑. กรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป มีความประสงค์นำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในการจัดทำสิ่งของใด ๆ ก็ตาม ให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการ เพื่อพิจารณาคำขออนุญาต (สำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. ๑๐๒๐๐ โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๓๔๕๗ – ๖๒)

๒. โครงการและกิจกรรมที่ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ จากคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ แล้ว สามารถนำตราสัญลักษณ์ไปใช้ในโครงการและกิจกรรมได้เลย โดยให้แจ้งสำนักราชเลขาธิการทราบ เพื่อรวบรวมบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ยกเว้นโครงการและกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดรายได้ จะต้องได้รับการพิจารณาจากสำนักราชเลขาธิการก่อน

๓. ให้ประดับธงชาติไทยคู่กับธงผืนผ้าสีเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์บนผืนผ้า และประดับตราสัญลักษณ์ ตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ของหน่วยงาน เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี โดยไม่ต้องขออนุญาตจากสำนักราชเลขาธิการ ทั้งนี้ ให้ประดับในระยะเวลาของการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๐

ดูเพิ่ม