ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยาส 39"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: nl:Saab JAS39 Gripen
บรรทัด 197: บรรทัด 197:
[[ja:サーブ 39 グリペン]]
[[ja:サーブ 39 グリペン]]
[[ko:사브 JAS 39 그리펜]]
[[ko:사브 JAS 39 그리펜]]
[[nl:Saab 39 Gripen]]
[[nl:Saab JAS39 Gripen]]
[[nn:Saab JAS-39 Gripen]]
[[nn:Saab JAS-39 Gripen]]
[[no:Saab 39 Gripen]]
[[no:Saab 39 Gripen]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:44, 22 มีนาคม 2551

ยาส 39

ยาส 39 กริพเพน (สวีเดน: JAS 39 Gripen) เป็นเครื่องบินรบหลากหลายภารกิจของประเทศสวีเดน ผลิตโดยบริษัทซ้าบ เข้าประจำการในสวีเดน ฮังการีและเช็ก กำลังทยอยส่งมอบให้กับแอฟริกาใต้ และมีการใช้งานใน Empire Test Pilots’ School

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 กองทัพอากาศไทยแถลงผลการดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข (เอฟ-5 B/E) ระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง ได้ตัดสินใจซื้อเครื่อง ยาส 39 กริพเพน ในวงเงินกว่า 19,000 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 โดยเครื่องบินฝูงใหม่จะประจำการที่กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี [1]


ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2525 รัฐสภาสวีเดนได้อนุมัติโครงการพัฒนาเครื่องบินรบรุ่นใหม่ ชื่อโครงการ JAS ย่อมาจาก Jakt Attack Spaning ในภาษาสวีเดนหมายถึง ต่อสู้ทางอากาศ โจมตีภาคพื้นดิน การลาดตระเวน เครื่องบินนี้จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนเป็นลำดับที่ 39 และถูกตั้งชื่อว่า "กริพเพน" ซึ่งเป็นคำสะกดของกริฟฟินในภาษาสวีเดน โดยมีกลุ่มบริษัทเข้าร่วมคือซ้าบ FFV Aerotech (ปัจจุบันคือ Aerotech Telub) วอลโว่ อิริคสัน ภายใต้การควบคุมของ FMV โดยเครื่องลำแรกบินขึ้นในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2531

ยาส 39 เป็นเครื่องบินที่มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำ คือเป็นครึ่งหนึ่งของ F-16 สามารถติดอาวุธได้หลากหลายค่ายทั้งของสหรัฐ ยุโรป หรืออิสราเอล ใช้ทางวิ่งขึ้นสั้น (800 เมตร) และสามารถบินขึ้นและลงจอดบนท้องถนนหลวงได้ ความเร็วสูงสุด 1.4 มัคที่ระดับน่ำทะเล และ 2 มัคที่ความสูงที่สูงกว่า

ระบบเรด้าร์และเครื่องยนต์

ยาส 39 ใช้เรด้าร์พิสัยไกลของ Ericsson รุ่น PS-05/A ซึ่งมีความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายได้ทั้งอากาศและพื้น ใช้เครื่องยนต์ Volvo RM12 ซึ่งปรับปรุงมาจากเครื่องยนต์ General Electric F-404-400 ที่ติดตั้งใน F/A-18 ของสหรัฐ

ระบบ Data Link

สวีเดนพัฒนาเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครื่องบินในฝูงเป็นเครือข่าย โดยติดตั้งระบบ Data link หรือระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องบินกับเครื่องบิน และเครื่องบินกับพื้นดิน ซึ่งถือเป็นเครื่องบินแบบแรกที่มีระบบนี้ โดยก่อนบินนักบินสามารถใส่โปรแกรมการบิน ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนกับทั้งเครื่องบินด้วยกันเองและภาคพื้น ในระหว่างปฏิบัติภารกิจเป็นหมู่ ยาส 39 สามารถเปิดเรด้าห์เพียงเครื่องเดียวเพื่อลดการตรวจจับแต่สามารถส่งข้อมูลของเป้าหมายให้เครื่องบินอื่น ๆ ในหมู่บินได้ ดังนั้นเครื่องบินที่ไม่ได้เปิดเรด้าห์จึงสามารถเข้าโจมตีได้โดยที่ถูกตรวจจับได้ยากและข้าศึกไม่รู้ตัว ซึ่งระบบนี้สวีเดนเป็นชาติแรกที่พัฒนาซึ่งคล้ายกับระบบที่ติดตั้งในเครื่องบิน F-22 ของสหรัฐ

ประเทศที่จัดซื้อเข้าประจำการและกำลังพิจารณา

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2538 ซ้าบและ British Aerospace (BAE Systems) ตกลงร่วมมือกันในด้านการตลาดของกริพเพนในชื่อ Gripen International และต่อมาได้ยุติความร่วมมือลง หลังจากมีผลประโยชน์ขัดกันในกรณีการเสนอกริเพนและยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่นเข้าแข่งขันพร้อมกันในออสเตรีย ทำให้ ซ้าบ กลับมาถือหุ้นทั้งหมดใน Gripen International

ณ ปัจจุบัน มีผู้ใช้ Gripen อันประกอบไปด้วย

  • ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน
    • สั่งซื้อเข้าประจำการจำนวนกว่า 200 ลำ ทั้งรุ่น เอ/บี และ ซี/ดี แต่เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้มีการลดจำนวนการประจำการลงเหลือ 100 ลำ โดยจะปรับปรุงรุ่น เอ/บี จำนวน 31 ลำให้เป็นมาตราฐาน ซี/ดี และขายเครื่องที่เหลือให้กับลูกค้าต่างประเทศที่สนใจ [2]
  • ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้
    • สั่งซื้อเข้าประจำการจำนวน 28 ลำในปี พ.ศ. 2542 โดยแอฟริกาใต้ร่วมทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องร่วมกับสวีเดน และจะเริ่มรับเครื่องในปี พ.ศ. 2551 นี้
  • ธงของประเทศฮังการี ฮังการี
    • เช่าซื้อจำนวน 14 ลำในปี พ.ศ. 2544 โดยเมื่อหมดสัญญาเช่า 10 ปีแล้ว เครื่องบินจะเป็นกรรมสิทธิของฮังการีโดยถาวร
  • ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย
    • เช่า 14 ลำในปี พ.ศ. 2547 และเช็คกำลังตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องเป็นกรรมสิทธิหลังจากหมดสัญญาเช่าในเวลา 10 ปีหรือไม่
  •  ไทย
    • กองทัพอากาศไทยสั่งซื้อจำนวน 6 ลำในล็อตแรก และจะสั่งซื้อในล็อตที่สองอีก 6 ลำ กริเพน 6 ลำแรกจะทำการส่งมอบในปี พ.ศ. 2554


สำหรับประเทศอื่น ๆ ที่สนใจนั้นมีดังนี้


  • บัลแกเรีย สนใจที่จะจัดหาจำนวน 20 เครื่องทดแทน MiG-29
  • อินเดีย มีโครงการจัดหาเครื่องบินรบ 126 ลำ แต่คาดว่ากริพเพนไม่น่าจะได้รับการคัดเลือก
  • กลุ่มประเทศบอลติก สนใจจะเช่าใช้งานจำนวน 12 เครื่อง
  • บราซิล เริ่มต้นโครงการ F-X ใหม่อีกครั้ง และคาดว่ากริพเพนจะเข้าร่วมแข่งขันด้วย
  • โครเอเซีย ต้องการเครื่องบิน 12 เครื่องตามโครงการปรับปรุงกองทัพ โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งขันกับ เอฟ-16 มือสองจากสหรัฐ
  • กรีซ กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดซื้อเครื่องบินรบอีก 30 - 40 เครื่อง
  • โรมาเนีย ต้องการเครื่องบินขับไล่ 40 เครื่อง โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งกันกับ ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น ของยุโรป
  • สโลวาเกีย ต้องการเครื่องบิน 14 เครื่องเพื่อทดแทน MiG-29 แต่ยังไม่มีการประกาศโครงการออกมาอย่างเป็นทางการ
  • สวิสเซอร์แลนด์ ต้องการเครื่องบินทดแทน F-5 จำนวน 20 - 33 เครื่อง โดยสวิสเซอร์แลนด์ได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่นขันทั้ง 4 รายอันประกอบไปด้วย เอฟ/เอ-18อี/เอฟ, ราฟาล, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริเพน ส่งข้อเสนอในเบื้องต้นแล้ว และคาดว่าจะทำการตัดสินใจได้ในปี 2552
  • นอร์เวย์ ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยูจำนวน 48 ลำ โดยได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่นขันทั้ง 3 รายอันประกอบไปด้วย เอฟ-35, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริเพน ส่งข้อเสนอในเบื้องต้นแล้ว และคาดว่าจะทำการตัดสินใจได้ในปี 2552
  • เดนมาร์ก ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยูจำนวน 48 ลำ

รุ่นต่าง ๆ ของยาส 39

  • JAS 39A Gripen A และ JAS 39B Gripen B
เป็นกริพเพนรุ่นตามแผนงานชุดแรกและสอง โดยกริพเพน เอ คือรุ่นที่นั่งเดียว ส่วนกริพเพน บี คือรุ่นสองที่นั่ง ซึ่งทั้งสองรุ่นผลิตตามมาตราฐานทางทหารของสวีเดน
  • JAS 39C Gripen C และ JAS 39D Gripen D
เป็นแบบที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพตามแผนงานชุดที่สาม โดยกริพเพน ซี คือรุ่นที่นั่งเดียว ส่วนกริพเพน ดี คือรุ่นสองที่นั่ง การปรับปรุงครั้งนี้คือ เพิ่มระบบการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ การเข้ากันได้กับมาตราฐานนาโต้ จอแสดงผลในห้องนักบินที่แสดงผลได้ชัดเจนในเวลากลางคืน
  • Gripen DK และ Gripen N
สำหรับเดนมาร์กและนอร์เวย์ตามลำดับ ซึ่งปรังปรุงตามความต้องการของชาติทั้งสองที่ต้องการมีพิสัยทำการยาวและบรรทุกน้ำหนักได้มาก ยังคงอยู่ในระหว่างการออกแบบและพัฒนา
  • Gripen NG
เป็นรุ่นที่อยู่ในระหว่างการทดลองที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกริพเพนรุ่น ซี และ ดี โดยเพิ่มพิสัยบิน เปลี่ยนระบบเรด้าร์ให้ทันสมัยขึ้น เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์รุ่น F414 และเพิ่มน้ำหนักบรรทุกเป็นต้น เครื่องต้นแบบจะขึ้นบินในปีพ.ศ. 2551

รายละเอียด

ซาบ ยาส 39 ในงานแอร์โชว์ ปี 2006 ที่ฟาร์นโบรซ์ ประเทศอังกฤษ

ตัวเครื่อง

ความยาว : 14.1 เมตรในรุ่นที่นั่งเดียว และ 14.8 เมตรในรุ่นสองที่นั่ง

ความกว้าง : 8.4 เมตร

ความสูง : 4.5 เมตร

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 14 ตัน

ความเร็วสูงสุด : 2 มัค

เครื่องยนต์ : RM12 ของวอลโว่ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเครื่องยนต์ F-404 ของเจเนอรัล อิเล็กทริค

ระบบเรดาร์ : PS-05/A ของอิริคสัน

ระบบอาวุธ

ปืนใหญ่อากาศ : Mauser BK-27 ขนาด 27 มม.

กระเปาะชี้เป้า : Litening G111 จากอิสราเอล

กระเปาะลาดตระเวน : SPK 39, MRPS จากยุโรป

ขีปนาวุธ :

ระเบิด : Mark-82, Mark-83, Mark-84

ระเบิดนำวิถี : GBU-10, GBU-12, GBU-16

ยาส 39 กับกองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทยเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 หรือ F-5B/E มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยมีเครื่องบินที่เข้าร่วมแข่งขันคือ Su-30MKIT จากรัสเซีย, F-16C/D Bloack 50/21 จากสหรัฐ และ JAS-39 Gripen จากสวีเดน

ในวันที่ 8 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินรบจำนวน 6 ลำ คือ JAS-39 Gripen จากสวีเดน โดยมีรายละเอียดตามข่าวแจกของกองทัพอากาศดังนี้[3]

คณะรัฐมนตรีมีมติให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบิน Gripen 39 C/D


เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๑ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ Gripen 39 C/D ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๘ ก/ข ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการและครบกำหนดจะปลดประจำการทั้งหมดในปี ๒๕๕๔ โดยมีมติให้กองทัพอากาศก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณระหว่างปี ๒๕๕๑-๒๕๕๕ จัดซื้อเครื่องบิน Gripen 39 C/D ระยะที่ ๑ จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการ วงเงิน ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท ด้วยวิธีการจัดซื้อแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยใช้งบประมาณของกองทัพอากาศที่ได้รับการจัดสรรประจำปีตามปกติ และมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้แทนรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยลงนามในข้อตกลงการซื้อขาย (Agreement) ตลอดจนให้กองทัพอากาศรับข้อเสนอพิเศษจากรัฐบาลสวีเดนตามที่กำหนดไว้ในร่างข้อตกลงการซื้อขาย ทั้งนี้พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการ ทหารอากาศ และพลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้เข้าชี้แจงคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา ให้กองทัพอากาศดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๘ ก/ข (F-5 B/E) ตามที่ทราบแล้วนั้น

กองทัพอากาศได้แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดซื้อขึ้นโดยมี พลอากาศเอก ไพศาล สีตะบุตร รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธาน เพื่อจัดทำร่างสัญญาเจรจาต่อรองการจัดซื้อเครื่องบิน Gripen 39 C/D กับผู้แทน รัฐบาลสวีเดน โดยฝ่ายสวีเดนได้แต่งตั้งคณะทำงานจากหน่วยงาน FMV หรือ Swedish Defense Material Administration (FMV เป็นหน่วยงานขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหมสวีเดน มีหน้าที่ในการจัดเตรียมยุทธภัณฑ์ให้กับกองทัพสวีเดน รวมทั้งการส่งออกยุทธภัณฑ์แก่มิตรประเทศ) เป็นผู้แทนรัฐบาลสวีเดนซึ่งได้ดำเนินการเจรจา และจัดทำร่างข้อตกลงการซื้อขายเรียบร้อยแล้ว สำหรับเอกสารข้อตกลงการซื้อขาย ครอบคลุมข้อสัญญาและเงื่อนไขเกี่ยวกับกำหนดการส่งมอบเครื่องบิน, การฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่, การส่งกำลังบำรุง และงวดการชำระเงิน ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้รับความร่วมมือจากสำนักงานอัยการสูงสุด และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นที่ปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการจัดซื้อ เพื่อให้การดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ รัดกุม และ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ

สรุปสาระสำคัญในร่างข้อตกลงการซื้อขาย แบ่งเป็น ๒ ส่วน

ส่วนที่ ๑ ข้อเสนอหลัก และการปรับปรุงอาคารสถานที่และการบริหารโครงการ

ประกอบด้วยเครื่องบิน Gripen 39 C/D จำนวน ๖ เครื่อง เป็นเครื่องบินที่นั่งเดี่ยวจำนวน ๒ เครื่อง และที่นั่งคู่จำนวน ๔ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์และระบบสนับสนุน การส่งกำลังบำรุง การฝึกอบรม การบริหารโครงการในส่วนที่สวีเดนรับผิดชอบ อุปกรณ์อื่นและการบริการ รวมเป็นเงิน ๑๘,๒๘๔ ล้านบาท

ด้านการปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการประกอบด้วย การปรับปรุงอาคารสถานที่และระบบโครงสร้างพื้นฐาน ณ กองบิน ๗ จ.สุราษฎร์ธานี การเดินทางไปฝึกอบรมตามโครงการ และการบริหารโครงการ ในส่วนที่กองทัพอากาศรับผิดชอบ รวมเป็นเงิน ๗๑๖ ล้านบาท รวมงบประมาณการจัดซื้อเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท ตามกรอบวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐

ส่วนที่ ๒ เป็นข้อเสนอพิเศษจากรัฐบาลสวีเดน โดยกองทัพอากาศจะได้รับมอบเครื่องบิน Saab 340 สำหรับการฝึกจำนวน ๑ เครื่อง และเครื่องบิน Saab 340 ติดตั้งเรดาร์แจ้งเตือนในอากาศแบบ Erieye จำนวน ๑ เครื่อง

พร้อมกันนี้จะได้รับการตอบแทนในลักษณะความร่วมมือทวิภาคี ประกอบด้วย

- การถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศและกองทัพไทยในสาขาต่างๆ ที่ฝ่ายไทยต้องการ

- ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทจำนวน ๙๒ ทุน ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสวีเดน ได้แก่ Royal Institute of Technology Stockholm, Chalmers Technical University in Gothenburg และ Link?ping University ระหว่างปี ๒๕๕๒-๒๕๕๕ และ

- ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม ในด้านวิชาการ การลงทุน การผลิตสินค้า และการบริการ ที่จะกำหนดรายละเอียดหลังจากลงนาม ในข้อตกลงการซื้อขายต่อไป

แผนการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ ได้แก่

- การผลิตและส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Gripen 39 C/D ใช้ระยะเวลา ๓๖ เดือนหลังจากลงนามในหนังสือข้อตกลงการซื้อขาย

- การฝึกอบรม การส่งมอบอะไหล่และอุปกรณ์ รวมทั้งการเตรียมรับนั้นต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อน การส่งมอบเครื่องบิน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรมในประเทศสวีเดนเริ่มดำเนินการในปี ๒๕๕๑ และการส่งมอบอะไหล่และอุปกรณ์เริ่มดำเนินการในปี ๒๕๕๓

- การส่งมอบเครื่องบิน Saab 340 ทั้ง ๒ เครื่อง ดำเนินการได้ในปลายปี ๒๕๕๓

- การส่งมอบเครื่องบิน Gripen 39 C/D ทั้ง ๖ เครื่องจะดำเนินการได้ภายในต้นปี ๒๕๕๔ โดยจะส่งมอบเครื่องบิน ๓ เครื่องแรกในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ และอีก ๓ เครื่องในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ เพื่อฝึกเพิ่มเติมให้หน่วยบิน มีความพร้อมปฏิบัติการได้ภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๔ สอดคล้องกับแผนการปลดประจำการของเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 ที่สุราษฎร์ธานี

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดซื้อตามโครงการนี้ ได้แก่

- ได้รับเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ จำนวน ๖ เครื่องทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 ทันตามความต้องการ ทางยุทธการ

- ได้รับขีดความสามารถในการตรวจจับอากาศยาน และเป้าหมายภาคพื้นดินและพื้นน้ำ รวมทั้งระบบบัญชาการและควบคุม

- การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสามารถนำมาพัฒนาประเทศต่อไป

- ยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ได้รับในการจัดซื้อตามโครงการนี้ จะเป็นแรงขับเคลื่อนกองทัพอากาศและ กองทัพไทย ให้มีขีดความสามารถเพียงพอ และเท่าทันเทคโนโลยี เพื่อปกป้องอธิปไตย และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์และ ความมั่นคงของชาติ

ไทยและสวีเดนลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อยาส 39

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้อำนวยการ นายพล Gunnar Holmgren แห่งศูนย์อำนวยการยุทโธปกรณ์ทางทหารแห่งสวีเดน (FMV) และพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ลงนามข้อตกลงในการจัดซื้อ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์กริเพนรุ่นล่าสุดจำนวน 6 ลำและระบบเรด้าร์อิรี่อาย

ในข้อตกลงนี้ กองทัพอากาศไทยจะสามารถจัดหาเครื่องบินได้ทันการปลดประจำการเครื่องบิน F-5 ได้ในต้นปี 2011 กองทัพอากาศไทยจะได้รับ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์กริเพนรุ่น C และ D ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด จำนวน 6 ลำ (เครื่องบินรุ่น JAS 39 Gripen D แบบที่นั่งคู่ สองที่นั่ง จำนวน 4 ลำ และ เครื่องบินรุ่น Jas 39 Gripen C แบบ 1 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ) และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือน Saab 340 Erieye จำนวน 1 ลำ พร้อมทั้งเครื่องบิน Saab 340 อีก 1 ลำสำหรับการฝึกและขนส่ง.[4]


เรื่องแปลกของเครื่องบินกริพเพนกับกองทัพอากาศไทย

ก่อนหน้าที่เครื่องบินกริพเพนจะได้รับการคัดเลือกเข้าเป็น บ.ข. 20 นั้น บริษัท ซ๊าบ โดย กริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศสวีเดน ได้สั่งซื้อ เครื่องบินกระดาษจิ๋ว ของ นาย ชัยวัฒน์ โฆษธนาคม เพื่อใช้ในกิจกรรมของบริษัท ข่าวดังกล่าวได้สร้างความฉงน ให้กับประชาชนชาวไทย จนถูกผลิตเป็นรายการทีวี ได้แก่ สะเก็ดข่าว มันแปลกดีนะ ทไวไลท์โชว์ และรายการกวนก่อนนอน และปัจจุบันเป็นที่เลื่องลือกล่าวขวัญในสังคมชาวโลก เรื่องดังกล่าวนับเป็นกลยุทธทางการตลาดที่หลักแหลมในแง่การประชาสัมพันธ์องค์กรเป็นอย่างยิ่ง ตามสุภาษิตไทยที่ว่า "ใช้กุ้งฝอยตกปลากระพง" เนื่องจาก บริษัท กริพเพน อินเตอร์เนชั่นแนล ลงทุนใช้งบประชาสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยมาก แต่กลับได้ผลลัพธ์กลับคืนมาอย่างมากมายมหาศาล เข้าลักษณะของการทำการค้าด้วยความคิดและมันสมองอย่างแท้จริง [5]

แหล่งข้อมูลอื่น

Gripen International (มีภาษาไทยให้เลือก)

อ้างอิง

  1. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000123231
  2. Gripen.com Sweden commits to Gripen’s future
  3. Skyman's Military BlogJAS-39 Gripen: ... คำชี้แจงอย่างเป็นทางการของกองทัพอากาศ+สาระสำคัญของข้อตกลงเฟสแรก
  4. Gripen International Gripen agreement between Sweden and Thailand signed.
  5. http://www.bangkokbiznews.com/2006/08/02/kt_net_w005.php


แม่แบบ:Link FA