ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์"

พิกัด: 13°43′26″N 100°33′33″E / 13.723992°N 100.559224°E / 13.723992; 100.559224
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| ภาษา = อังกฤษ
| ภาษา = อังกฤษ
| ภาพ = Bkksirikitconvcentr0905a.jpg
| ภาพ = Bkksirikitconvcentr0905a.jpg
| คำบรรยายภาพ = ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ก่อนปิดปรับปรุงในปี พ.ศ. 2562
| คำบรรยายภาพ = ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์<br> ก่อนปิดปรับปรุงในปี พ.ศ. 2562
| สิ่งก่อสร้าง = ศูนย์การประชุม
| สิ่งก่อสร้าง = ศูนย์การประชุม
| ที่ตั้ง = 60 [[ถนนรัชดาภิเษก]] แขวงคลองเตย [[เขตคลองเตย]]
| ที่ตั้ง = 60 [[ถนนรัชดาภิเษก]] แขวงคลองเตย [[เขตคลองเตย]]
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| ผู้สร้าง =
| ผู้สร้าง =
| ปีรื้อ =
| ปีรื้อ =
| ปีบูรณะ = พ.ศ. 2562 - สิงหาคม พ.ศ. 2565<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/business/997389 กรุงเทพธุรกิจ: ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ จ่อดีเดย์ ก.ย.นี้ พร้อมรับ APEC 2022 ปักธงสร้างอีเวนท์แพลตฟอร์มใหม่แห่งเอเชีย]</ref>
| ปีบูรณะ = พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน
| ผู้บูรณะ =
| ผู้บูรณะ =
| แบบสถาปัตยกรรม =
| แบบสถาปัตยกรรม =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:13, 12 เมษายน 2565

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
Queen Sirikit National Convention Center
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ก่อนปิดปรับปรุงในปี พ.ศ. 2562
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะปิดปรับปรุง
ประเภทศูนย์การประชุม
เมืองกรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2532 - 2534
ปรับปรุงพ.ศ. 2562 - สิงหาคม พ.ศ. 2565[1]
เว็บไซต์
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (อังกฤษ: Queen Sirikit National Convention Center - QSNCC) เป็นศูนย์การประชุมตั้งอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ติดกับโรงงานยาสูบเดิม

ประวัติ

จากการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ในการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร รัฐบาลไทยจึงมีมติให้ก่อสร้างสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากลขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2532 เพื่อรองรับการประชุมครั้งสำคัญดังกล่าว โดยกำหนดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย พร้อมกับใช้เทคนิค “สร้างและออกแบบ” (A “build and design” technique) เพื่อให้ศูนย์ประชุมของชาติแห่งแรกนี้สามารถเสร็จทันตามกำหนดเวลา

หลังจากที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารบนพื้นที่ 20 เอเคอร์ ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานยาสูบ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2533 บรรดานักออกแบบกว่า 100 คน และคนงานก่อสร้างอีกกว่า 1,000 คน ต่างทุ่มเททำงานทั้งกลางวัน และกลางคืนเพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534

จากความมุ่งมั่น และพยายามของทุกฝ่าย ทำให้การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จภายในเวลาเพียง 16 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ 40 เดือน ด้วยงบประมาณน้อยกว่าที่กำหนด ส่วนการตกแต่งภายในอาคารนั้นแล้วเสร็จในต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534

ในวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อของศูนย์การประชุม เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535

นับตั้งแต่เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รองรับผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 กว่า 10,000 คน จาก 154 ประเทศ ระหว่างวันที่ 1 - 15 ตุลาคม 2534 ซึ่งได้รับคำชื่นชมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจไมซ์ (MICE ย่อมาจาก Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions) ในประเทศไทยตลอดมา

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด

การจัดสรรพื้นที่

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565[2][3] จะประกอบด้วย โถงประชุมและนิทรรศการ จำนวน 8 ฮอลล์ ห้องเพลนารีฮอลล์ ห้องบอลรูม พื้นที่ค้าปลีก และร้านอาหาร

งานที่จัดในศูนย์ประชุมฯ

  • การประกวดนางงามจักรวาล พ.ศ. 2535
  • การประกวดนางสาวไทย พ.ศ. 2538, 2543-2545
  • งานรับปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
  • งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2541-2562 และตั้งแต่งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 27 พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
  • งาน SET in the City โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • งานท่องเที่ยวไทย
  • งานแสดงสินค้าต่าง ๆ เช่น เครื่องเรือน, อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
  • ไทยแลนด์เกมโชว์ (พ.ศ. 2550-2554)
  • คอมมาร์ท ไทยแลนด์
  • งานมหกรรมมือถือ Thailand Mobile Expo
  • จัดคอนเสิร์ต การแสดงต่างๆ
  • งานเปิดตัว iPhone 4S by AIS (พ.ศ. 2554)
  • งาน Carabao Expo (พ.ศ. 2554)
  • งานแสดงสินค้าแม่และเด็ก Thailand Baby & Kids Best Buy
  • งานช้อปปิ้ง พาราไดซ์ (แฟชั่น ความงาม)
  • งานเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
  • งานมหกรรมบ้านและคอนโด
  • งาน Brick Lego 2018 จัดขึ้นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • การประชุมเอเปค 2022[4]

การเดินทาง

การบริการทางการสื่อสารและโทรคมนาคม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′26″N 100°33′33″E / 13.723992°N 100.559224°E / 13.723992; 100.559224

อ้างอิง

  1. กรุงเทพธุรกิจ: ศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ จ่อดีเดย์ ก.ย.นี้ พร้อมรับ APEC 2022 ปักธงสร้างอีเวนท์แพลตฟอร์มใหม่แห่งเอเชีย
  2. ปิดปรับปรุงศูนย์ฯสิริกิติ์ ตั้งแต่ 26 เม.ย.62 , จส.100
  3. เอ็น.ซี.ซี.ฯ เปิดตัว “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” โฉมใหม่ มากกว่าศูนย์การประชุม , ประชาชาติธุรกิจ
  4. SUB_NUM (2022-02-17). "คมนาคมโรดโชว์ "ผู้นำเอเปก" ลงทุน MR-Map พ่วงแลนด์บริดจ์". ประชาชาติธุรกิจ.