ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคนตาลูป"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 84: บรรทัด 84:


5. '''เพลี้ยไฟ''' สาเหตุเกิดจากเพลี้ยไฟเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอด ลักษณะอาการที่พบคือ ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ยอดหงิกงอ ผิวของผลแคนตาลูปมีตำหนิไม่สวยงาม วิธีป้องกันกำจัดคือ ให้ใช้ยาอโซลดรินหรือทาราโซนฉีดพ่นสลับกับยาแลนเพทในขณะที่อากาศไม่ร้อนจัดทุกๆ 3 วันจนกว่าจะหาย
5. '''เพลี้ยไฟ''' สาเหตุเกิดจากเพลี้ยไฟเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอด ลักษณะอาการที่พบคือ ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ยอดหงิกงอ ผิวของผลแคนตาลูปมีตำหนิไม่สวยงาม วิธีป้องกันกำจัดคือ ให้ใช้ยาอโซลดรินหรือทาราโซนฉีดพ่นสลับกับยาแลนเพทในขณะที่อากาศไม่ร้อนจัดทุกๆ 3 วันจนกว่าจะหาย

กำลังแก้ไข แคนตาลูป (เฉพาะส่วน)


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:53, 3 เมษายน 2565

แคนตาลูป
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Cucurbitales
วงศ์: Cucurbitaceae
สกุล: Cucumis
สปีชีส์: C.  melo
สปีชีส์ย่อย: C.  melo subsp. melo
Varietas: C.  melo var. cantalupensis
Trinomial name
Cucumis melo var. cantalupensis[1]
Naudin
ชื่อพ้อง

Cucumis melo var. reticulatus Naudin[1]

แคนตาลูป (อังกฤษ: cantaloupe) หรือเรียกกันว่า แตงแคนตาลูป มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo L. var. cantaloupensis แคนตาลูปมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย แล้วมีผู้นำเข้าไปปลูกที่เมืองคันตาลูโปซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงโรม ประเทศอิตาลี จึงได้รับการตั้งชื่อว่า "(แตง) คันตาลูโป" และกลายเป็น "แคนตาลูป" ในภาษาอังกฤษ[2]

การเผยแพร่สู่ประเทศไทย

แคนตาลูปเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2478 โดยนำมาปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่ได้ผลเนื่องจากแตงเป็นโรคตายเสียส่วนมาก ต่อมา ปี พ.ศ. 2493 - 2499 ได้นำมาทดลองปลูกที่เกษตรกลางบางเขน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน) ปรากฏว่าได้ผลดี โดยเฉพาะแคนตาลูปพันธุ์ริโอโกลด์ จากสหรัฐอเมริกา ให้ผลบางผลมีน้ำหนักถึง 4 กิโลกรัม[3] จึงได้มีการขยายการปลูกออกไปเรื่อย ๆ แต่เพิ่งได้ผลดีและปลูกกันเป็นอาชีพ แคนตาลูปเป็นผลไม้ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของคนไทย แหล่งที่ปลูกแคนตาลูปได้ผลดีในปัจจุบัน คือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และที่จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะทั่วไปของแคนตาลูป คือ มีลักษณะคล้าย ๆ แตงไทย คนไทยจึงเรียกว่า แตงเทศ หรือแตงฝรั่ง หรือแตงไทยฝรั่ง มีผลกลม ผิวของผลสีเขียว หรือสีน้ำตาลคล้ำ หรือสีเหลือง หรือสีขาว ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์ ผิวของผลหยาบ มีเปลือกแข็ง มีร่องลึกรอบ ๆ ผล เปลือกมีลายคล้ายร่างแหหรือตาข่ายสีขาว หรือสีฟางแห้งคลุมตลอดทั้งผล แต่บางพันธุ์ก็ไม่มี บางพันธุ์มีผิวเรียบ ๆ เมื่อสุกเนื้อในมีสีส้ม หรือสีจำปา มีกลิ่นหอม รสหวาน

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

แคนตาลูปเป็นพืชเมืองร้อน จึงชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 21 - 32 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนพอสมควร ไม่มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี เพราะจะทำให้แคนตาลูปเป็นโรคโคนเน่าได้ง่าย ส่วนดินนั้นชอบดินร่วน ดินปนทราย หรือดินค่อนข้างเหนียวก็ปลูกได้ดี แต่ดินต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ถ้าดินมีการอุ้มน้ำมากจะทำให้แคนตาลูปดูดน้ำเข้าไปมาก จะทำให้ผลของแคนตาลูปมีรสหวานน้อยและเนื้อไม่ค่อยกรอบ ดินที่ปลูกแคนตาลูปควรมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.5 - 7

พันธุ์ที่นิยมปลูก

พันธุ์สโมร์ชาร์ม ลักษณะทั่วไปคือ มีผลกลมคล้ายลูกโลก ผิวของผลมีสีเหลืองครีม เกลี้ยง เนื้อสีสัมอ่อน หรือสีชมพู เนื้อหนากรอบ และอ่อนนุ่ม แต่ละผลมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม เจริญเติบโตได้ดีแม้ในที่ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น

พันธุ์ซันเลดี้ มีผลกลมรีรูปไข่ เปลือกมีผิวเกลี้ยง สีขาวครีม เนื้อหนาสีส้ม นุ่ม มีน้ำมาก รสหวานจัดและมีกลิ่นหอม ติดผลมาก แต่มีอายุสั้น ปลูกง่าย

พันธุ์ซันไรท์ เป็นแตงพันธุ์เบา มีผลดก ผลมีสีเหลืองอ่อน มีลายเป็นตาข่ายทั้งผล เนื้อในมีสีส้มอ่อนๆ เนื้อนุ่ม มีน้ำมาก มีกลิ่นหอม ติดผลมาก แต่มีอายุสั้น ปลูกง่าย

พันธุ์ซูก้าบอลล์ ลักษณะของต้นกะทัดรัด ปลูกระยะถี่ได้ ผลมีผิวเรียบ สีครีมหรือเกือบขาว เนื้อหนา สีหยกเขียว หวานจัด รสชาติดี ขนาดของผลปานกลาง มีน้ำหนักประมาณ 800 กรัมต่อผล ทนทานต่อความร้อนได้ดี

พันธุ์มิลกี้เวย์ มีลำต้นแข็งแรง ปลูกง่าย ผลดก ผลมีสีเขียวโปร่งแสง ผลโตขึ้นเปลี่ยนเป็นสีขาวครีม เนื้อหนา กลิ่นหอมแรง มีปริมาณน้ำตาลสูง ผลใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1 - 2 กิโลกรัม

พันธุ์ซิลเวอร์ไลท์ เป็นแตงพันธุ์เบาที่มีลำต้นแข็งแรง ปรับเข้ากับสภาพอากาศที่ร้อนชื้นได้ดี มีผลทรงแป้น ผิวของผลสีขาวอมเขียว เนื้อสีเขียวอ่อน รสหวาน ผลหนึ่งๆ มีน้ำหนักประมาณ 400 กรัมต่อผล

พันธุ์โกลเด้นบิวตี้ มีลำต้นแข็งแรง ผลดก เนื้อในมีสีขาวขุ่น เนื้อนุ่ม กรอบ รสหวาน น้ำหนักประมาณ 400 กรัมต่อผล

พันธุ์บิลเซพทูรี ผลมีลักษณะกลมยาว ผิวของผลสีเหลืองอมเขียวอ่อน ๆ เมื่อสุกจะมีลายเป็นร่างแหลาง ๆ เนื้อหนา สีส้มอ่อน ๆ เนื้อนุ่ม กรอบ รสชาติอร่อยมาก

พันธุ์สกายรอคเก็ท ลักษณะของผลทรงกลม สีเขียว มีลายร่างแห เนื้อในสีเขียว รสหวาน แต่ละผลมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม

พันธุ์สวอน ลักษณะของผลเกือบกลม ต้นหนึ่งๆ จะให้ผลประมาณ 6 - 8 ผล ผิวของผลจะเรียบ มีสีขาว มีร่องตื้น ๆ เนื้อสีขาว รสหวานอร่อย

พันธุ์เมอริสนัมเบอร์ทู ผลสีเหลืองสดใส ผิวเรียบ เนื้อหนาปานกลางสีขาวและกรอบ

พันธุ์เรดควีน ลักษณะของผลเกือบกลม ผิวเรียบ เมื่อสุกมีสีเหลืองครีม เนื้อมีน้ำมาก รสหวานกลมกล่อม มีปริมาณน้ำตาลสูง แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1 กิโลกรัม

พันธุ์ซิลเวอร์สตาร์ ผลกลมและใหญ่ เปลือกค่อนข้างเรียบ มีลายน้อยหรืออาจไม่มีลายเลย ผิวของผลสีครีมหรือสีเกือบขาว เนื้อในมีสีเขียวอมขาว รสหวานจัด มีรสชาติดี แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2 กิโลกรัม

พันธุ์ฮันนี่ เวิลด์ ผลมีรูปทรงเหมือนลูกโลก ผิวเกลี้ยงสีขาวครีม เนื้อในสีเขียวอ่อน เนื้อนุ่มและมีรสหวานอร่อย แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.7 กิโลกรัม

พันธุ์เจด ดิว ผลเกือบกลม ขนาดค่อนข้างใหญ่ ผิวของผลเรียบ มีลายเส้นเล็กน้อย ผิวของผลสีเขียวอมเหลือง เนื้อหนาสีเขียว มีรสหวานอร่อยดีมาก แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.3 กิโลกรัม

พันธุ์ซัน บิวตี้ ผลกลมสีขาวอมเหลือง ผิวมีร่องตื้น ๆ สีเขียวอ่อน เนื้อหนาสีขาว มีน้ำมาก รสชาติอร่อยดีมาก

พันธุ์เจด ผลมีทรงกลม ผิวของผลมีลักษณะเรียบ มีสีขาวอมเขียว เนื้อในหนาปานกลางสีเขียวอ่อน กรอบ รสหวาน แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 500 กรัม

พันธุ์โกลเด้นไลท์ ลักษณะผลยาวป้อมสีเหลืองทอง เนื้อในสีขาว กรอบ แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 400 กรัม

พันธุ์เดลิเกทส์ ผลลายเป็นร่างแห เนื้อหนา สีเขียว เนื้อนุ่ม รสหวานและมีกลิ่นหอม ปลูกได้ทั้งในเรือนกระจกและกลางแจ้ง

การเพาะปลูก

การปลูกด้วยต้นกล้า

เมื่อเราเตรียมดิน กะระยะปลูก และขุดหลุมปลูกไว้แล้ว เพื่อป้องกันไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายรากของพืชที่เราปลูก ก่อนที่จะนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมควรใช้ยาฟูราดานหรือใส่ลงไปในก้นหลุมก่อน หลุมละประมาณ 1 กำมือหรือใช้สตาร์เกิล จีรองก้นหลุมอัตรา 2 กรัมต่อหลุมปลูก คลุกเคล้าให้เข้ากับดินในหลุมปลูก แล้วนำถุงต้นกล้าที่เพาะไว้ได้ขนาดแล้ว มากรีดถุงพลาสติกและดึงออกให้เหลือแต่เบ้าดินที่ห่อหุ้มรากลงปลูกในหลุม กลบดินรอบๆ ให้มิดเบ้าดิน แล้วกดดินให้แน่น เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม การปลูกแคนตาลูปด้วยต้นกล้า ควรปลูกในตอนเย็นๆ หรือในวันที่ครึ้มฟ้าครึ้มฝน เพื่อกล้าแคนตาลูปจะได้ไม่เหี่ยวเฉาและหยุดการเจริญเติบโต

การปลูกด้วยติ้งบ่องบ่วย

ให้คัดเลือกเอาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์และเต็มเต่งเท่านั้น หยอดลงไปในหลุมปลูกที่เราได้เตรียมไว้หลุมละ 3 - 4 เมล็ด กลบดินให้มิดเมล็ด นำหญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้ผุๆ หรือแกลบ อย่างใดอย่างหนึ่ง คลุมหลุมที่หยอดเมล็ดไว้ รดน้ำให้ชุ่มเช้า - เย็นทุกวัน เมื่อเห็นว่าเมล็ดที่เราเพาะไว้งอกขึ้นมามีใบประมาณ 3 - 5 ใบ ให้ถอนต้นที่เล็กทั้งไปเหลือไว้เฉพาะต้นที่ใหญ่และแข็งแรง หลุมละ 2 ต้น เท่านั้น

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

1. โรคเหี่ยว สาเหตุเกิดจากเชื้อราฟูราเซี่ยนที่อยู่ในดิน เข้าทำลายลำต้น ทำให้ลำต้นแตก เน่าที่โคนต้นหรือตามซอกใบ มีเชื้อราสีขาวๆ ติดอยู่ตามรอยแผล บริเวณใยและเส้นใบจะมีสีเหลือง ต้นจะเหี่ยวและตายไป วิธีป้องกันกำจัดคือ ถ้าเกิดระบาดอย่างรุนแรงไม่มีวิธีรักษาให้หาย นอกจากจะขุดต้นไปเผาทำลายให้หมด แต่ถ้าเกิดน้อยๆ หรือเกิดระยะเริ่มต้นให้ใช้ยาพวกไดเทนเอม 45 หรือแคปเทน อย่างเข้มข้น ป้ายที่แผลจะทำให้หายขาดได้

2. โรคเน่าคอดิน สาเหตุเกิดจากพื้นดินมีความชื้นสูงหรือแฉะ เพราะให้น้ำมากเกินไป และได้รับแสงแดดน้อยเกินไป หรือเป็นเพราะให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ทำให้ที่โคนต้นมีรอยคล้ายรอยช้ำ และเน่าบริเวณคอดิน วิธีป้องกันกำจัดคือ ใช้ยาแคปแทนเอ็ม 45 หรือเบมเลทฉีดพ่นต้นกล้า สัปดาห์ละ 1 ครั้งจนกว่าจะหาย

3. โรคแอนแทรกโนต สาเหตุเกิดจากเชื้อราเข้าทำลายเมื่อผลมีความชื้นมาก ลักษณะอาการที่พบจะเป็นจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ ที่ผิวแล้วขยายใหญ่ลึกลงไปทำให้ผลเสียหาย วิธีการป้องกันกำจัดคือ อย่าปล่อยให้ผลของแคนตาลูปชื้น

4. โรคราน้ำค้าง สาเหตุเกิดจากเชื้อราเข้าทำลายทางใบ ลักษณะอาหารที่พบจะเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก และค่อยขยายเป็นวงใหญ่จนเต็มใบ เราจะสังเกตเห็นสปอร์สีดำที่รอยแผลในตอนเช้าๆ โดยมากจะทำให้ใบเหี่ยวและแห้งตายไป วิธีป้องกันกำจัดคือ ให้ใช้ยาออร์โธไซด์ หรือไดแทนเอ็ม 45 หรือเบนเลท หรือคาโคนิล ฉีดพ่นสลับกันไปเพื่อป้องกันและกำจัดให้หมดไป

5. เพลี้ยไฟ สาเหตุเกิดจากเพลี้ยไฟเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอด ลักษณะอาการที่พบคือ ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ยอดหงิกงอ ผิวของผลแคนตาลูปมีตำหนิไม่สวยงาม วิธีป้องกันกำจัดคือ ให้ใช้ยาอโซลดรินหรือทาราโซนฉีดพ่นสลับกับยาแลนเพทในขณะที่อากาศไม่ร้อนจัดทุกๆ 3 วันจนกว่าจะหาย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Taxon: Cucumis melo L. subsp. melo var. cantalupensis Naudin". Germplasm Resources Information Network (GRIN). United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service, Beltsville Area. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-09. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  2. Sam Dean (July 18, 2013). "The Etymology of the Word 'Cantaloupe'". Bon Appetit. สืบค้นเมื่อ July 18, 2018.
  3. "FruitFits". สืบค้นเมื่อ 2017-17-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • หนังสือการปลูกไม้ผล 10 ชนิด
  • หนังสืออาชีพปลูกผลไม้