พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ
ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ | |
ก่อตั้ง | 26 กันยายน พ.ศ. 2495 |
---|---|
ที่ตั้ง | 171 ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 13°55′11″N 100°37′20″E / 13.919832°N 100.622256°E |
ประเภท | พิพิธภัณฑ์การทหาร |
ผู้อำนวยการ | นาวาอากาศเอก วีระชน เพ็ญศรี |
เจ้าของ | กองทัพอากาศไทย |
ขนส่งมวลชน | พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ |
เว็บไซต์ | museum.rtaf.mi.th |
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ เริ่มมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2495 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2495 ให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหารของทั้ง 3 กองทัพขึ้น เพื่อจัดเป็นประวัติศาสตร์และแสดงวิวัฒนาการในทางการทหารของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน จึงได้ออกคำสั่งกระทรวงกลาโหม (พิเศษ) ที่ 50/19491ลงวันที่ 26 กันยายน 2495 ตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหาร เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ให้เป็นผลสมความมุ่งหมาย คณะกรรมการตามคำสั่ง กห. (พิเศษ) ที่ 50/19491 ประกอบด้วย
- พล.อ.หลวงเสนาณรงค์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกรรมการ
- พล.ท.จิร วิชิตสงคราม ที่ปรึกษาการทหาร เป็นรองประธานกรรมการ
- พล.อ.ท.เพิ่ม ลิมปิสวัสสดิ์ เจ้ากรมช่างอากาศ เป็นประธานกรรมการ
- พล.ต.สุรพล สุรพลพิเชตถ รองผู้อำนวยการศึกษาและวิจัย กระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ
- พล.ร.ต.เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา ร.น. เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นกรรมการ
- พ.อ.ขุนเสนาทิพ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นกรรมการ
- น.อ.พล สุวรรณประเทศ ร.น. รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็นกรรมการ
- พ.อ.เกียรติ บุรกสิกร เสนาธิการกรมสรรพาวุธทหารบก เป็นกรรมการ
- ผู้แทนกรมศิลปากร หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ตามที่ได้ตกลงกับกรมศิลปากรแล้ว) เป็นกรรมการ
โดยให้คณะกรรมการนี้มีหน้าที่พิจารณากำหนดโครงการและงบประมาณซึ่งเกี่ยวกับการจัดหาสถานที่การก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการรวบรวมจัดหาบรรดาสรรพสิ่งต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาประกอบ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารนี้ขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางราชการเห็นเป็นการสมควรที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2495 กองทัพอากาศได้ออกคำสั่งกองทัพอากาศ (พิเศษ) ที่ 288/18709 ลงวันที่ 8 กันยายน 2495 เรื่อง ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ) และได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการรุ่นแรก มี 5 ท่าน คณะกรรมการดำเนินการรุ่นแรก มี 5 ท่านประกอบด้วย
- พลอากาศโท เพิ่ม ลิมปิสวัสดิ์ เป็นประธานกรรมการ
- พลอากาศตรี หลวงกร โกสียกาจ เป็นกรรมการ
- พลอากาศตรี เจือ ปุญยโสนี เป็นกรรมการ
- พลอากาศตรี มนัส เหมือนทางจีน เป็นกรรมการ
- นาวาอากาศเอก นักรบ บิณษรี เป็นกรรมการ
มีหน้าที่พิจารณาดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดนี้ได้วางรากฐานพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ โดยมุ่งหมายจัดหายุทธภัณฑ์และสันติภัณฑ์ทุกประเภท ตามยุคตามสมัย เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน เช่น เครื่องบิน เครื่องยนต์ วิทยุ อาวุธ และอุปกรณ์อื่น ๆ มารวบรวมไว้
ในครั้งแรกได้ใช้โรงงานช่างอากาศที่ 3 (โรงงานการซ่อม ชอ.โรงสังกะสีแบบแฮงการ์) ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของสนามบินดอนเมือง เป็นสถานที่ตั้งแสดงพัสดุพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ทางกระทรวงกลาโหม มีความประสงค์ที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหาร เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและเป็นประวัติศาสตร์ของทหาร โดยได้ตั้งกรรมการประกอบด้วยผู้แทน 3 เหล่าทัพ พิจารณาดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหาร ในการนี้กองทัพอากาศ ได้ให้เจ้ากรมช่างอากาศ (พล.อ.ท.เพิ่ม ลิมปิสวัสดิ์) เป็นผู้แทนของ ทอ.ไปร่วมประชุม ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอของบประมาณค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น ประมาณ 30 ล้านบาท เป็นค่าซื้อที่ดิน 10 ล้านบาท ค่าตกแต่งที่ดิน 5 ล้านบาท ค่าก่อสร้างอาคารแต่ละกองทัพ ๆ ละ 5 ล้านบาท กระทรวงกลาโหมพิจารณาแล้วเห็นพ้องต้องกับคณะกรรมการ จึงได้เสนอเรื่องตามหนังสือกระทรวงกลาโหมที่ 4208/2497 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2497 ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วแจ้งว่า ไม่สามารถจะหาเงินมาจ่าให้ได้ในขณะนั้น เนื่องจากเงินของประเทศอยู่ในระยะที่ขาดแคลน อาจจะมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินเพื่อรับสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ กระทรวงการคลัง จึงเห็นสมควรที่จะระงับเรื่องนี้ไว้ก่อน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2497เห็นชอบด้วย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารจึงได้ระงับไว้ก่อน
การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2501 - 2502 ในปี พ.ศ. 2501 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ 86/01 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2501 เรื่องให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (สมัยจอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ) ได้จัดตั้งกรรมการขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของ กองทัพอากาศจากชุดก่อนคือ
- พล.อ.ท.เพิ่ม ลิมปิสวัสดิ์ เป็นประธานกรรมการ
- พล.อ.ต.เจือ ปุญยโสนี เป็นกรรมการ
- พล.อ.ต.สวน สุขเสริมเป็นกรรมการ
- พล.อ.ต.พิชิต บุญยเสนา เป็นกรรมการ
- น.อ.เอกชัย มุสิกบุตร เป็นกรรมการ
- น.อ.วิทย์ แก้วสถิตย์ เป็นกรรมการ
- น.อ.วีระ อุมนานนท์ เป็นกรรมการ
คณะกรรมการได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ซึ่งกำหนดไว้ทำนองเดียวกันกับคำสั่ง ทอ. (พิเศษ) ที่ 288/18709 คณะกรรรมการชุดนี้ได้ดำเนินการขอสถานที่โรงเก็บกระสุนวัตถุระเบิดของกรมสรรพวุธทหารอากาศ ซึ่งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์อีก 1 โรง เพื่อใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติม เพราะรวบรวมพัสดุพิพิธภัณฑ์ได้มากขึ้น และผู้บัญชาการทหารอากาศได้อนุมัติแล้วในด้านการจัดหาวัสดุพิพิธภัณฑ์ คณะกรรมการได้ขอความร่วมมือจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีวัสดุพิพิธภัณฑ์ ให้ทำบัญชีรายงานวัสดุซึ่งมีทั้ง วัสดุจริง ภาพถ่าย ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ พร้อมทั้งประวัติ แบบ ชนิด สมรรถนะ ชื่อบริษัทผู้ผลิตหรือสั่งซื้อ ปีที่ประจำการ ชื่อผู้บริจาค ให้แก่กองทัพอากาศ ราคาและอื่น ๆ และรวบรวมวัสดุเอกสารเหล่านั้นไว้ก่อน เมื่อมีสถานที่เก็บแล้วทางพิพิธภัณฑ์จึงจะขอรับมาเก็บต่อไป การดำเนินการพิพิธภัณฑ์ในระยะนี้ฝากให้อยู่ในความดูแลของกรมช่างอากาศ
- การโอนกิจการพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ
ในปี พ.ศ. 2502 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งที่ 20025/02 ให้โอนสถานที่และพัสดุพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศไปขึ้นอยู่กับ แผนกตำนานและสถิติ กองเสมียนตรา กรมสารบรรณทหารอากาศ ซึ่ง จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้มาทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ เป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2502
พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ นอกจากเป็นที่รวบรวมพัสดุพิพิธภัณฑ์อันหาค่าเปรียบมิได้ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังได้มีโอกาสอันสำคัญในการช่วย เชื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ กล่าวคือ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศ สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อปี พ.ศ. 2503 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเครื่องบินเมืองแคลร์มอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย หัวหน้าพนักงานผู้รักษาพิพิธภัณฑ์แห่งนั้น ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดภาพเครื่องบินต่าง ๆ พร้อมกับทูลขอพระราชทานเครื่องบินแบบ สปิตไฟร์ ซึ่งกองทัพอากาศไทย เคยมีไว้ประจำการ ไปไว้ในพิพิธภัณฑ์เมืองแคลร์มอนต์ เนื่องจากได้ทราบว่ามีเครื่องบินชนิดนี้เก็บไว้ที่จังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายแห่ง สำนักเลขาธิการได้ติดต่อผ่านกระทรวงกลาโหม สอบถามมายังกองทัพอากาศว่ามีพอจัดให้ได้หรือไม่ กองทัพอากาศแจ้งไปว่าเครื่องแบบนี้ได้ปลด ประจำการแล้ว มีเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ พร้อมที่จะมอบให้ 1 เครื่อง เป็นชนิดไม่ติดอาวุธและอยู่ในสภาพเรียบร้อย การอนุมัติอยู่ใน อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้อนุมัติและนำทูลเกล้าถวายเพื่อพระราชทานแก่พิพิธภัณฑ์เครื่องบินเมืองแคลร์มอนต์ต่อไป นับว่า ได้สนองฝ่าละอองธุรีพระบาทล้นเกล้าล้นกระหม่อม ในการเผยแพร่เกียรติคุณ และขื่อเสียงของชาติไทยในต่างแดนอีกด้วย
- การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ พ.ศ. 2505
ในปี พ.ศ. 2505 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ 113/05 ลงวันที่ 27 กันยายน 2505 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงและขยายกิจการพิพิธภัณฑ์ ทอ. (พล.อ.อ.บุญชู จันทรุเบกษา เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ) ต่อจากกรรมการชุดก่อน คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ประกอบด้วย
- จก.ยศ.ทอ. เป็นประธานกรรมการ
- จก.ส.ทอ. เป็นกรรมการ
- จก.สพ.ทอ. เป็นกรรมการ
- จก.พธ.ทอ. เป็นกรรมการ
- จก.ชย.ทอ. เป็นกรรมการ
- จก.สบ.ทอ. เป็นกรรมการ
- รอง จก.ชอ. เป็นกรรมการ
- พล.อ.ต.สดับ ธีระบุตร เป็นกรรมการ
- พล.อ.ต.ชูศักดิ์ ชุติวงศ์ เป็นกรรมการ
- หก.สม.สบ.ทอ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
โดยให้ ผช.เสธ.ทอ.ฝ่ายยุทธบริการ เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดใหม่นี้ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ในหลักใหญ่ 2 ประการ คือ
- วางแผนและดำเนินการทั้งปวงในอันที่จะปรับปรุงและขยายกิจการพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ ให้เหมาะสมและทันสมัย
- จัดหายุทธภัณฑ์ สันติภัณฑ์ทุกประเภท ตามลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
สถานที่เก็บรักษาและตั้งแสดงคงใช้โรงงานการซ่อม กรมช่างอากาศ ตามเดิม ต่อมาในปี 2509 ได้ รับมอบอาคารเพิ่มเติมอีก 4 หลัง ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน
- สถานที่อาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ พ.ศ. 2512
ด้วยกองทัพอากาศมีความจำเป็นต้องมอบพื้นที่บริเวณที่ตั้งอาคารพิพิธภัณฑ์เดิม (โรงงานกรมช่างอากาศที่ 3) ให้ใช้ประโยชน์ในกิจการบิน พาณิชย์ กองทัพอากาศจึงได้พิจารณาสร้างอาคาร พิพิธภัณฑ์ใหม่ ตั้งอยู่ด้านขวาของถนนพหลโยธิน (เมื่อเดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ) ห่างจากกรุงเทพ ฯ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ประมาณ 24 กิโลเมตร และเยื้องกับโรงเรียนนายเรืออากาศ ได้เริ่มสร้างเมื่อ วันที่ 26 มีนาคม 2511 แล้วเสร็จเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2511 สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 6,635,000.- บาท (หกล้านหกแสนสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2512 ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[1] [2]
เครื่องบินที่จัดแสดง
[แก้]ตัวย่อ | แบบของไทย | รูปภาพ | ชื่อในภาษาต่างประเทศ | RTAF Serial Number |
---|---|---|---|---|
บ.จ.3 | เครื่องบินโจมตีแบบที่ 3[3] | Curtiss SB2C-5 Helldiver | J3-4/94[4] | |
บ.จ.4 | เครื่องบินโจมตีแบบที่ 4[3] | Fairey Firefly I | J4-11/94[4] | |
บ.จ.5 | เครื่องบินโจมตีแบบที่ 5[5] | Rockwell OV-10C Bronco | J5-10/14[4] | |
บ.จ.6 | เครื่องบินโจมตีแบบที่ 6 | Cessna A-37B Dragonfly | J6-12/15[4] | |
บ.จ.6 | เครื่องบินโจมตีแบบที่ 6[5] | Cessna A-37B Dragonfly | J6-13/15[4] | |
บ.ท.1 | เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่ 1[6] | Breguet 14 | Replica[4] | |
บ.ท.2 | เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่ 2[3] | เครื่องบินบริพัตร | ... | |
เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 1[7] | Beechcraft C-45 Expeditor | ... | ||
เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2[7] | Douglas C-47 Skytrain | ... | ||
เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 4[7] | Fairchild C-123B Provider | L4-6/07[4] | ||
เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 9[8] | N-22B Mission Master | |||
เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 11[8] | Boeing 737 | L11-1/26[4] | ||
เครื่องบินสื่อสารแบบที่ 1[8] | Fairchild 24 | ... | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 7[ต้องการอ้างอิง] | Boeing P-12 | ... | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 10[6] | Curtiss Hawk III | ... | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 11[6] | Curtiss Hawk 75N | ... | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 14[9] | Supermarine Spitfire XIV | Kh14-1/93[4] | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 15[9] | Grumman F8F-1 Bearcat | Kh15-178/98[4] | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 16[7] | Republic F-84G Thunderjet | Kh16-06/99[4] | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 17[7] | North American F-86F Sabre | Kh17-10/04[4] | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 17 ก[7] | North American F-86L Sabre | Kh17k-5/06[4] | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 | Northrop F-5A Freedom Fighter | N/A[N 1] | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 18[7] | Northrop F-5A Freedom Fighter | Kh18-13/17[4] | ||
Fighter and Observation Type 18[ต้องการอ้างอิง] | Northrop RF-5A Freedom Fighter | TKh18-3/13[4] | ||
เครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ข[7] | Northrop F-5B Freedom Fighter | Kh18k-1/09[4] | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 1[9] | Westland WS-51 Dragonfly | H1-4/96[4] | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 1 ก[9] | Sikorsky YR-5A | H1k-1/96[4] | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 2 ก[9] | Hiller UH-12B Raven | H2k-4/96[4] | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 3[9] | Sikorsky H-19A Chickasaw | H3-3/97[4] | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 4[9] | Sikorsky H-34 Choctaw | ... | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 4 ก[9] | Sikorsky S-58T | H4k-64/30[4] | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 5[9] | Kaman HH-43B Huskie | H5-2/05[4] | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6[9] | Bell UH-1H Iroquois | ... | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6 ก[9] | Bell 212 | ... | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6 ข[9] | Bell 412 | ... | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6 ค[9] | Bell 412SP | ... | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6 ง[9] | Bell 412EP | ... | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 7[9] | Bell OH-13H Sioux | H7-9/15[4] | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 8[9] | Bell 206B-3 JetRanger III | H8-01/38[4] | ||
เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 9[9] | Eurocopter AS-332L-2 Super Puma II | ... | ||
Liaison Type 3[3] | Piper L-4 | S3-4/90[4] | ||
Liaison Type 4[3] | Stinson L-5 Sentinel | S4-10/90[4] | ||
Liaison Type 5[3] | Beechcraft Bonanza 35 | ... | ||
Liaison Type 6[3] | Grumman G-44A Widgeon | ... | ||
เฮลิคอปเตอร์แผนที่แบบที่ 1[9] | Bell 206B JetRanger | ... | ||
เฮลิคอปเตอร์แผนที่แบบที่ 2[9] | Kawasaki KH-4 | ... | ||
Observation and Attacker Type 1[6] | Vought V-93S | ... | ||
เครื่องบินตรวจการณ์แบบที่ 2[3] | Cessna O-1A Bird Dog | T2-27/15[4] | ||
เครื่องบินตรวจการณ์แบบที่ 2 | Cessna O-1E Bird Dog | T2-29/15[4] | ||
เครื่องบินฝึกแบบที่ 6[6] | Tachikawa Ki-55 | ... | ||
เครื่องบินฝึกแบบที่ 8 | North American T-6F Texan | F8-99/94[4] | ||
เครื่องบินฝึกแบบที่ 8[3] | North American T-6G Texan | ... | ||
เครื่องบินฝึกแบบที่ 9[3] | De Havilland Canada DHC-1 Chipmunk | ... | ||
เครื่องบินฝึกแบบที่ 10[3] | De Havilland Tiger Moth | ... | ||
เครื่องบินฝึกแบบที่ 11[ต้องการอ้างอิง] | Lockheed T-33 Shooting Star | F11-23/13[4] | ||
เครื่องบินตรวจการณ์และฝึกแบบที่ 11[ต้องการอ้างอิง] | Lockheed RT-33 Shooting Star | TF11-5/10[4] | ||
เครื่องบินตรวจการณ์และฝึกแบบที่ 11[ต้องการอ้างอิง] | Lockheed RT-33 Shooting Star | TF11-8/13[4] | ||
เครื่องบินโจมตีฝึกแบบที่13[ต้องการอ้างอิง] | North American T-28 Trojan | JF13-106/14[4] | ||
เครื่องบินฝึกแบบที่ 17[3] | RTAF-4 | F17-3/17[4] | ||
เครื่องบินฝึกแบบที่ 18[ต้องการอ้างอิง] | RFB Fantrainer | F18-01/27[4] | ||
เครื่องบินฝึกแบบที่ 18[ต้องการอ้างอิง] | RFB Fantrainer | F18k-15/32[4] | ||
Utility Type 1[3] | Helio U-10B Courier | ... | ||
N/A[N 2] | Breguet Type III | Replica[4] | ||
N/A[N 3] | Douglas A-1 Skyraider | N/A | ||
N/A[N 4] | Mikoyan-Gurevich MiG-21 | N/A | ||
... | Pazmany PL-2 | ... | ||
... | RTAF-2 | ... | ||
... | RTAF-5 | ... |
-
เครื่องโบอิ้ง 100อี (Boeing 100E) -
เครื่องฝึกบิน ทะชิกาวา Ki-36 (Tachikawa Ki-36) -
เครื่อง Grumman F8F-1 Bearcat
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cummings, Joe. Bangkok. Lonely Planet. p. 98. ISBN 1740594606.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Boyne, Walter J. (2001). The Best of Wings Magazine. Brassey's. p. 41. ISBN 1574883682.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 "Building 1". Royal Thai Air Force Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 4.25 4.26 4.27 4.28 4.29 4.30 4.31 4.32 4.33 4.34 4.35 4.36 Darke, Steve (26 December 2016). "ROYAL THAI AIR FORCE MUSEUM, DON MUEANG" (PDF). The Thai Aviation Website. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
- ↑ 5.0 5.1 "Building 3: Aircraft used during anti-communism campaign". Royal Thai Air Force Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2013. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Building 2". Royal Thai Air Force Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2013. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 "Outdoor Display". Royal Thai Air Force Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2013. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "วัตถุพิพิธภัณฑ์ – พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ NATIONAL AVIATION MUSEUM OF THE ROYAL THAI AIR FORCE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-03. สืบค้นเมื่อ 2024-06-04.
- ↑ 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 9.12 9.13 9.14 9.15 9.16 9.17 9.18 "Building 5". Royal Thai Air Force Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2013. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://www.rtaf.mi.th/museum/ เก็บถาวร 2006-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°55′11″N 100°37′20″E / 13.919584°N 100.622246°E
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "N" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="N"/>
ที่สอดคล้องกัน
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่March 2017
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่April 2017
- พิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพมหานคร
- หน่วยงานในสังกัดกองทัพอากาศไทย
- พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
- สิ่งก่อสร้างในเขตดอนเมือง
- พิพิธภัณฑ์การบินและอวกาศในประเทศไทย
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2495
- Pages with reference errors that trigger visual diffs