พระเจ้าอมานุลเลาะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าอมานุลเลาะห์ที่ 1
غازي امان الله خان
พระบรมฉายาลักษณ์ พระเจ้าอมานุลเลาะห์ที่ 1
พระมหากษัตริย์อัฟกานิสถาน
ครองราชย์9 มิถุนายน พ.ศ. 2469 – 14 มกราคม พ.ศ. 2472
ก่อนหน้าตนเอง
(ในฐานะเจ้าชาย)
ถัดไปพระเจ้าอินายาตุลเลาะห์ที่ 1 (ในฐานะพระมหากษัตริย์)
เอมีร์แห่งอัฟกานิสถาน
ครองราชย์28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2469
ก่อนหน้าเอมีร์นาสรุลเลาะห์ที่ 1 (ในฐานะเอมีร์)
ถัดไปตนเอง (ในฐานะพระมหากษัตริย์)
ประสูติ1 มิถุนายน พ.ศ. 2435
Paghman, ราชรัฐอัฟกานิสถาน
สวรรคต25 เมษายน พ.ศ. 2503 (67 ปี)
อิตาลี
ฝังพระศพJalalabad, อัฟกานิสถาน
คู่อภิเษกSoraya Tarzi
พระราชบุตร
See
  • Princess Ameenah Shah
    Princess Abedah Bibi
    Princess Meliha
    Crown Prince Rahmatullah of Afghanistan
    Prince Saifullah
    Prince Hymayatullah
    Princess Adeela
    Prince Ehsanullah
    Princess India
    Princess Nagia
ราชวงศ์บารักไซ
พระราชบิดาพระเจ้าฮาบีบุลเลาะห์
พระราชมารดาSarwar Sultana Begum
พระเจ้าอมานุลเลาะห์กับมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ใน อังการา เมื่อ พ.ศ. 2471

พระเจ้าอมานุลเลาะห์ หรือ อมานุลลอหฺ ข่าน (Amanullah; ภาษาปาทาน, ภาษาเปอร์เซีย, ภาษาอูรดู, ภาษาอาหรับ: أمان الله خان) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอัฟกานิสถาน ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2462–2472 ทรงมีบทบาทในการทำให้อัฟกานิสถานได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2462 และปฏิรูปประเทศอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดจลาจลภายในประเทศ จึงถูกบีบให้สละราชบัลลังก์ในที่สุด

พระองค์พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2435 เป็นพระโอรสของพระเจ้าฮาบีบุลเลาะห์เมื่อพระราชบิดาถูกปลงพระชนม์ในปี พ.ศ. 2462 พระองค์ทรงเป็นข้าหลวงแห่งกรุงคาบูลและสามารถเจรจาให้กลุ่มชนชั้นนำในอัฟกานิสถานมาสนับสนุนให้พระองค์ครองราชย์ได้สำเร็จ นอกจากนั้น พระองค์ยังดำเนินนโยบายแข็งกร้าวกับอังกฤษ และได้ประกาศญิฮาดกับอังกฤษในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2462 แม้จะไม่สามารถเอาชนะอังกฤษได้อย่างเด็ดขาด แต่ก็นำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาราวัลปินดี ที่ยอมให้อัฟกานิสถานมีเอกราชโดยสมบูรณ์ นอกจากนั้น พระองค์ยังทำสนธิสัญญากับรัสเซีย อิหร่าน และตุรกี รัสเซียในสมัยเลนินให้การสนับสนุนอัฟกานิสถานมาก และได้ลงนามในสนธิสัญญากับรัสเซียเพื่อรับรองความเป็นเอกราชของรัฐบูคาราทางใต้ของรัสเซีย ต่อมาใน พ.ศ. 2465 รัสเซียที่เปลี่ยนมาเป็นสหภาพโซเวียต ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองรัฐบูคารา และพยายามเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ในอัฟกานิสถาน ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน พระองค์จึงหันไปเป็นมิตรกับเยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นเพื่อถ่วงดุลกับโซเวียต

พระองค์เป็นผู้ริเริ่มพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอัฟกานิสถาน ใน พ.ศ. 2465 ซึ่งมีลักษณะคล้ายของจักรวรรดิออตโตมัน เปลี่ยนการเก็บภาษีจากการเก็บเป็นผลผลิตทางการเกษตรมาเป็นเงินสด ยกเลิกการสวมผ้าคลุมหน้าสตรีตามแบบศาสนาอิสลาม แต่การปฏิรูปของพระองค์ได้รับการต่อต้านจากประชาชนที่เห็นว่าพระองค์ก้าวก่ายงานของผู้นำศาสนา มีการจัดตั้งขบวนการปุซตุนเพื่อต่อต้านพระองค์ แต่สามารถปราบได้ใน พ.ศ. 2467 แต่ไม่สามารถหยุดการก่อกบฏได้ เมื่อเกิดการกบฏในช่วง พ.ศ. 2471 พระองค์จึงถูกขับไล่ออกจากราชบัลลังก์และลี้ภัยไปยังกันดะฮาร์เมื่อ 14 มกราคม พ.ศ. 2471

กลุ่มกบฏที่มีบาเจะห์ ชิกโกหรือ ฮาบิบุลลอห์ กาลากานีเป็นผู้นำเข้ายึดกรุงคาบูล แล้วตั้งตนเป็นเจ้าผู้ครองอัฟกานิสถาน ยกเลิกการปฏิรูปของพระเจ้าอมานุลเลาะห์ พระเจ้าอมานุลเลาะห์ได้รวบรวมกำลังที่กันดะฮาร์ และยกทัพไปยังกัซนี แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน โดยพระญาติของพระองค์คือ นาดีร ข่าน ได้ปราบปรามกลุ่มของกาลากานีและขึ้นครองราชย์เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2472 พระเจ้าอมานุลเลาะห์จึงตัดสินใจลี้ภัยการเมืองไปยังบริติชอินเดีย จากนั้นจึงเสด็จไปยังอิตาลี จนสิ้นพระชนม์ที่สวิตเซอร์แลนด์เมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2503 พระศพของพระองค์ถูกนำกลับมายังอัฟกานิสถานและฝังไว้ทางตะวันออกของจาลาลาบัด

อ้างอิง[แก้]

  • มนัส เกียรติธาริช. พระเจ้าอมานุลเลาะห์ ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 116 – 117

บรรณานุกรม[แก้]

  • Rashikh, Jawan Shir (2017). Nationalism in Afghanistan. Kabul, Afghanistan: Academia. pp. 1–143. ISBN 9780060505080.
  • Ahmed, Fazel (3 September 2016). "Chapter 5 King Amanullah Khan". Conspiracies and Atrocities in Afghanistan,1700-2014 (PDF). Canada: Afghan3. pp. 183–215. ISBN 978-0786191703.{{cite book}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]