พระเจ้าธีโอดอริคมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีโอดอริค
เหรียญใหญ่ (หรือ triple solidus) ที่มีพระบรมสาทิสลักษณ์ธีโอดอริค ป. ค.ศ. 491–501[a]
กษัตริย์แห่งออสโตรกอท
ครองราชย์ค.ศ. 471 – 30 สิงหาคม ค.ศ. 526
ก่อนหน้าเธโอเดมีร์
ถัดไปอาธาลาริก
พระมหากษัตริย์อิตาลี
ครองราชย์15 มีนาคม ค.ศ. 493 – 30 สิงหาคม ค.ศ. 526
ก่อนหน้าพระเจ้าโอโดเอเซอร์
ถัดไปอาธาลาริก
กษัตริย์แห่งวิซิกอท
ครองราชย์ค.ศ. 511 – 30 สิงหาคม ค.ศ. 526
ก่อนหน้าเกซาเลก
ถัดไปอามาลาริก
ประสูติค.ศ. 454
ใกล้การ์นุนตุม (ปัจจุบันอยู่ในรัฐนีเดอร์เอิสเตอร์ไรช์) จักรวรรดิโรมันตะวันตก
สวรรคต30 สิงหาคม ค.ศ. 526(526-08-30) (71–72 ปี)
ราเวนนา อาณาจักรออสโตรกอท
คู่อภิเษกอาอูโดเฟลดา
พระราชบุตรอามาลาซูอินธา
เธโอเดโกธา
ออสโตรกอโท
ราชวงศ์อามาลี
พระราชบิดาเธโอเดมีร์
พระราชมารดาเอเรเลอูวา
ศาสนาลัทธิเอเรียส

ธีโอดาริค (หรือ ธีโอเดริค) มหาราช Great (ค.ศ. 454 – 30 สิงหาคม ค.ศ. 526) มีอีกพระนามว่า ธีโอดอริคแห่งอามัล (กอทิก: *𐌸𐌹𐌿𐌳𐌰𐍂𐌴𐌹𐌺𐍃, อักษรโรมัน: *Þiudareiks; กรีก: Θευδέριχος, อักษรโรมัน: Theuderikhos; ละติน: Theoderīcus) เป็นกษัตริย์แห่งชาวออสโตรกอท (ค.ศ. 475–526) และผู้ปกครองอาณาจักรออสฌตรกอทแห่งอิตาลีใน ค.ศ. 493 ถึง 526[3] อุปราชของชาววิซิกอท (ค.ศ. 511–526) และแพทริเซียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก ธีโอดอริคปกครองจักรวรรดิที่มีพื้นที่จากมหาสมุทรแอตแลนติกถึงทะเลเอเดรียติกในฐานผู้ปกครองดินแดนกอททั้งหมด แม้ว่าธีโอดอริคใช้ตำแหน่ง 'กษัตริย์' (rex) นักวิชาการบางส่วนจัดให้พระองค์เป็นจักรพรรดิโรมันตะวันตกเพียงในนาม[b] เนื่องจากพระองค์ปกครองพื้นที่อดีตจักรวรรดิโรมันตะวันตกขนาดใหญ่ ได้รับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของอดีตจักรวรรดิโรมันตะวันตกจากคอนสแตนตินเปิลใน ค.ศ. 497 และพลเมืองบางส่วนเรียกพระองค์ด้วยตำแหน่ง เอากุสตุส

วัยเยาว์และการแสวงหาประโยชน์ช่วงแรก[แก้]

ธีโอดาริคเสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 454 ที่พันโนเนีย ริมทะเลสาบน็อยซีเดิลใกล้การ์นุนตุม โดยเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเธโอเดมีร์ ขุนนาง อามาลีเชื้อสายเจอร์แมนิกกับเอเรเลอูวา พระสนม[4] พระนามในภาษากอทิกที่สร้างขึ้นใหม่โดยนักภาษาศาสตร์เป็น *Þiudareiks แปลว่า "ผู้คน-กษัตริย์" หรืแ "ผู้ปกครองผู้คน"[5]

สิ่งสืบทอด[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียงว่าสิ่งนี้คือเหรียญหรือเหรียญใหญ่ที่สวมไว้บนคอ เนื่องจากน้ำหนัก รายละเอียด และความหนา[1] จารึกภาษาละตินตอนปลาย REX THEODERICVS PIVS PRINCIS ก็มีความสับสน โดยคำว่า "princis" สามารถหมายถึง "princ[eps] i[nvictus] s[emper]" (แปล, 'ผู้นำที่ไม่เคยถูกพิชิต')[2] สังเกตหนวดและทรงผมแบบเจอร์แมนิก และอาจมีกะโหลกยืด
  2. ดูตัวอย่างใน Jonathan J. Arnold's Theoderic and the Roman Imperial Restoration (2014).

อ้างอิง[แก้]

  1. Silber 1970, p. 42.
  2. Steffens 1903, p. 3.
  3. Frassetto 2003, p. 335.
  4. Wiemer 2023, p. 83.
  5. Langer 1968, p. 159.

ข้อมูล[แก้]

  • Frassetto, Michael (2003). Encyclopedia of Barbarian Europe: Society in Transformation. Santa Barbara, CA: ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-263-9.
  • Langer, William L. (1968). "Italy, 489–554". An Encyclopedia of World History. George G. Harrap and Co.
  • Silber, Manfred (1970). The Gallic Royalty of the Merovingians in Its Relationship to the Orbis Terrarum Romanum During the 5th and the 6th Centuries A.D. Zürich: Peter Lang.
  • Steffens, Franz (1903). Lateinische Paläographie: Hundert Tafeln in Lichtdruck, mit gegenüberstehender Transscription, nebst Erläuterungen und einer systematischen Darstellung der Entwicklung der lateinischen Schrift. Freiburg: Universitäts-Buchhandlung. ISBN 9783112202593.
  • Wiemer, Hans-Ulrich (2023). Theoderic the Great: King of Goths, Ruler of Romans. แปลโดย Noël Dillon. New Haven and London: Yale University Press. ISBN 978-0-30025-443-3.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Theoderic the Great