พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส

ฌูเซ ฟรานซิสกู อันโตเนียว อินาซิอู นอร์แบร์ตู อะโกสทินโญ เดอ บรากังซา
พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
เจ้าชายแห่งโปรตุเกส
เจ้าชายแห่งบราซิล ดยุกแห่งบรากังซา
พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส
ครองราชย์31 กรกฎาคม ค.ศ. 1750 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777
รัชสมัย26 ปี 208 วัน
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกส
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส
และ
พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
ประสูติ6 มิถุนายน ค.ศ. 1714
พระราชวังริเบย์รา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
สวรรคต24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777
พระราชวังหลวงซินทรา ซินทรา ประเทศโปรตุเกส
(พระชนมายุ 62 พรรษา)
พระราชบุตรสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรียนา ฟรานซิสกาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงโดโรเธเอียแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงเบเนดิกตาแห่งโปรตุเกส
พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
ราชวงศ์บรากังซา
พระราชบิดาพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกส
พระราชมารดาอาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส ผู้ปฏิรูป (6 มิถุนายน ค.ศ. 1714 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777; โปรตุเกส: José Francisco António Inácio Norberto Agostinho de Bragança, ฌูเซ ฟรานซิสกู อันโตเนียว อินาซิอู นอร์แบร์ตู อะโกสทินโญ เดอ บรากังซา) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 25 แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ[แก้]

พระบรมสาทิสลักษณ์เจ้าชายฌูเซ เจ้าชายแห่งบราซิล ดยุคแห่งบรากังซา วาดโดย ปิแยร์ อันโตน กีลลาร์ด

เจ้าชายฌูเซฟพระราชสมภพในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1714 ณ พระราชวังริเบย์รา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่สามในพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกสกับพระมเหสี อาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย เจ้าชายฌูเซฟมีพระเชษฐา 1 พระองค์ คือ เจ้าชายเปโดร แต่สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชนมายุเพียง 2 ชันษา มีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ คือ เจ้าหญิงบาร์บาราแห่งโปรตุเกส และเจ้าชายฌูเซฟมีพระอนุชาอีก 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายคาร์ลอส,เจ้าชายเปโดรและเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ เจ้าชายคาร์ลอสและเจ้าชายอเล็กซานเดอร์นั้นต่อมาสิ้นพระชนม์ขณะทรงพระเยาว์

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเปโดร ผู้เป็นพระเชษฐา ทำให้เจ้าชายฌูเซฟได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งบราซิล ดยุกแห่งบรากังซาองค์ที่ 15 ถือว่าเป็นรัชทายาทโดยชอบธรรมแห่งราชบัลลังก์โปรตุเกส

การอภิเษกสมรสและรัชทายาท[แก้]

ในปีค.ศ. 1729 ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษา เจ้าชายฌูเซฟอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงสเปน พระนามว่า เจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งสเปน พระราชธิดาในพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนกับเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซ พระราชินีแห่งสเปน และ เจ้าหญิงบาร์บาราแห่งโปรตุเกส พระเชษฐภคินีของพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งสเปน ซึ่งต่อไปคือพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 6 แห่งสเปน

เจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียสนพระทัยด้านดนตรีและการล่าสัตว์แต่ทรงจริงจังและไม่โปรดเรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ ของเจ้าชายฌูเซฟและไม่ทรงลังเลที่จะเปิดเผยความเป็นตัวของพระองค์เอง เจ้าชายฌูเซฟและเจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียมีพระราชธิดาที่ดำรงพระชนมชีพจนเจริญพระชันษา 4 พระองค์ และมีพระราชโอรสที่สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ 2 พระองค์ พระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ 1 พระองค์และทรงแท้ง 1 ครั้งในปีค.ศ. 1750

พระราชธิดาที่ดำรงพระชนมชีพจนเจริญพระชันษาทั้ง 4 พระองค์ มีพระนามดังนี้

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส 173417 ธันวาคม
ค.ศ. 1734
181620 มีนาคม
ค.ศ. 1856
อภิเษกสมรส 6 มิถุนายน ค.ศ. 1760
เจ้าชายเปโดรแห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระปิตุลา
มีรัชทายาท 6 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายฌูเซแห่งบราซิล
เจ้าชายโจอาว ฟรานซิสโกแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรีย อิซาเบลแห่งโปรตุเกส
พระเจ้าจอห์นที่ 6 แห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรีย คลีเมนทีนาแห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงมาเรียนา ฟรานซิสกาแห่งโปรตุเกส 17367 ตุลาคม
ค.ศ. 1736
18136 พฤษภาคม
ค.ศ. 1813
เตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส แต่พระมารดาของพระนางปฏิเสธแผนการนี้
สิ้นพระชนม์โดยไม่ได้อภิเษกสมรส
เจ้าหญิงโดโรเธเอียแห่งโปรตุเกส 173921 กันยายน
ค.ศ. 1739
177114 มกราคม
ค.ศ. 1771
เตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับหลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์ แต่พระนางทรงปฏิเสธที่จะอภิเษกสมรสกับดยุก
สิ้นพระชนม์โดยไม่ได้อภิเษกสมรส
เจ้าหญิงเบเนดิกตาแห่งโปรตุเกส 174625 กรกฎาคม
ค.ศ. 1746
182918 สิงหาคม
ค.ศ. 1829
อภิเษกสมรส 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777
เจ้าชายฌูเซแห่งบราซิล ผู้เป็นพระนัดดา
ไม่มีรัชทายาท

เจ้าชายฌูเซฟทรงอุทิศพระองค์เพื่อคริสต์ศาสนาและวงการโอเปรา พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในผู้ที่สะสมบทละครโอเปราเป็นจำนาวนมากที่สุดในยุโรป

พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและสวรรคต[แก้]

พระเจ้าฌูเซฟและพระนางมาเรียนา วิกตอเรียในวันขึ้นครองราชสมบัติ

เจ้าชายฌูเซฟเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟในปีค.ศ. 1750 ขณะมีพระชนมายุ 35 พรรษา หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกส พระราชบิดา เฉลิมพระนาม "พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส"หรือในภาษาอังกฤษว่า "พระเจ้าฌูเซฟแห่งโปรตุเกส" และในทันทีเมื่อครองราชย์ พระราชอำนาจของพระองค์กลับไปอยู่ในมือของเซบาสเตียว ฌูเซ เดอ คาร์วาลโฮ อี เมโล ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม "มาควิสแห่งพอมบาล" พระเจ้าฌูเซฟทรงสถาปนาเจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกา พระราชธิดาพระองค์ใหญ่เป็นรัชทายาท ในพระอิศริยยศเจ้าหญิงแห่งบราซิล เนื่องมาจากไม่มีพระราชโอรส

เหตุการณ์เรื่องอื้อฉาวทาวอรา: การลอบปลงพระชนม์พระเจ้าฌูเซฟ

มาควิสแห่งพอมบาลซึ่งมีอำนาจมากได้ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและอาณานิคมของโปรตุเกส เพื่อให้สามารถเจริญทัดเทียมชาติตะวันตกชาติอื่น ๆ และเพื่อรักษาอำนาจของเขาให้ยืนยงตลอดกาล ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ "เรื่องอื้อฉาวทาวอรา" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าฌูเซฟระหว่างเสด็จตามถนนในกรุงลิสบอน พระองค์ทรงถูกยิงที่พระพาหาและผู้บังคับพาหนะได้รับบาดเจ็บ แต่พระองค์ก็ทรงรอดพระชนม์ชีพมาได้ มาควิสแห่งพอมบาลได้สั่งจับกุมคนตระกูลทาวอราซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองที่เป็นปริปักษ์กับรัฐบาลของมาควิสในตอนนั้นและตกเป็นผู้ต้องสงสัย และเขาได้สั่งขับไล่บาทหลวงคณะเยซูอิต ที่ต้องสงสัยว่ารู้เห็นกับการลอบปลงพระชนม์ในเดือนค.ศ. 1759 ซึ่งทั้งตระกูลทาวอราและคณะเยซูอิตล้วนยเป็นปริปักษ์กับมาควิสทั้งสิ้น ทำให้มาควิสไร้ซึ่งผู้ต่อต้านและเขาได้ควบคุมองค์กรสาธารณะต่าง ๆ และองค์การทางศาสนา ทำให้ประเทศเดินหน้าเข้าสู่ยุคภูมิธรรม

ในรัชสมัยของพระเจ้าฌูเซฟได้เกิดมหันตภัยร้ายแรงคือ แผ่นดินไหวในลิสบอน ค.ศ. 1755 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100,000 คน แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อพระองค์ทำให้ประชวรด้วยโรคกลัวที่ปิดทึบ(Claustrophobia) ไม่สามารถประทับใกล้ผนังอาคารได้ หลังจากพระราชวังริเบย์ราถูกทำลายจากแผ่นดินไหว พระองค์ได้แปรพระราชฐานไปยังเมืองอาจูดา และทรงสร้างพระตำหนักเล็ก ๆ ที่อาจูดา ทางเมืองหลวงได้รับการฟื้นฟูและพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไม่พังทลาย ยังคงอยู่ที่จัตุรัสกลางกรุงลิสบอน

พระเจ้าฌูเซฟเสด็จสวรรคตในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777 ขณะมีพระชนมายุ 62 พรรษา เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาครองราชสมบัติสืบต่อ พระนาม พระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส และเป็นจุดสิ้นสุดอำนาจของมาควิสแห่งพอมบาล เขาถูกพระราชินีมาเรียปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากพระนางทรงเกลียดชังเขา เพราะเขาเป็นคนเย่อหยิ่ง ยโสและมีพฤติกรรมรุนแรง และทรงประกาศไม่ให้เขาเข้าใกล้พระนางเป็นระยะ 20 ไมล์

พระอิศริยยศ[แก้]

พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าฌูเซฟ ณ กรุงลิสบอน
  • 6 มิถุนายน ค.ศ. 1714 – 29 ตุลาคม ค.ศ. 1714: เจ้าชายฌูเซฟแห่งโปรตุเกส
  • 29 ตุลาคม ค.ศ. 1714 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1750: เจ้าชายแห่งบราซิล ,ดยุกแห่งบรากังซา
  • 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1750 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777: พระหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ

พระราชตระกูล[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. เทโอดอซิโอที่ 2 ดยุกแห่งบรากังซา
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. อนา เดอ วาเลสโก ยี กีโรน
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าเปดรูที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. ฮวน มานูเอล เปเรซ เดอ กุสแมน ดยุกแห่งเมดินา ซิโดเนีย
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงลุยซาแห่งเมดินา ซิโดเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ฮวนนา ลอเรนซา เดอ ซานลอเวล
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. โวล์ฟกัง วิลเฮล์ม, เคานท์ พาลาทิเนตแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
10. ฟิลิป วิลเลียม อีเล็กเตอร์ พาเลนทีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. ดัสเชสแม็กดาเลนแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จอร์จที่ 2 แลนด์เกรฟแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
11. แลนด์เกรฟวีนเอลิซาเบธ อเมลีแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงโซเฟีย เอลีโอนอร์แห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าฌูเซฟแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. พระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
12. พระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. ดัสเชสมาเรีย อันนาแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
6. พระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. พระเจ้าเฟลีเปที่ 3 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงมาเรีย อันนาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. ดัสเชสมาร์กาเร็ตแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
3. อาร์คดัสเชสมาเรีย แอนนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. โวล์ฟกัง วิลเฮล์ม, เคานท์ พาลาทิเนตแห่งเนาบูร์ก=20
 
 
 
 
 
 
 
14. ฟิลิป วิลเลียม อีเล็กเตอร์ พาเลนทีน=10
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. ดัสเชสแม็กดาเลนแห่งบาวาเรีย=21
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงเอเลโอนอร์ แม็กดาเลนแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. จอร์จที่ 2 แลนด์เกรฟแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์=22
 
 
 
 
 
 
 
15. แลนด์เกรฟวีนเอลิซาเบธ อเมลีแห่งเฮสส์-ดัมสตัดท์=11
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงโซเฟีย เอลีโอนอร์แห่งแซ็กโซนี=23
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส ถัดไป
พระเจ้าจอห์นที่ 5
พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
(31 กรกฎาคม ค.ศ. 1750 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777)
พระราชินีนาถมาเรียที่ 1
และ
พระเจ้าเปโดรที่ 3