พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นตรี
เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง1 เมษายน พ.ศ. 2467 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
ถัดไปพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)
ประสูติ11 สิงหาคม พ.ศ. 2426
สิ้นพระชนม์5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 (59 ปี)
หม่อมหม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา
ราชสกุลเทวกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
พระมารดาหม่อมลม้าย เทวกุล ณ อยุธยา
ลายพระอภิไธย

มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย พระนามเดิม หม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์ เทวกุล (11 สิงหาคม พ.ศ. 2426 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486) อดีตเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ องคมนตรี และอภิรัฐมนตรี

พระประวัติ[แก้]

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ประสูติแต่หม่อมลม้าย เทวกุล ณ อยุธยา เดิมมีพระสกุลยศเป็นหม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์

ในปี พ.ศ. 2457 - พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสยาม ประจำราชอาณาจักรเดนมาร์ก และดำรงตำแหน่งอัครราชทูต ประจำ ประเทศเยอรมนี ในระหว่างปี พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2460

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 โปรดให้สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์[1] เมื่อพระบิดาซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศสิ้นพระชนม์ลง จึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็นผู้แทนเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2466[2] ได้รับพระราชทานตราบัวแก้วประจำตำแหน่งเสนาบดีเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม[3] แล้วได้รับโปรดเกล้าให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2466[4] ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย ทรงศักดินา 11000[5] และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นอภิรัฐมนตรีในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2474[6]

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2462) ทรงเป็นผู้แทนสยาม ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ครั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร และพ้นจากตำแหน่งเสนบดีกระทรวง หลังเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ต่อมาในปี 2485 ประชวรด้วยพระโรคไข้จับสั่นและสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคเส้นพระโลหิตในพระมัตถลุงค์แตก เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2486 รวมพระชันษา 59 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2486[7]

โอรสธิดา[แก้]

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย เสกสมรสกับหม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา ท.จ.ว. มีโอรส-ธิดา 12 คน คือ[8]

  1. หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ เทวกุล สมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต
  2. หม่อมราชวงศ์ทวยเทพ เทวกุล
  3. หม่อมราชวงศ์เทวไทย เทวกุล
  4. หม่อมราชวงศ์จันทรรัตน์ เทวกุล
  5. หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล
  6. หม่อมราชวงศ์เฉลิมวิมาน เทวกุล สมรสกับ หม่อมราชวงศ์จิตติน เกษมศรี
  7. หม่อมราชวงศ์จิตรคุปต์ เทวกุล
  8. หม่อมราชวงศ์ศุภกันต์ เทวกุล
  9. หม่อมราชวงศ์ยันต์เทพ เทวกุล
  10. หม่อมราชวงศ์ภัทราตรีทศ เทวกุล เสกสมรสกับหม่อมเจ้ายุธิษเฐียร สวัสดิวัตน์
  11. หม่อมราชวงศ์ฉันทัศตรีทศ เทวกุล
  12. หม่อมราชวงศ์พัฒนาตรีทศ เทวกุล

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • หม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์ เทวกุล (11 สิงหาคม พ.ศ. 2426 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
  • พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระยศ[แก้]

พระยศพลเรือน[แก้]

  • มหาอำมาตย์เอก[9]
  • มหาอำมาตย์โท
  • มหาอำมาตย์ตรี[10]

พระยศกองเสือป่า[แก้]

  • นายหมู่ตรี
  • นายหมวดตรี[11]

ตำแหน่ง[แก้]

  • 4 เมษายน 2463 – องคมนตรี[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. "ประกาศเลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 313–317. 19 พฤศจิกายน 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้แทนเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศและเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 41–42. 1 กรกฎาคม 2466. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "พระราชทานตราตำแหน่งเสนาบดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง): 1084. 8 กรกฎาคม 2466. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือและเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 1–2. 1 เมษายน 2467. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 185–188. 10 พฤศจิกายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอภิรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 366. 25 ตุลาคม 2474. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 197
  8. "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-06. สืบค้นเมื่อ 2006-11-30.
  9. พระราชทานยศมหาอำมาตย์เอก
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๐๐, ๖ มกราคม ๒๔๖๐
  11. พระราชทานยศเสือป่า
  12. พระราชทานตราตั้งองคมนตรี
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่ง มหาจักรีบรมราชวงศ์, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๗, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔๘, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๗๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๒๑, ๖ กรกฎาคม ๒๔๖๒
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๕, ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๖๘
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๕๔, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๘
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๘๔, ๑๗ มกราคม ๒๔๖๘
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๒๗, ๒ มกราคม ๒๔๖๙
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๗๗, ๑๓ มีนาคม ๒๔๖๙
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๒๒, ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๑
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๐๓, ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๐
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๕๑, ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๘๘, ๖ มกราคม ๒๔๖๖
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๒๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๔๗๐
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๒, ๑๖ มิถุนายน ๒๔๗๒
  33. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๘, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
  34. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๙, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
บรรณานุกรม
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 197. ISBN 974-221-818-8
  • พระประวัติและงานของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย, กรุงเทพฯ, บริษัทคราฟแมนเพรส จำกัด, 2526.