พระยามหาวงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้ามหาวงศ์
พระยาน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน
องค์ที่ 61 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชาภิเษก23 เมษายน พ.ศ. 2381
ครองราชย์23 เมษายน พ.ศ. 2381 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2394
รัชกาล12 ปี 183 วัน
พระอิสริยยศพระยาประเทศราช
ก่อนหน้าเจ้าอชิตวงษ์
ถัดไปเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
พิราลัย23 ตุลาคม พ.ศ. 2394
ณ คุ้มหลวงนครเมืองน่าน
พระชายาแม่เจ้ายอดทิพมโนลาอัครเทวี
ชายาแม่เจ้าแก้วเทวี
พระราชบุตร5 พระองค์
พระนามเต็ม
พระยามหาวงศวรราชานราธิบดี พระยาน่าน[1]
ราชสกุลมหาวงศนันทน์ [2]
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาเจ้าฟ้ามหาพรหม เจ้าฟ้าเมืองเทิง
พระมารดาแม่เจ้านางเลิศอัครเทวี

เจ้าหลวงมหาวงศ์[3] หรือ เจ้ามหาวงศ์[4] ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 61 และองค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงเป็นราชโอรสในเจ้าฟ้าหลวงมหาพรหม เจ้าฟ้าเมืองเทิง กับแม่เจ้านางเลิศอัครเทวี (ผู้เป็นพระธิดาในเจ้าไชยราชากับเจ้านางเทพ) ส่วนเจ้านางเทพ (ผู้เป็นพระธิดาในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ กับแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อัครเทวี) และทรงเป็นพระปนัดดา (เหลน) ในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2381 - พ.ศ. 2394

พระประวัติ[แก้]

เจ้าหลวงมหาวงษ์ หรือ เจ้ามหาวงษ์ ทรงเป็นราชโอรสองค์โตในเจ้าฟ้ามหาพรหม เจ้าฟ้าเมืองเทิง ประสูติแต่แม่เจ้านางเลิศอัครเทวี (ผู้เป็นพระธิดาในเจ้าไชยราชากับแม่เจ้านางเทพ) ส่วนแม่เจ้านางเทพ (ผู้เป็นพระธิดาในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ กับแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อัครเทวี) และทรงเป็นพระปนัดดา(เหลน)ในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงมีพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้ามารดา 8 พระองค์ ดังนี้

  1. เจ้ามหาวงษ์ ภายหลังเป็นได้ พระเจ้ามหาวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 61
  2. เจ้าเมืองแก้ว
  3. เจ้าน้อยพิมพิสาร
  4. เจ้าวุฒนะ ภายหลังเป็นได้ เจ้าหลวงเมืองเทิง
  5. เจ้าสุริยช่อฟ้า
  6. แม่เจ้าอุบลวรรณา
  7. แม่เจ้าศรีวรรณา
  8. แม่เจ้าจันทิมา

พระอิสริยยศ[แก้]

  1. เจ้าพระเมืองมหาวงษ์
  2. เจ้ามหาอุปราชามหาวงษ์
  3. เจ้าพระยาน่านมหาวงษ์

พ.ศ. 2381 เจ้ามหาอุปราชามหาวงษ์ ท่านก็ได้ลงไปเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กาลนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จิงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร แต่งตั้ง เจ้ามหาอุปราชามหาวงษ์ ให้เป็น เจ้าพระยาน่านมหาวงษ์ เจ้านครเมืองน่าน

พระชายา และราชบุตร[แก้]

เจ้ามหาวงษ์ ทรงมีพระชายา 2 องค์ และพระโอรส พระธิดา 5 พระองค์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • พระชายาที่ 1 แม่เจ้ายอดทิพมโนลาอัครเทวี ประสูติพระโอรส 3 พระองค์ ดังนี้
  1. เจ้าอินปั๋น ภายหลังเป็น เจ้าบุรีรัตนหัวเมืองแก้ว เมืองน่าน
  2. เจ้าคำเครื่อง ภายหลังเป็น พระยาวังขวา เมืองน่าน
  3. เจ้าน้อยเมือง
  • พระชายาที่ 2 แม่เจ้าแปงเฮือนเทวี ประสูติพระโอรส 2 พระองค์ ดังนี้
  1. เจ้าพิมพิสาร
  2. เจ้าตุ้ย ภายหลังเป็น พระยาไชยสารวงศา เจ้าเมืองเทิง

กรณียกิจ[แก้]

เมื่อถึงปีพ.ศ. 2391 เจ้ามหาวงศ์ขึ้นครองเมืองน่าน ก็ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซ่อมแซมวัดต่าง ๆ สำหรับวัดพระธาตุแช่แห้งนั้น ท่านได้สร้างเจดีย์ขึ้น 4 องค์ ขึ้นเหนือปากขันหลวง มหาธาตุหลวงเจ้าภูเพียงแช่แห้ง 4 ด้าน ซ่อมแซมวิหารหลวง ศาลาบาตร ประตูโขลน ศาลานางป้อง ได้เชิญแกนเหล็กขึ้นใส่ เอาฉัตรและเกิ้งขึ้นแถมอีก 2 ใบ ดอกบัวเงิน 6 ดอก ดอกบัวคำ 6 ดอก สร้างกระดิ่งห้อย 10 ลูก สร้างพระพุทธรูป 3 องค์ แล้วทำบุญเฉลิมฉลอง

ราชตระกูล[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/1911_1.pdf จารึกมหาวงศ์ฯ ซ่อมพระธาตุแช่แห้ง ด้านที่ 1
  2. นามสกุลคนไทย (ต้นสกุล (ต้นวงศ์), ต้นราชสกุล)
  3. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 201
  4. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 201
ก่อนหน้า พระยามหาวงษ์ ถัดไป
พระเจ้าอชิตวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 61
และองค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

(พ.ศ. 2381 - พ.ศ. 2394)
พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช