พรพิพัฒน์ เบญญศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรพิพัฒน์ เบญญศรี
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
ถัดไปพลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563 [1]
ก่อนหน้าพลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ
ถัดไปพลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 [2]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มีนาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
คู่สมรสจิราพรรณ เบญญศรี (ดีบุญมี ณ ชุมแพ)
บุตร2 คน
ศิษย์เก่า
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี (เกิด 17 มีนาคม พ.ศ. 2503) เป็นนายพลชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในปี พ.ศ. 2561 เสนาธิการทหาร ในปี พ.ศ. 2560 และเป็นรองเสนาธิการทหาร ในปี พ.ศ. 2559 รวมทั้งเคยเป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติและสมาชิกวุฒิสภาไทยด้วย

ประวัติ[แก้]

พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2503 ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของสมศักดิ์และสมุน เบญญศรี ได้สมรสกับ จิราพรรณ สกุลเดิม ดีบุญมี ณ ชุมแพ มีบุตรชาย 2 คน คือ ณพัฒน์ เบญญศรี และณพน เบญญศรี

การศึกษา[แก้]

การศึกษาก่อนเข้ารับราชการ[แก้]

  • โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 95
  • โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 18 (ตท.18)
  • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 29 (จปร.29)

การศึกษาเมื่อเข้ารับราชการแล้ว[แก้]

หลักสูตรทางพลเรือน[แก้]

  • พ.ศ. 2540 ปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.ม. การจัดการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2540 ปริญญาโท ด้าน DEFENCE STUDIES, The University of New South Wales

หลักสูตรทางทหาร[แก้]

ในประเทศ[แก้]
  • พ.ศ. 2524 หลักสูตรกระโดดร่ม รุ่นที่ 132
  • พ.ศ. 2524 หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 61
  • พ.ศ. 2524 หลักสูตรนักโดดร่มนอกกอง
  • พ.ศ. 2524 หลักสูตรการรวบรวมพิเศษ รุ่นที่ 8
  • พ.ศ. 2528 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 70
  • พ.ศ. 2531 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 49
  • พ.ศ. 2533 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 68
  • พ.ศ. 2543 หลักสูตรอบรมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพและการฝึก เชิงสัมมนา
  • พ.ศ. 2550 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 5
  • พ.ศ. 2556 หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ ร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 25
  • พ.ศ. 2558 หลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 2
  • หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุ่นที่ 5
ต่างประเทศ[แก้]
  • พ.ศ. 2526 หลักสูตร Regimental Officer Course กองทัพบกออสเตรเลีย
  • พ.ศ. 2540 หลักสูตรปริญญาโท Master of Defense Studies ณ The University of New South Wales ประเทศออสเตรเลีย
  • พ.ศ. 2555 หลักสูตร Senior International Defense Management Course, Monterey  ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประวัติการรับราชการ[แก้]

           หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 29 เมื่อปี พ.ศ. 2525 ท่านได้เลือกรับราชการที่ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ตลอดระยะเวลาที่รับราชการอยู่นั้น ท่านได้สั่งสมประสบการณ์และศึกษาเพิ่มพูนความรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งในสายงานปกติ และการปฏิบัติราชการสนามชายแดนอย่างสม่ำเสมอ

          นอกจากนั้น ยังได้ร่วมปฏิบัติงานร่วมกับนานาชาติ ในกองกำลังเฉพาะกิจร่วมของกองทัพไทยอีกด้วย จากการที่ท่านมีความมานะมุ่งมั่นและรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดียิ่ง เป็นที่ประจักษ์และยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาในทุกระดับ ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการมาตามลำดับ

          จากผลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาของการรับราชการ ที่มีปณิธานอันแน่วแน่ ประกอบกับความมุ่งมั่นและตั้งใจ ในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย จนเป็นผลสำเร็จมาอย่างต่อเนื่องเกิดประโยชน์ต่อกองทัพไทยและประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรม จนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากผู้บังคับบัญชา ตลอดจนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและกำลังพลในกองทัพไทย รวมทั้งส่วนราชการอื่น ๆ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ

          อีกทั้ง ยังได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นหลักสำคัญในการทำงาน จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญระดับสูง อาทิเช่น รองเสนาธิการทหาร เสนาธิการทหาร และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ท่านที่ 33 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน

การดำรงตำแหน่งที่สำคัญ[แก้]

ทางทหาร[แก้]

  • พ.ศ. 2525 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2527 ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 60 มิลลิเมตร กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2528 นายทหารฝ่ายการข่าว กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2529 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2531 นายทหารคนสนิท ผู้ช่วยเสนาธิการ กองทัพบก ฝ่ายการข่าว
  • พ.ศ. 2531 นายทหารคนสนิท เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2532 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
  • พ.ศ. 2533 ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน กองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2534 รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2536 หัวหน้ากองยุทธการ กองทัพบก
  • พ.ศ. 2538,พ.ศ. 2539 อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
  • พ.ศ. 2540 ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2541 ประจำสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
  • พ.ศ. 2542 ฝ่ายเสนาธิการ ประจำกรมข่าวทหาร
  • พ.ศ. 2543 ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมข่าวทหาร
  • พ.ศ. 2543 ผู้อำนวยการกองยุทธการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
  • พ.ศ. 2547,พ.ศ. 2548 ฝ่ายเสนาธิการ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2549 ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2549 ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร

[3]

  • พ.ศ. 2552 ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  • พ.ศ. 2552 รองปลัดบัญชีทหาร
  • พ.ศ. 2556 ปลัดบัญชีทหาร [4]
  • พ.ศ. 2558 หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2559 รองเสนาธิการทหาร
  • พ.ศ. 2560 เสนาธิการทหาร
  • พ.ศ. 2561 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2563 นายทหารราชองครักษ์ และ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ

ราชการพิเศษ[แก้]

  • ราชองครักษ์เวร (พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2549)
  • ตุลาการศาลทหารกลาง
  • นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ ร.1 รอ.
  • ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ เฉพาะกิจที่ 113
  • รองเสนาธิการ กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ ตะวันออก
  • ตุลาการศาลทหารสูงสุด
  • นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์

ทางการเมือง[แก้]

  • สมาชิกวุฒิสภา
  • หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
  • อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  • กรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
  • กรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
  • ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพระยุหยาตราทางสถลมารค
  • กรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
  • กรรมการในคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดีด้วยหัวใจ

ยศทางทหาร[แก้]

  • พ.ศ. 2525 ร้อยตรี
  • พ.ศ. 2526 ร้อยโท
  • พ.ศ. 2529 ร้อยเอก
  • พ.ศ. 2532 พันตรี
  • พ.ศ. 2536 พันโท
  • พ.ศ. 2539 พันเอก
  • พ.ศ. 2548 พลตรี
  • พ.ศ. 2556 พลโท
  • พ.ศ. 2558 พลเอก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ไทย[แก้]

ต่างประเทศ[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • รางวัลแห่งเกียรติยศจักรดาว สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ ประจำปี 2562
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประจำปี 2561
  • รางวัล “การพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ” ของคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ ถึง 2 ปีซ้อน
  • รางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านการเบิกจ่าย ระดับดีเลิศ ประจำปีงบประมาณ 2562

บทบาทที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติทางการเมือง[แก้]

           พลเอก พรพิพัฒน์  เบญญศรี ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย เป็นหัวหน้าศูนย์การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) กรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาศมหามงคลพระราชพิธีราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพระยุหยาตราทางสถลมารถ กรรมการในคณะอำนวยการการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กรรมการในคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดีด้วยหัวใจ

ความภาคภูมิใจและเกียรติยศในการรับราชการ (บทบาทอื่น ๆ)[แก้]

ตลอดระยะเวลาของการรับราชการ ท่านมีความภาคภูมิใจในการทำหน้าที่ในทุกตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย โดยผลงานที่สำคัญในช่วงชีวิตของการรับราชการที่ผ่านมา อาทิเช่น

          เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองยุทธการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ท่านเป็นผู้จัดทำโครงสร้างการจัดและอัตราของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาประเทศบริเวณตำบลตามแนวชายแดนขึ้นเป็นฉบับแรก

          การดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งเป็นยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในอย่างมากมาย ต้องเผชิญกับความท้าทายนานับประการ แต่ด้วยความสามารถอย่างท่าน ได้ดำเนินการผลิตนักเรียนเตรียมทหารให้เป็นทั้งคนเก่ง คนดี และมีอุดมการณ์ ด้วยกระบวนการสร้างนักเรียนเตรียมทหาร ให้เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งเป็นผู้มีจิตวิญญาณที่มุ่งมั่น อดทนในสิ่งที่ผู้อื่นอดทนได้ยาก เสียสละในสิ่งที่ผู้อื่นเสียสละได้ยาก การรู้จักเลือทำในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ แม้การกระทำนั้นจะยากลำบากก็ตาม เพื่อเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการดูแลปกป้องประเทศชาติ อันเป็นการผลิตนักเรียนเตรียมทหารให้มีความเป็นมาตรฐานอย่างยั่งยืน

          การดำรงตำแหน่ง ปลัดบัญชีทหาร ท่านได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบการปฏิบัติงานด้านการปลัดบัญชี ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีผลงานในเชิงประจักษ์ จนทำให้ได้รับรางวัล “การพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ” ของคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ ถึง 2 ปีซ้อน

          ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณของทหาร – ตำรวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 และวันกองทัพไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธี ซึ่งนับเป็นการสวนสนามครั้งยิ่งใหญ่ครั้งแรกในรัชสมัยปัจจุบัน

    นอกจากนั้นยังได้ประธานการจัดการแข่งขันการแสดงการฝึกทางทหารประกอบดนตรี “ราชวัลลภเริงระบำ” และการแข่งขันกองทหารเกียรติยศ โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทอดพระเนตรการแสดง

พงศาวลี[แก้]

พงศาวลี พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี







อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/212/T1.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/239/T_0059.PDF
  3. http://www.afaps.ac.th/afapscommand/afapscommandindex.php
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/118/1.PDF
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๕, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๗, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๔, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
  10. Chief of Defence, Royal Thai Armed Forces Visits USINDOPACOM
  11. https://www.bharian.com.my/berita/nasional/2019/10/615314/agong-kurnia-273-pingat-kepada-angkatan-tentera

แหล่งข้อมูล[แก้]

  • ชีวประวัติ จากเว็บไซต์ กองบัญชาการกองทัพทไทย
  • ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ThaisWatch.com
  • วาสนา นาน่วม เส้นทางเหล็ก พลเอก พรพิพัฒน์  เบญญศรี : มติชน, 2562

COVID-19[แก้]

  • หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์​ฉุกเฉินในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
  • กรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)   

ในสถานะเป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กรณีวิกฤตการเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID – 19 ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ท่านใช้ความรู้ความสามารถให้หน่วยสามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ จนสามารถผ่านข้อจำกัด และการเปลี่ยนแปลงจากปัญหาความมั่นคงจากวิกฤตการเกิดกรแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 จนเป็นที่ยอมรับทั้งชาวไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง


ก่อนหน้า พรพิพัฒน์ เบญญศรี ถัดไป
พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30​ กันยายน​ พ.ศ.​ 2563)
พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์