พญาเก้าเกื่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พญาเก้าเกื่อน
กษัตริย์น่าน
องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ภูคา
ราชาภิเษกพ.ศ. 1846
ครองราชย์พ.ศ. 1846 - พ.ศ. 1848
รัชกาล2 ปี
ก่อนหน้าพญาขุนฟอง
ถัดไปนางพญาแม่ท้าวคำปิน
ประสูติราวพุทธศตวรรษที่ 18
พิราลัยณ เมืองย่าง
พระราชชายานางพญาแม่ท้าวคำปิน
พระราชบุตรพญาผานอง
ราชวงศ์ราชวงศ์ภูคา
พระราชบิดาพญาขุนฟอง
พระราชมารดาพระนางคำแดงเทวี

พญาเก้าเกื่อน หรือเจ้าเก้าเกื่อน เป็นกษัตริย์น่าน หรือเจ้าผู้ครองเมืองวรนคร (เมืองปัว) องค์ที่ 2 ราชวงศ์ภูคา ต่อจากพระบิดา พญาขุนฟอง และต่อมาได้ไปครองเมืองย่าง ต่อจากเจ้าหลวงพญาภูคา ผู้เป็นปู่

พระประวัติ[แก้]

ครั้นต่อมาไม่นาน พญาขุนฟอง (พระบิดา) ก็พิราลัย เสนาอำมาตย์ใน เมืองวรนคร (ปัว) ก็อุสาราชาภิเศก[1] เป็น พญาเก้าเกื่อน ครองเมืองวรนคร ต่อมา เจ้าหลวงพญาภูคา (ผู้เป็นปู่) ที่ครองเมืองย่างมานานแล้ว ก็คิดจะสละราชสมบัติ ให้พญาเก้าเกื่อน ผู้เป็นพระนัดดา ครองเมืองย่างต่อ ต่อมาพญาภูคา จึงใช้นางกำนัล 2 คนมาอาราธนา พญาเก้าเกื่อน เจ้าผู้ครองเมืองวรนคร ไปเป็นเจ้าผู้ครองเมืองย่าง ด้วยความเกรงใจพระอัยกา (ปู่) เจ้าหลวงพญาภูคาก็ตอบตกลง แล้วก็ได้มอบให้ นางพญาแม่ท้าวคำปิน ขณะที่ทรงครรถ์ (ท้อง) ผู้เป็นชายา ให้ครองเมืองวรนครต่อ และฝากเสนาอำมาตย์ ให้ดูแลเมืองวรนคร ต่อไป ต่อมาพญาเก้าเกื่อนก็เสด็จถึง เมืองย่าง เจ้าหลวงพญาภูคา[2]และเสนาอำมาตย์ทั้งหลายในเมืองย่างก็ อุสาราชาภิเศก พญาเก้าเกื่อน ให้ครองราชสมบัติเมืองย่าง ส่วนเจ้าหลวงพญาภูคา ที่เสวยเมืองย่างมานาน หลังจากนั้นก็สละราชสมบัติให้ พญาเก้าเกื่อน ครองต่อ ไม่นานท่านก็พิราลัยเมื่อปี พ.ศ. 1880 รวมระยะเวลาปกครองเมืองย่าง 68 ปี[3]

พระอิศริยยศ[แก้]

  1. กษัตริย์ครองเมืองวรนคร ต่อจากพระบิดา[4] พญาขุนฟอง
  2. กษัตริย์ครองเมืองย่าง ต่อจากพระอัยกา[5] เจ้าหลวงพญาภูคา

พงศาวลี[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า พญาเก้าเกื่อน ถัดไป
พญาขุนฟอง กษัตริย์น่าน
องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ภูคา

(พ.ศ. 1845 - พ.ศ. 1848)
นางพญาแม่ท้าวคำปิน