ผักแขยง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผักกะแยง
Limnophila aromatica ("Rice paddy herb")
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Plantaginaceae
สกุล: Limnophila
สปีชีส์: L.  aromatica
ชื่อทวินาม
Limnophila aromatica
(Lam.) Merr.
ชื่อพ้อง

Limnophila aromaticoides Yang & Yen
Limnophila chinensis subsp. aromatica (Lam.) T. Yamaz.

ผักแขยง [ขะ-แยง][1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnophila geoffrayi หรือ Limnophila aromatica)[2] ชื่ออื่นๆ กะออม, กะแยง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะแยงแดง (อุบลราชธานี) ผักพา (เหนือ) เป็นพืชในวงศ์ Scorphulariaceae หรือ Plantaginaceae ไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นเรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ทุกข้อ ตลอดลำต้น รูปขอบขนานแกมใบหอกขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย ปลายใบแหลม โคนใบห่อติดลำต้น ดอกช่อกระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกพร้อมกันทั้งต้น ดอกย่อย 2-10 ดอก ดอกเป็นรูปหลอดคล้ายถ้วย รูปกรวย ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกสีม่วง ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน ผลแห้งแตกได้ รูปกระสวย เมล็ดรูปร่างกลมรี สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็กมาก ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย[3]

ผักแขยงเป็นเป็นวัชพืชในนาข้าว ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อนชาวอีสานใช้ใส่ในแกงต้มปลา อ่อมต่างๆ มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว และเป็นพืชสมุนไพร ทางภาคอีสาน ใช้ ทั้งต้น เป็นยาขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบายท้อง น้ำคั้นจากต้นใช้แก้ไข้ แก้คัน ฝี และกลาก แก้อาการบวม เป็นยาระบายอ่อนๆ ต้นแห้ง ที่เก็บไว้นาน 1 ปี ต้มน้ำดื่ม แก้พิษเบื่อเมา[4]

ผักแขยง จัดเป็นผักพื้นบ้านที่สำคัญของภาคอีสาน แต่ไม่พบในพื้นที่ภาคใต้[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช (19 สิงหาคม 2564). "ผักแขยง รสชาติเผ็ด เป็นยาดีมีคุณค่า". เทคโนโลยีชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. http://www.scday.sci.ubu.ac.th/sci/scisymposium/member/document/paper/8.pdf[ลิงก์เสีย]
  3. ผักแขยง
  4. ผักแขยง
  5. วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 30 03 59