ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าอนุรักษ์ จุรีมาศ
ถัดไปสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุวรรณ วลัยเสถียร
เนวิน ชิดชอบ
วัฒนา เมืองสุข
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
อนุทิน ชาญวีรกูล
ถัดไปอรนุช โอสถานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ถัดไปสวนิต คงสิริ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ประธานกรรมการ บริษัท กรุงไทย แลนด์ ดีวีลอปเมนท์ จำกัด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แกนนำกลุ่มวังพญานาค ร่วมกับ นายพินิจ จารุสมบัติ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม[1] และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย และภายหลังได้ย้ายเข้าสังกัด พรรคเพื่อแผ่นดิน

ประวัติ[แก้]

นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดพระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]

ปรีชา มีบุตรสาวที่ถูกกล่าวถึงทางสื่อมวลชนคือ ชวพร เลาหพงศ์ชนะ ซึ่งสังคมออนไลน์เผยแพร่ภาพว่าเป็นบุตรสาวของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[3]

การทำงาน[แก้]

นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคสามัคคีธรรม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 และย้ายมาอยู่พรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 จนกระทั่งได้ย้ายมาลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544

นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2535 ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2537[4] และเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[5] (2 สมัย) กระทั่งในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[6] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

หลังถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[7] จึงได้นำสมาชิกในกลุ่มวังพญานาค ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค ต่อมาได้แถลงลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาและตำแหน่งในคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยมีเหตุผลว่า เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ และความเรียบร้อยในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ และเพื่อให้เป็นไปตามข้อหารือของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งการแถลงลาออกครั้งนี้ได้กระทำพร้อมกับ นายพินิจ จารุสมบัติ, นายสุชาติ ตันเจริญ, นางลลิตา ฤกษ์สำราญ, นายเอกภาพ พลซื่อ และนายสมศักดิ์ คุณเงิน[8]

ในการจัดตั้งของรัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการนำสมาชิกในกลุ่มให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นหนึ่งในสามบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ในนาม "3พี" (ไพโรจน์ สุวรรณฉวี พินิจ จารุสมบัติ และปรีชา เลาหพงศ์ชนะ)[9] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับกลุ่มของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

ปัจจุบัน หันไปทำงานด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และวางมือทางการเมือง[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-25.
  3. "พลอย ชวพร" โพสต์ "อิหยังวะ" โดนอ้างเป็นลูกสาวนายกฯ ที่ชาวเน็ตตามหา
  4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๓/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย)
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  7. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  8. ""พินิจ-ปรีชา" แถลงลาออกที่ปรึกษาเพื่อแผ่นดิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-25.
  9. อนาคต “ 3 พี” ... สลาย “พผ.” เข้าร่วมรัฐบาล !!![ลิงก์เสีย]
  10. “ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ”จากนักการเมืองสู่ดีเวลลอปเปอร์
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑