ประวัติยูทูบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ยูทูบ

ยูทูบก่อตั้งขึ้นโดยพนักงานของบริษัทเพย์แพล ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับการแบ่งปันวีดิทัศน์ โดยที่สมาชิกของยูทูบสามารถอัปโหลดและสำรวจวีดิทัศน์ได้[1] โดเมนเนมของยูทูบมีว่า "www.youtube.com" ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 เวลา 09:13 นาฬิกา[2]

ก่อตั้ง[แก้]

จากซ้ายไปขวา: แชด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เชน, และยาวีด คาริม

ยูทูบก่อตั้งโดยแชด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เชน และยาวีด คาริม โดยทั้งหมดเป็นพนักงานฝึกหัดที่บริษัทเพย์แพล เพื่อที่จะเข้าเป็นบุคลากรของบริษัทเพย์แพล[3] โดยเฮอร์ลีย์ได้เข้ามหาวิทยาลัยอินเดียดาแห่งเพนสิเวอร์เนีย ด้านการออกแบบ เชนกับคาริมศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์[4] โดยสำนักงานแห่งแรกของยูทูบอยู่ที่ข้างบนร้านพิซซาและร้านอาหารญี่ปุนในซานเมเทโฮ รัฐแคลิฟอร์เนีย[5]

ภาพของเว็บไซต์ในช่วงระยะแรกของการเปิดตัวบริษัทยูทูบ (จัดเก็บเนื้อหาโดย เวย์แบล็ก แมชชีน)[6]

โดเมนเนมเริ่มแรกเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 พร้อมกับการรวมวีดิทัศน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2004 เป็นการเริ่มค้นคลิปวีดิทัศน์แห่งแรกในยูทูบ ชื่อวีดิทัศน์ Me at the zoo เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ยาวีด คาริม ถ่ายที่สวนสัตว์ซานดิอิโก[7][8]

สำนักงานยูทูบได้รับเงินเริ่มกิจการจากนักลงทุนผู้เมตตาปราณีที่สำนักงานชั่วคราวในโรงจอดรถ[9] เดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2005 บริษัทนักลงทุน สิโคอิ แคพปิเทิล ได้ลงทุนเริ่มแรก ในจำนวนเงิน 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โรอิโลฟ โบธาร์ (เป็นหุ้นส่วนของบริษัทนักลงทุน และอดีตประธานด้านการเงินของบริษัทเพย์แพล) ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสำนักงานยูทูบ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 คณะจัดการบริหารสิโคอิ แอนด์อาร์ติส แคพปิเทิล ได้ลงทุนเป็นเงินอีก 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลา 2-3 เดือน สำนักงานเติบโตอย่างน่าใจหายมาก[10]

เติบโต[แก้]

ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2006 เว็บไซต์อย่างยูทูบ ได้กลายเป็นเว็บไซต์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในเวิลด์ไวด์เว็บ[11] ซึ่งมีวีดิทัศน์ที่ถูกอัปโหลดมากถึง 65,000 วีดิทัศน์ ในเดือนกรกฎาคม ยูทูบมีผู้เข้าชมเฉลี่ยแล้วได้ถึง 100 ล้านครั้งต่อวัน เว็บไวต์ยังติดอันดับที่ 15 ของเว็บไซต์ที่มียอดผู้เข้าชมเป็นอย่างมากที่สุดในโลก จัดอันดับโดย อเล็กสาร์ ซึ่งทำให้มีมายสเปกตกอันดับมา[12] ยูทูบเป็นเว็ปไซต์ที่มีผู้เข้าชม 20 ล้านคนต่อเดือนตามการบันทึกของเนลสัน/เน็ตแรงติงก์ โดยแยกออกมาเป็นผู้ชมเพศหญิง ร้อยละ 44 และเพศชาย ร้อยละ 56 โดยอยู่ในช่วงอายุประมาณ 12 - 17 ปีที่เข้าเว็ปไซต์มากที่สุดในยูทูบ[13] ความเด่นของยูทูบคือการตลาดที่เป็นรูปธรรม เว็ปไซต์ Hitwise.com ได้กล่าวว่า ยูทูบได้ทำการตลาดวีดิทัศน์ออนไลน์ในสหราชอาณาจักรถึง ร้อยละ 64[14]

ยูทูบได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรที่ดีทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์กับเอ็นบีซี เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006[15]

ขายให้กูเกิล[แก้]

วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2006 บริษัทได้ประกาศว่าจะขายกิจการให้กับบริษัทกูเกิล ในจำนวนเงิน 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตกลงกันเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ในช่วงเวลานั้นถือว่ากูเกิลได้ซื้อหุ้นได้ราคาที่มหาศาลเป็นอันดับที่ 2[16] ยูทูบได้ทำข้อตกลงกับกูเกิลในเรื่องลิขสิทธิ์ของวิดีโอ โดยให้กูเกิลถูกต้องโดยชอบธรรม ยูทูบได้วางแผนที่จะดำเนินงานโดยมีผู้ที่ร่วมก่อตั้งและพนักงานอีก 68 คนจากบริษัทกูเกิลทำงาน[17]

กูเกิลได้ยื่นเอกสารให้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 โดยเป็นการเปิดเผมกำไรของผู้ที่ลงทุนกับบริษัทยูทูบ ใน ค.ศ. 2010 ผู้ร่วมก่อตั้งแชด เฮอร์ลีย์ มีรายได้อยู่ที่ 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนสตีฟ เชน มีรายได้อยู่ที่ 326 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[18]

บุคคลแห่งปี[แก้]

ในปี ค.ศ. 2006 นิตยสารที่ชื่อว่า ไทม์ ได้ขึ้นรูปภาพหน้าจอของเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งอยู่ในกระจกบานใหญ่ พร้อมกับข้อความระบุ "บุคคลแห่งปี" เพื่อสื่อถึงผู้ใช้ที่ได้สร้างวีดิทัศน์ขึ้นใหม่ในยูทูบ และผู้ก่อตั้งรวมถึงนักออกแบบหลายคนในยูทูบ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล และเดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้นำเรื่องเกี่ยวกับเว็บไซต์ยูทูบมาทำเป็นหัวข้อ จนส่งผลต่อการรับสมัครบุคลากรและการประชาสัมพันธ์ของเว็บไซต์ นิตยสารด้านเทคโนโลยีอย่าง พี ซี เวิลด์ จัดอันดับให้เว็ปไซต์ยูทูบเป็นสินค้าที่ดีที่สุดในปี ค.ศ. 2006 เป็นอันดับ 9 จาก 10 อันดับ[19] ปี ค.ศ. 2007 นิตยสารสปอตร์ อิสสารูเชน และนิตยสารไดมี่ ได้นำข้อวิจารณ์ในยูทูบไปใช้ของวิดีโอ The Ultimate Pistol Pete Maravich MIX[20]

เติบโตอย่างต่อเนื่อง[แก้]

สำนักงานใหญ่ในปัจจุบันของยูทูบ ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย (ค.ศ. 2010 ถึงปัจจุบัน)

ในปี ค.ศ. 2007 ยูทูบคาดว่าความกว้างของแถบคลื่นความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมากในโลกไซเบอร์เป็นหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับในปี ค.ศ. 2000[21]

ยูทูบ อวอร์ด หรือรางวัลยูทูบ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2007 โดยที่จะมอบให้ผู้ใช้ที่สร้างวีดิทัศน์ที่เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าผู้ใช้ยูทูบอื่น โดยจะเป็นการคัดเลือกด้วยการเลือกวีดิทัศน์ของปีที่แล้ว มารับรางวัลในปีต่อไปหลังจากปีนั้น[22]

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ถึงวันที่ 28 พฤษจิกายน ค.ศ. 2007 ซีเอ็นเอ็นและยูทูบ ได้ร่วมกันเผยแพร่การโต้วาทีของผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากโทรทัศน์สู่โลกอินเทอร์เน็ต ระหว่างพรรคเดโมแครต และพรรครีพับลิกัน โดยมีการส่งคำถามผ่านยูทูบ[23][24]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ยูทูบได้ทำความตกลงกับเอ็มจีเอ็ม, ไลออนเกสต เอ็นเตอร์เทนเม็นทร์ และซีบีเอ็น โดยที่สามารถนำวีดิทัศน์เข้าฉายลงบนยูทูบ และโฆษณาคั่นระหว่าง โดยผู้ดูในสหรัฐเรียกว่า "โชว์" โดยที่ทำเพื่อแข่งกับเว็บไซต์อย่างฮูลู ซึ่งมีเนื้อหาจากเอ็นบีซี, ฟอกร์ และดิสนีย์[25][26]

ยูทูบได้รับรางวัล เพอร์บอดี 2008 ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นผู้ที่เป็นหน่วยกระจายข่าวตรงหัวมุม เนื่องจากยูทูบมีการส่งเสริมในเรื่องของประชาธิปไตย (เช่น ยูทูบ อวร์ด)[27][28]

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2009 ยูทูบได้จดโดเนมเมนของเว็ปไชต์ว่า www.youtube-nocookie.com สำหรับวีดิทัศน์ที่ฝังตัวอยู่ในเว็บไซต์รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา[29][30] ในเดือนพฤษจิกายน ยูทูบได้เปิดตัวรุ่นสำหรับผู้ชมในสหราชอาณาจักรที่ชื่อว่า โชว์ โดยมีผู้ชมมากถึงกว่า 4,000 คนจากกว่า 60 คู่[31]

ในปลายเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 เอ็นเตอร์เท็นเมนต์ วีคลีก ได้มอบรางวัลให้กับยูทูบในวาระครบรอบ 10 ปี ในด้านดีที่สุด โดยให้เหตุผลว่า: "Providing a safe home for piano-playing cats, celeb goof-ups, and overzealous lip-synchers since 2005."[32]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010[33] ยูทูบได้เปิดบริการพิเศษโดยที่สามารถดูภาพยนตร์ได้ เปิดเฉพาะในประเทศแคนาดา, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[34][35] โดยได้บริการไปแล้วกว่า 6,000 เรื่อง[36]ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 ยูทูบได้ถ่ายทอดสดฟรีในการแข่งขันคริกเกต 60 กว่ารอบ ที่การแข่งขันอินเดียพรีเมียมลีก การแข่งขันครั้งนี้ ยูทูบได้ถ่ายทอดสดฟรีในการแข่งขันกีฬารายใหญ่เป็นครั้งแรกในเว็บไซต์[37]

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2010 ยูทูบได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้าเว็บใหม่ เพื่อทำให้สะดวก และเพิ่มเวลามากขึ้น ผู้บริหารผลิตภัณฑ์กูเกิ้ล ชีวาร์ ราจารแมนท์ ได้กล่าวไว้ว่า: "พวกเราจำเป็นต้องกลับหลัง เพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน"[38] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 มีผู้ชมดูเว็บไซต์ยูทูบกว่า 2 พันล้านครั้งต่อวัน ซึ่งเท่ากับผู้ชมในช่วงเวลายอดนิยมที่ชมรายการใหญ่ 3 รายการในสหรัฐมารวมกัน[39] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ยูทูบได้รายงานในเว็บของตนว่า มีผู้ชมดูอัปโหลดวีดิทัศน์ในเว็บไซต์กว่า 3 พันล้านครั้งต่อวัน[40] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ยูทูบได้แจ้งว่ามีผู้ชมอัปโหลดวิดีโอรวมแล้ว 4 พันล้านวีดิทัศน์ต่อวัน[41]

ตามข้อมูลเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 บริษัทสำรวจการตลาด คอมสกอร์ ได้ประกาศว่า เว็บไซต์ยูทูบถือว่าเป็นเว็บไซต์ออนไลน์ที่เผยแพร่วีดิทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ โดยมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 43 มีผู้ชมเข้าดูเว็บไซต์ 14 พันล้านคนต่อวัน[42]

เจมส์ เซน วิศวกรด้านซอฟต์แวร์ประจำยูทูบ ได้เปิดเผยว่าในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 วีดิทัศน์ในร้อยละ 30 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99 ของเว็บไซต์[43]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 กูเกิล พัส เว็บไซต์ด้านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้รวมกับเว็บไซต์ยูทูบ และเว็บไซต์ค้นหาอย่าง โคลม, เพื่อให้สามารถดูวีดิทัศน์จากเว็บไซต์จากภายในอินเทอร์เฟซของกูเกิล พัทได้[44] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 เว็บไซต์ยูทูบได้เปิดตัวอินเทอร์เฟซใหม่ของเว็บไซต์โดยมีช่องวิดีโอที่แสดงในคอลัมน์กลางของหน้าแรกคล้ายกับฟีดข่าวของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์[45] ในขณะเดียวกันสัญลักษณ์ของเว็บไซต์ยูทูบแบบใหม่ก็ได้รับการแนะนำให้เปลี่ยนเป็นสีเข้มในสีแดงมากขึ้น ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงในการออกแบบสัญลักษณ์ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2006[46]

ตั้งแต่ ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา อเล็กซา ได้จัดอันดับให้เว็บไซต์ยูทูบเป็นเว็บไซต์ที่มียอดผู้ชมมากที่สุด โดยรองจากเว็บไซต์กูเกิล และเฟซบุ๊ก[47]

ปลายปี ค.ศ. 2011 จนถึงต้นปี ค.ศ. 2012 เว็บไซต์ยูทูบได้เปิดตัวช่องทาง "พรีเมียม" หรือ "ดั้งเดิม" กว่า 100 ช่อง มีรายงานว่าอาจจะมีการใช้งบประมาณถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ[48] อีกสองปีต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 มีรายงานว่าหน้าหลักของช่องทางเดิมได้ปรากฏเป็นหน้าเว็บไซต์ข้อผิดพลาด 404 [49][50]อย่างไรก็ตามเหตุผิดพลาดก็ไม่กระทบกับช่องเดิม เช่น เซาเฟต และ คราต ครูซ ซึ่งก็สามารถประสบความสำเร็จได้เหมือนเดิม[51][52]

มีการเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมในปี ค.ศ. 2012 โดยได้แทนที่ระบบวิว-เบสด์ เพื่อสำหรับจำนวนคนดูหนึ่งคน ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมในหมวดหมู่ของช่องเกม[53]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 เป็นครั้งแรกของยูทูบที่ได้มีโอกาสได้ถ่ายทอดสดการโต้วาทีของผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ร่วมกับ เอบีซี นิวส์[54]

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2012 (2012-10-25) คำขวัญของยูทูบ (ถ่ายทอดตัวของคุณเอง) ได้ถูกถอดถอนลง เนื่องจากกระแสการถ่ายทอดสดการโต้วาทีของผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ

ยูทูบได้ออกแบบและปรับปรุงระบบใหม่ในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2012 เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงในส่วนของโปรแกรมบนโทรศัพท์และแท้ฐเล็ต เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 กังนัมสไตล์ ได้เป็นวีดิทัศน์แรกที่มียอดผู้ดูเกินหนึ่งพันล้านคน[55]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 จำนวนของผู้ดูที่ถูกคัดกรองแล้วไม่ซ้ำกันมีเกินหนึ่งล้านครั้งต่อหนึ่งเดือน[56] ในปีเดียวกัน ยูทูบยังได้ทันสมัยต่อเหตุการณ์ โดยมีการเปิดตัวสัปดาห์ตลกยูทูบ กัยยูทูบมิวสิกอวอด์[57][58] เหตุการณ์ทั้งสองได้ถูกให้ความคิดเห็นเชิงลบขั้นสุด[59][60][61][62] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 เฟลิกซ์ อาร์วิด อุลฟ์ เชลล์แบรย์ ได้เป็นช่องยูทูบแรกในยูทูบที่มีผู้ติดตามมากที่สุดบนเว็บไซต์ โดยมีชื่อช่องว่า พิวดีพาย เนื่องจากผู้ลงทะเบียนใหม่บนยูทูบจะได้รับข้อความในการแจ้งแนะนำช่องทุกครั้ง[63]

เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2018 ได้เกิดเหตุกราดยิง ณ ที่ทำการใหญ่ของเว็บไซต์ยูทูบ[64]

นานาชาติ[แก้]

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทกูเกิล เอริก ชมิดต์ ซึ่งในขณะนั้นอยู่ที่ปารีส ได้ประกาศเปิดตัวเว็บไซต์ภาษาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคนั้นๆ [65] จนถึงขณะนี้เว็บไซต์สามารถใช้งานในภูมิภาคได้ 89 ประเทศรวมถึงเขตการบริหารพิเศษอีก 1 แห่ง (ประเทศฮ่องกง) และทั่วโลก[66]

ประเทศที่มีเว็บไซต์ยูทูบในภาษาท้องถิ่น
ประเทศ ภาษา วันที่เปิดตัว หมายเหตุ
 สหรัฐ (และทั่วโลก) ภาษาอังกฤษ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005[65] เปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
 บราซิล ภาษาโปรตุเกส 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] เว็บไซต์ยูทูบนอกสหรัฐฯ ประเทศแรกของโลก
 ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส และภาษาบาสก์ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65]
 ไอร์แลนด์ ภาษาอังกฤษ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65]
 อิตาลี ภาษาอิตาลี 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65]
 ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65]
 เนเธอร์แลนด์ ภาษาดัตช์ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65]
 โปแลนด์ ภาษาโปแลนด์ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65]
 สเปน ภาษาสเปน, ภาษากาลิเซีย, ภาษากาตาลา และภาษาบาสก์ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65]
 สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษสำเนียงบริติช 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] ยังขยายตัวต่อเนื่องในหลายพื้นที่
 เม็กซิโก ภาษาสเปนสำเนียงเม็กซิกัน 11 ตุลาคม ค.ศ. 2007[67]
 ฮ่องกง ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2007[68] ถูกบล็อกในประเทศจีน
 ไต้หวัน ภาษาจีน 18 ตุลาคม ค.ศ. 2007[69]
 ออสเตรเลีย ภาษาอังกฤษ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2007[70]
 นิวซีแลนด์ ภาษาอังกฤษ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2007[70]
 แคนาดา ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007[71]
 เยอรมนี ภาษาเยอรมัน 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007[72]
 รัสเซีย ภาษารัสเซีย 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007[73]
 เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี 23 มกราคม ค.ศ. 2008[74] เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2008
 อินเดีย ภาษาฮินดี, ภาษาเบงกอล, ภาษาอังกฤษ, ภาษาคุชราต, ภาษากันนาดา, ภาษามลยาฬัม, ภาษามราฐี, ภาษาทมิฬ, ภาษาเตลูกู และภาษาอูรดู 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2008[75]
 อิสราเอล ภาษาฮีบรู 16 กันยายน ค.ศ. 2008
 เช็กเกีย ภาษาเช็ก 9 ตุลาคม ค.ศ. 2008[76]
 สวีเดน ภาษาสวีเดน 22 ตุลาคม ค.ศ. 2008[77] ยังไม่ระบุโดเมนที่แน่ชัดจนกระทั่งในปี ค.ศ. 2009
 แอฟริกาใต้ ภาษาอาฟรีกานส์, ภาษาซูลู และภาษาอังกฤษ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2010[65] เว็บไซต์ยูทูบประเทศแรกที่เปิดตัวในภูมิภาคแอฟริกา
 อาร์เจนตินา ภาษาสเปน 8 กันยายน ค.ศ. 2010[78]
 แอลจีเรีย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอารบิก 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79]
 อียิปต์ ภาษาอารบิก 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79]
 จอร์แดน ภาษาอารบิก 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79]
 โมร็อกโก ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอารบิก 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79]
 ซาอุดีอาระเบีย ภาษาอารบิก 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79]
 ตูนิเซีย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอารบิก 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79]
 เยเมน ภาษาอารบิก 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79]
 เคนยา ภาษาสวาฮีลี และภาษาอังกฤษ 1 กันยายน ค.ศ. 2011[80]
 ฟิลิปปินส์ ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษแบบฟิลิปปินส์ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2011[81]
 สิงคโปร์ ภาษาสิงคโปร์, ภาษามลายู, ภาษาจีน และภาษาทมิฬ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2011[82]
 เบลเยียม ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาดัตช์ และภาษาเยอรมัน 16 พฤษจิกายน ค.ศ. 2011[65] เว็บไซต์ส่วนกลาง
 โคลอมเบีย ภาษาสเปน 30 พฤษจิกายน ค.ศ. 2011[83]
 ยูกันดา ภาษาอังกฤษ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2011[84] ก่อนหน้านั้นเคยใช้เว็บไซต์ภาษาสวาฮิลี
 ไนจีเรีย ภาษาอังกฤษ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2011[85]
 ชิลี ภาษาสเปน 20 มกราคม ค.ศ. 2012[86] เปิดตัวในปี ค.ศ. 2012
 ฮังการี ภาษาฮังการี 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012[87]
 มาเลเซีย ภาษามลายูและภาษาอังกฤษ 22 มีนาคม ค.ศ. 2012[88]
 เปรู ภาษาสเปน 25 มีนาคม ค.ศ. 2012[89]
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภาษาอารบิก และภาษาอารบิก 1 เมษายน ค.ศ. 2012[90]
 กรีซ ภาษากรีก 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
 อินโดนีเซีย ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2012[91]
 กานา ภาษาอังกฤษ 5 มิถุนายน ค.ศ. 2012[92]
 เซเนกัล ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2012[93]
 ตุรกี ภาษาตุรกี 1 ตุลาคม ค.ศ. 2012[94]
 ยูเครน ภาษายูเครน 13 ธันวาคม ค.ศ. 2012[95]
 เดนมาร์ก ภาษาเดนิส 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[96]
 ฟินแลนด์ ภาษาฟินแลนด์ และภาษาสวีเดน 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[97]
 นอร์เวย์ ภาษานอร์เวย์ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[98]
 สวิตเซอร์แลนด์ ภาษาเยอรมัน, ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี 29 มีนาคม ค.ศ. 2013[99]
 ออสเตรีย ภาษาเยอรมัน 29 มีนาคม ค.ศ. 2013[100]
 โรมาเนีย ภาษาโรมาเนีย 18 เมษายน ค.ศ. 2013[101]
 โปรตุเกส ภาษาโปรตุเกส 25 เมษายน ค.ศ. 2013[102]
 สโลวาเกีย ภาษาสโลวัก 25 เมษายน ค.ศ. 2013[103]
 บาห์เรน ภาษาอารบิก 16 สิงหาคม ค.ศ. 2013[104]
 คูเวต ภาษาอารบิก 16 สิงหาคม ค.ศ. 2013[104]
 โอมาน ภาษาอารบิก 16 สิงหาคม ค.ศ. 2013[104]
 กาตาร์ ภาษาอารบิก 16 สิงหาคม ค.ศ. 2013[104]
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ภาษาบอสเนีย, ภาษาโครเอเชีย และภาษาเซอร์เบีย 17 มีนาคม ค.ศ. 2014
 บัลแกเรีย ภาษาบัลแกเรีย 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[105]
 โครเอเชีย ภาษาโครเอเชีย 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[106]
 เอสโตเนีย ภาษาเอสโตเนีย 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[107]
 ลัตเวีย ภาษาลัตเวีย 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[108]
 ลิทัวเนีย ภาษาลิทัวเนีย 17 มีนาคม ค.ศ. 2014
 มาซิโดเนียเหนือ ภาษามาซิโดเนีย, ภาษาเซอร์เบีย และภาษาตุรกี 17 มีนาคม ค.ศ. 2014
 มอนเตเนโกร ภาษาเซอร์เบีย และภาษาโครเอเชีย 17 มีนาคม ค.ศ. 2014
 เซอร์เบีย ภาษาเซอร์เบีย 17 มีนาคม ค.ศ. 2014
 สโลวีเนีย ภาษาสโลวีเนีย 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[109]
 ไทย ภาษาไทย 1 เมษายน ค.ศ. 2014[110]
 เลบานอน ภาษาอารบิก 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2014[104]
 ปวยร์โตรีโก ภาษาสเปน และภาษาอังกฤษ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ก่อนหน้านั้นเคยใช้เว็บไซต์ภาษาสเปนและอเมริกา
 ไอซ์แลนด์ ภาษาไอซ์แลนด์ ?, ค.ศ. 2014
 ลักเซมเบิร์ก ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน ?, ค.ศ. 2014
 เวียดนาม ภาษาเวียดนาม 1 ตุลาคม ค.ศ. 2014
 ลิเบีย ภาษาอารบิก 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 ถูกบล็อกในปี ค.ศ. 2010 แต่ได้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2011
 แทนซาเนีย ภาษาสวาฮิลี และภาษาอังกฤษ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2015
 ซิมบับเว ภาษาอังกฤษ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2015
 อาเซอร์ไบจาน ภาษาอาเซอร์ไบจาน 12 ตุลาคม ค.ศ. 2015[111]
 เบลารุส ภาษารัสเซีย 12 ตุลาคม ค.ศ. 2015[111]
 จอร์เจีย ภาษาจอร์เจีย 12 ตุลาคม ค.ศ. 2015[111]
 คาซัคสถาน ภาษาคาซัค 12 ตุลาคม ค.ศ. 2015[111]
 อิรัก ภาษาอารบิก 9 พฤษจิกายน ค.ศ. 2015[ต้องการอ้างอิง]
 เนปาล ภาษาเนปาล 12 มกราคม ค.ศ. 2016[112]
 ปากีสถาน ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษ 12 มกราคม ค.ศ. 2016[113] ถูกบล็อกในปี ค.ศ. 2012 แต่ได้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2015
 ศรีลังกา ภาษาสิงหล และภาษาทมิฬ 12 มกราคม ค.ศ. 2016[114]
 จาเมกา ภาษาอังกฤษแบบจามิกา 4 สิงหาคม ค.ศ. 2016[ต้องการอ้างอิง]
 มอลตา ภาษาอังกฤษ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2018
 โบลิเวีย ภาษาสเปน 30 มกราคม ค.ศ. 2019
 คอสตาริกา ภาษาสเปน 30 มกราคม ค.ศ. 2019
 เอกวาดอร์ ภาษาสเปน 30 มกราคม ค.ศ. 2019
 เอลซัลวาดอร์ ภาษาสเปน 30 มกราคม ค.ศ. 2019
 กัวเตมาลา ภาษาสเปน 30 มกราคม ค.ศ. 2019
 ฮอนดูรัส ภาษาสเปน 30 มกราคม ค.ศ. 2019
 นิการากัว ภาษาสเปน 30 มกราคม ค.ศ. 2019
 ปานามา ภาษาสเปน 30 มกราคม ค.ศ. 2019
 อุรุกวัย ภาษาสเปน 30 มกราคม ค.ศ. 2019
 ปารากวัย ภาษาสเปน และภาษากวารานี 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019
 สาธารณรัฐโดมินิกัน ภาษาสเปน 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019
 ไซปรัส ภาษากรีก และภาษาตุรกี 13 มีนาคม ค.ศ. 2019 เปิดตัวเว็บไซต์ภาษาท้องถิ่นเป็นประเทศสุดท้ายในกลุ่มสหภาพยุโรป
 ลีชเทินชไตน์ ภาษาเยอรมัน 13 มีนาคม ค.ศ. 2019

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2007 มีการประกาศว่าเว็บไซต์ยูทูบสามารถใช้งานในประเทศฮ่องกงได้ หนึ่งในผู้สร้างเว็บไซต์ยูทูบ สตีฟ เชน ยังระบุอีกว่าเว็บไซต์จะเปิดตัวที่ประเทศไต้หวันอีกด้วย[115][116]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hopkins, Jim (August 21, 2003). "Surprise! There is a third YouTube co-founder". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
  2. "YouTube.com WHOIS, DNS, & Domain Info - DomainTools". WHOIS. 2016. สืบค้นเมื่อ January 23, 2016.
  3. Graham, Jefferson (November 21, 2005). "Video websites pop up, invite postings". USA Today. สืบค้นเมื่อ July 28, 2006.
  4. Wooster, Patricia (2014). YouTube founders Steve Chen, Chad Hurley, and Jawed Karim. ISBN 1467724823. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
  5. Sara Kehaulani Goo (October 7, 2006). "Ready for Its Close-Up". Washington Post. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
  6. "YouTube on May 7, 2005". Wayback Machine. พฤษภาคม 7, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 7, 2005. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 31, 2015.
  7. Alleyne, Richard (July 31, 2008). "YouTube: Overnight success has sparked a backlash". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ January 17, 2009.
  8. Jawed Karim and Yakov Lapitsky (April 23, 2005). "Me at the Zoo" (Video). YouTube. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
  9. Woolley, Scott (March 3, 2006). "Raw and Random". Forbes. Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ July 28, 2006.
  10. "Sequoia's Investment Memo on YouTube". Thornbury Bristol (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). มิถุนายน 11, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 22, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 21, 2016.
  11. "YouTube is the Fastest Growing Website", Gavin O'malley, Advertising Age, July 21, 2006.
  12. "Info for YouTube.com". Alexa.com. Amazon.com. July 26, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ July 26, 2006.
  13. "YouTube U.S. Web Traffic Grows 17 Percent Week Over Week, According to Nielsen//Netratings" (PDF). Netratings, Inc. Nielsen Media Research. July 21, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Press Release)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ September 12, 2006.
  14. James Massola (October 17, 2006). "Google pays the price to capture online video zeitgeist". Eureka Street. Vol. 16 no. 15. Jesuit Communications Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-22. สืบค้นเมื่อ October 18, 2006.
  15. "Online Video: The Market Is Hot, but Business Models Are Fuzzy". สืบค้นเมื่อ August 25, 2017.
  16. "Google closes $A2b YouTube deal". The Age. Melbourne. Reuters. November 14, 2006. สืบค้นเมื่อ March 3, 2007.
  17. La Monica, Paul R. (October 9, 2006). "Google to buy YouTube for $1.65 billion". CNNMoney. CNN. สืบค้นเมื่อ October 9, 2006.
  18. Schonfeld, Erick. "Chad Hurley's Take From The Sale Of YouTube: $334 Million". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ August 25, 2017.
  19. Stafford, Alan (May 31, 2006). "The 100 Best Products of 2006". PC World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2008. สืบค้นเมื่อ March 3, 2007.
  20. "GooTube: Google buys YouTube". Boing Boing. ตุลาคม 9, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 19, 2007. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 4, 2007.
  21. Carter, Lewis (April 7, 2008). "Web could collapse as video demand soars". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ April 21, 2008.
  22. Coyle, Jake (March 20, 2007). "YouTube announces awards to recognize best user-created videos of the year". USA Today. Associated Press. สืบค้นเมื่อ March 17, 2008.
  23. Gough, Paul (July 25, 2007). "CNN's YouTube debate draws impressive ratings". Reuters. p. 1. สืบค้นเมื่อ August 3, 2007.
  24. "Part I: CNN/YouTube Republican presidential debate transcript - CNN.com". CNN. November 28, 2007. สืบค้นเมื่อ April 30, 2010.
  25. Brad Stone and Brooks Barnes (November 10, 2008). "MGM to Post Full Films on YouTube". The New York Times. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
  26. Staci D. Kramer (April 30, 2009). "It's Official: Disney Joins News Corp., NBCU In Hulu; Deal Includes Some Cable Nets". paidContent. สืบค้นเมื่อ April 30, 2009.
  27. "Complete List of 2008 Peabody Award Winners". Peabody Awards, University of Georgia. เมษายน 1, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 1, 2011. สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2009.
  28. Ho, Rodney (April 2, 2009). "Peabody honors CNN, TMC". The Atlanta Journal-Constitution. สืบค้นเมื่อ April 14, 2009.
  29. Chris Soghoian (March 2, 2009). "Is the White House changing its YouTube tune?". CNET. สืบค้นเมื่อ August 25, 2017.
  30. "YouTube's Guide to Video Embedding for the U.S. Federal Government Overview". [ลิงก์เสีย]
  31. Allen, Kati (November 19, 2009). "YouTube launches UK TV section with more than 60 partners". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ December 13, 2009.
  32. "100 greatest movies, TV shows, and more". Entertainment Weekly's EW.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-09. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
  33. Miguel Helft (January 20, 2010). "YouTube takes a small step into the film rental market". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 13, 2010.
  34. Shiels, Maggie (January 21, 2010). "YouTube turns to movie rental business". BBC News. สืบค้นเมื่อ May 7, 2010.
  35. "YouTube to offer film rentals in the UK". BBC News. October 7, 2011. สืบค้นเมื่อ October 7, 2011.
  36. Tsotsis, Alexia (May 9, 2011). "Google Partners With Sony Pictures, Universal And Warner Brothers For YouTube Movies". techcrunch.com. สืบค้นเมื่อ June 5, 2011.
  37. Sweney, Mark (January 20, 2010). "Cricket: IPL goes global with live online deal". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ February 6, 2010.
  38. Chapman, Glenn (April 1, 2010). "YouTube redesigns website to keep viewers captivated". Sydney Morning Herald. AFP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2010. สืบค้นเมื่อ April 1, 2010.
  39. Chapman, Glenn (May 18, 2010). "YouTube serving up two billion videos daily". Sydney Morning Herald. AFP. สืบค้นเมื่อ May 17, 2010.
  40. Shane Richmond (May 26, 2011). "YouTube users uploading two days of video every minute". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ May 26, 2011.
  41. Oreskovic, Alexei (January 23, 2012). "YouTube hits 4 billion daily video views". Reuters. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
  42. "comScore Releases May 2010 U.S. Online Video Rankings". comScore. June 24, 2010. สืบค้นเมื่อ June 27, 2010.
  43. Whitelaw, Ben (April 20, 2011). "Almost all YouTube views come from just 30% of films". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ April 21, 2011.
  44. Whitney, Lance (November 4, 2011). "Google+ now connects with YouTube, Chrome". CNET. สืบค้นเมื่อ November 4, 2011.
  45. "YouTube's website redesign puts the focus on channels". BBC. December 2, 2011. สืบค้นเมื่อ December 2, 2011.
  46. Cashmore, Pete (October 26, 2006). "YouTube Gets New Logo, Facelift, and Trackbacks – Growing Fast!". สืบค้นเมื่อ December 2, 2011.
  47. "Alexa Traffic Rank for YouTube (three-month average)". Alexa Internet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-07. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
  48. Nakashima, Ryan (October 29, 2011). "YouTube launching 100 new channels". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  49. Gutelle, Sam (November 12, 2013). "YouTube Has Removed All References To Its Original Channels Initiative". Tubefilter. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  50. "Error 404 (Not Found)!". YouTube. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  51. Cicconet, Marcelo (April 7, 2013). "YouTube not just a site for entertainment, but education". Washington Square News. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  52. Humphrey, Michael (July 27, 2012). "YouTube PrimeTime: Philip DeFranco's 'People First' Plan Has SourceFed Booming". Forbes. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  53. The Game Theorists (2017-05-07), Game Theory: How Minecraft BROKE YouTube!, สืบค้นเมื่อ 2017-06-22
  54. "YouTube Partners With ABC News To Offer Its First-Ever Live Stream of the U.S. Presidential Debates". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ October 1, 2012.
  55. Burns, Matt. "Gangnam Style Hits 1 Billion YouTube Views, The World Does Not End". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
  56. "YouTube Reaches 1 Billion Users Milestone". CNBC. March 21, 2013. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  57. Shields, Mike (May 28, 2013). "Arnold Schwarzenegger, Ryan Higa Win YouTube Comedy Week—Maybe". Adweek. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  58. Spangler, Todd (October 21, 2013). "YouTube Music Awards Nominees Announced". Variety. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  59. Jaworski (May 23, 2013). "YouTube has a Hollywood problem". The Daily Dot. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  60. Gutelle, Sam (May 20, 2013). "Six Reasons Why YouTube's 'Big Live Comedy Show' Didn't Work". Tubefilter. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  61. Gelt, Jessica (November 3, 2013). "YouTube Music Awards: Eminem wins Artist of the Year ... wait, what?". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  62. Gutelle, Sam (November 4, 2013). "The YouTube Music Awards Were Weird, And That's A Problem". Tubefilter. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  63. Cohen, Joshua (November 4, 2013). "YouTube Is Now The Most Subscribed Channel On YouTube". Tubefilter. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
  64. "Woman wounds 3 at YouTube headquarters in California before killing herself". www.msn.com.
  65. 65.00 65.01 65.02 65.03 65.04 65.05 65.06 65.07 65.08 65.09 65.10 65.11 65.12 Sayer, Peter (June 19, 2007). "Google launches YouTube France News". PC Advisor. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
  66. สามารถดูรายชื่อประเทศที่มีเว็บไซต์ยูทูบในภาษาท้องถิ่นได้ที่ด้านล่างเว็บดังกล่าว
  67. "Presentan hoy YouTube México" [YouTube México launched today]. El Universal (ภาษาสเปน). October 11, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2009. สืบค้นเมื่อ September 9, 2010.
  68. "中文上線 – YouTube 香港中文版登場!". Stanley5. October 17, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-11. สืบค้นเมื่อ January 2, 2012.
  69. "YouTube台灣網站上線 手機版再等等". ZDNet. ตุลาคม 18, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 6, 2010. สืบค้นเมื่อ มกราคม 2, 2012.
  70. 70.0 70.1 Nicole, Kristen (October 22, 2007). "YouTube Launches in Australia & New Zealand". Mashable. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
  71. Nicole, Kristen (November 6, 2007). "YouTube Canada Now Live". Mashable. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
  72. Ostrow, Adam (November 8, 2007). "YouTube Germany Launches". Mashable. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
  73. "YouTube перевелся на русский" (ภาษารัสเซีย). Kommersant Moscow. November 14, 2007. สืบค้นเมื่อ March 22, 2012.
  74. Williams, Martyn (January 23, 2008). "YouTube Launches Korean Site". PC World. สืบค้นเมื่อ March 22, 2012.
  75. Joshi, Sandeep (May 8, 2008). "YouTube now has an Indian incarnation". The Hindu. Chennai, India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-28. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
  76. Bokuvka, Petr (October 12, 2008). "Czech version of YouTube launched. And it's crap. It sucks". The Czech Daily Word. Wordpress.com. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
  77. Launch video unavailable when YouTube opens up in Sweden October 23, 2008. Retrieved December 7, 2012.
  78. "YouTube launches in Argentina". กันยายน 9, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2010. สืบค้นเมื่อ September 9, 2010.
  79. 79.0 79.1 79.2 79.3 79.4 79.5 79.6 "YouTube Launches Local Version For Algeria, Egypt, Jordan, Morocco, Saudi Arabia, Tunisia and Yemen". ArabCrunch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2011. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011.
  80. Jidenma, Nmachi (September 1, 2011). "Google launches YouTube in Kenya". The Next Web. สืบค้นเมื่อ March 22, 2012.
  81. Nod, Tam (October 13, 2011). "YouTube launches 'The Philippines'". The Philippine Star. สืบค้นเมื่อ October 13, 2011.[ลิงก์เสีย]
  82. "YouTube Launches Singapore Site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2011. สืบค้นเมื่อ September 23, 2015.
  83. YouTube launches localized website for Colombia December 1, 2011. Retrieved December 1, 2011.
  84. Google Launches YouTube Uganda เก็บถาวร มกราคม 4, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน December 2, 2011. Retrieved January 15, 2012.
  85. Google to Launch YouTube Nigeria Today เก็บถาวร มกราคม 8, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน December 7, 2011. Retrieved January 15, 2012.
  86. Google launches YouTube Chile March 19, 2012. Retrieved March 22, 2012. เก็บถาวร มีนาคม 25, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  87. Google Launches Hungarian YouTube March 12, 2012. Retrieved March 22, 2012. เก็บถาวร มกราคม 17, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  88. YouTube Launches Local Domain For Malaysia March 22, 2012. Retrieved March 22, 2012.
  89. YouTube Peru Launched, Expansion continues March 27, 2012. Retrieved April 1, 2012.
  90. Bindu Suresh Rai (เมษายน 2, 2012). "UAE version of YouTube launched". Emirates 247. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2014. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 14, 2014.
  91. "YouTube Launches Indonesian Version" เก็บถาวร กรกฎาคม 20, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, June 15, 2012. Retrieved July 8, 2012.
  92. "Google launches YouTube in Ghana", June 22, 2012. Retrieved July 8, 2012.
  93. "YouTube launches local portal in Senegal", Jubr> ^ [3] itag 120 is for live streaming and has metadata referring to "Elemental Technologies Live".July 16, 2012. Retrieved July 25, 2012.
  94. "YouTube's Turkish version goes into service", October 1, 2012. Retrieved October 1, 2012.
  95. Tarasova, Maryna (December 13, 2012). "YouTube приходить в Україну! (YouTube comes in Ukraine!)" (ภาษายูเครน). Ukraine: Google Ukraine Blog.
  96. "YouTube lanceres i Danmark". Denmark: iProspect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2013. สืบค้นเมื่อ April 17, 2013.
  97. Sormunen, Vilja (February 6, 2013). "YouTube Launches in the Nordics". Nordic: KLOK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-09. สืบค้นเมื่อ February 11, 2013.
  98. "YOUTUBE LAUNCHED IN NORWAY". Norway: TONO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 20, 2013. สืบค้นเมื่อ เมษายน 17, 2013.
  99. "YouTube goes Swiss". Swiss: swissinfo. สืบค้นเมื่อ April 17, 2013.
  100. "YouTube.at since Thursday online". Austria: Wiener Zeitung. สืบค้นเมื่อ April 17, 2013.
  101. "Youtube România se lansează într-o săptămână". Romania: ZF.ro. สืบค้นเมื่อ May 14, 2013.
  102. "Google lança versão lusa do YouTube". Portugal: Luso Noticias. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 3, 2013. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 14, 2013.
  103. tš (May 21, 2013). "Slováci už môžu oficiálne zarábať na tvorbe videí pre YouTube" (ภาษาสโลวัก). Vat Pravda. สืบค้นเมื่อ February 14, 2014.
  104. 104.0 104.1 104.2 104.3 104.4 Nick Rego (กันยายน 16, 2013). "YouTube expands monetization and partnership in GCC". tbreak Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 6, 2014. สืบค้นเมื่อ February 14, 2014.
  105. Ивелина Атанасова (มีนาคม 18, 2014). "YouTube рекламата става достъпна и за България" (ภาษาบัลแกเรีย). New Trend. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 7, 2014. สืบค้นเมื่อ เมษายน 5, 2014.
  106. "Oglašavanje na video platformi YouTube od sad dostupno i u Hrvatskoj" (ภาษาโครเอเชีย). Lider. March 19, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2015. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
  107. Siiri Oden (มีนาคม 19, 2014). "Youtube reklaamid – uued võimalused nüüd ka Eestis!" (ภาษาเอสโตเนีย). Meedium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2014. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
  108. Marta (มีนาคม 18, 2014). "Tagad reklāmas iespējas Youtube kanālā iespējams izmantot arī Latvijā" (ภาษาลัตเวีย). Marketing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2014. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
  109. STA (March 18, 2014). "Na Youtube prihajajo tudi slovenski video oglasi" (ภาษาสโลวีเนีย). Dnevnik. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
  110. Asina Pornwasin (April 3, 2014). "YouTube introduces homepage especially". The Nation. สืบค้นเมื่อ April 4, 2014.
  111. 111.0 111.1 111.2 111.3 Stephen Hall (October 12, 2015). "YouTube continues global expansion w/ versions of its site in 7 new locales". 9to5 Google. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
  112. "YouTube launches Nepal, Pakistan, Sri Lanka-specific homepages". The Himalayan Times. January 13, 2016. สืบค้นเมื่อ January 31, 2016.
  113. "YouTube launches country-specific homepage for Pakistan". The Express Tribune. January 12, 2016. สืบค้นเมื่อ January 31, 2016.
  114. "YouTube launches Nepal, Pakistan, Sri Lanka-specific homepages". The Himalayan Times. January 13, 2016. สืบค้นเมื่อ January 31, 2016.
  115. 881903.com Commercial Radio เก็บถาวร ธันวาคม 23, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  116. CableTV เก็บถาวร มีนาคม 15, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Google purchases YouTube for $1.65 billion