น้ำเต้าพระฤๅษี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำเต้าพระฤๅษี
Nepenthes smilesii จากกัมพูชา ที่ระดับความสูง 16 ม.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  smilesii
ชื่อทวินาม
Nepenthes smilesii
Hemsl. (1895)
ชื่อพ้อง
  • Nepenthes mirabilis f. smilesii
    (Hemsl.) Hort.Westphal (2000)
  • Nepenthes mirabilis var. smilesii
    (Hemsl.) Hort.Weiner in sched. (1985)

น้ำเต้าพระฤๅษี[1] (Nepenthes smilesii; ได้ชื่อตามสไมลซ์ (Smiles), นักพฤกษศาสตร์) เป็นชนิดที่แพร่กระจายอย่างกว้างขวางในอินโดจีน น้ำเต้าพระฤๅษีถูกบันทึกไว้ว่าพบในพื้นที่ชื้นแฉะ เปิดโล่ง ดินเป็นแบบดินปนทราย สามารถทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีเยี่ยม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

Nepenthes smilesii เป็นไม้เลื้อยไต่ ยาวได้ถึง 5 ม.[2] ใบไร้ก้าน คล้ายแผ่นหนัง ใบเดี่ยวรูปหอกใบเรียงตัวเป็นเกลียว ยาวถึง 40 ซม.กว้าง 4 ซม.[2] หม้อมีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร สีส้ม ฝาหม้อมีลักษณะรูปวงรี

ดอกเป็นแบบช่อกระจะ ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ผลคล้ายแคปซูลและแตกเมื่อแก่ ลักษณะคล้ายกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิด N. thorelii[3]

ลำต้นและใบมีขนสั้นนุ่มสีขาวทั้งหน้าใบและท้องใบ ขอบใบเรียบมีขนเล็กน้อย ช่อดอกมีขนนุ่ม สีน้ำตาล

นิเวศวิทยา[แก้]

Nepenthes smilesii จากกัมพูชา (16 m asl)
Nepenthes smilesii จากกัมพูชา (~700 m asl)

Nepenthes smilesii มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างในอินโดจีน มีบันทึกว่าพบในกัมพูชา,[4] ตะวันออกเฉียงเหนือของไทย, ตอนใต้ของลาว, และอาจจะพบในทางตะวันตกของเวียดนาม[2] พบที่ระดับความสูง 200–1500 ม.เหนือจากระดับน้ำทะเล แต่โดยส่วนมากแล้วจะพบที่ความสูงประมาณ 800 ม.[2]

ลูกผสมทางธรรมชาติ[แก้]

มีลูกผสมตามธรรมชาติชนิดเดียวของ Nepenthes smilesii ที่เป็นที่รู้จัก คือลูกผสมที่ผสมกับ N. mirabilis[2] ลูกผสมนี้จะแสดงลักษณะอยู่กึ่งกลางระหว่างพ่อและแม่ ซึ่งยากต่อการจำแนกความแตกต่าง[2] ที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึงในประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งที่ N. smilesii ไม่ขึ้นปะปนกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นและการเฝ้าสังเกตที่มั่นใจในการขาดนัยสำคัญของอินโทรเกรสชัน[2]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]