น้องเมีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้องเมีย
หน้าปกดีวีดีฉบับปี พ.ศ. 2533
กำกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
เขียนบทพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
อำนวยการสร้างกมลา เศรษฐี
นักแสดงนำฉัตรชัย เปล่งพานิช
ภัสสร บุณยเกียรติ
ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี
คมสัน พงษ์สุธรรม
สุรเดช แก้วท่าไม้
กมลา เศรษฐี
สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต (นักแสดงรับเชิญ)
กำกับภาพอานุภาพ บัวจันทร์
ตัดต่อหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ดนตรีประกอบสุรชัย จันทิมาธร
ผู้จัดจำหน่ายพร้อมมิตรภาพยนตร์
วันฉายพ.ศ. 2533
ความยาว107 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
น้องเมีย
สร้างโดยบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
เขียนโดยบทประพันธ์ :
;วาทินี โอฬารกุล
บทโทรทัศน์ :
พิง ลำพระเพลิง, วาทินี โอฬารกุล
กำกับโดยพิง ลำพระเพลิง
แสดงนำอัษฎาวุธ เหลืองสุนทร
ณปภัช วัฒนากมลวุฒิ
นพพล พิทักษ์โล่พานิช
การัญชิดา คุ้มสุวรรณ
เบญจพล เชยอรุณ
ปณิตา ธรรมวัฒนะ
ดวงตา ตุงคะมณี
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดถามไปก็ยิ่งเจ็บ - นัตตี้ ศรัณย์ภัทร พัชระเศรษฐ์กุล
ดนตรีแก่นเรื่องปิดหยุดพูดให้รู้สึกดี - ฝ้าย แอมไฟน์
จำนวนตอน28 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างดร.องอาจ สิงห์ลำพอง
ความยาวตอน60 นาที / ตอน และ 1 ชั่วโมงครึ่ง / ตอน
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ช่อง 8
ออกอากาศพ.ศ. 2555 –
พ.ศ. 2555

น้องเมีย (อังกฤษ: Song of Chaophraya) เป็นภาพยนตร์ไทย บทพระนิพนธ์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ สร้างเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2533 ได้แก่

ละครน้องเมีย บทประพันธ์โดย : พิมพินกับพาเพลิน ละครน้องเมีย บทโทรทัศน์โดย : วาทินีย์ โอฬาร์กร / จันทรัยยา ละครน้องเมีย กำกับการแสดงโดย : ต้น-ชานนท์ สมฤทธิ์ ละครน้องเมีย ดำเนินงานโดย : เมย์ เฟื่องอารมย์ ละครน้องเมีย ออกอากาศทุกวันจันทร์ - พุธ เวลา 08.00 / 11.30 / 20.00 น. ทางช่อง 8

นักแสดง พ.ศ. 2555[แก้]

เนื้อเรื่อง[แก้]

แสง (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) พ่อค้าเรือดูดทรายจากปากน้ำโพ ล่องเรือมากรุงเทพเพื่อขายทราย ขณะที่จอดเรืออยู่นั้น ปราง (ภัสสร บุณยเกียรติ) เมียสาวของเขาซึ่งเบื่อหน่ายชีวิตชาวเรือ หนีขึ้นฝั่งเพื่อแสวงหาชีวิตใหม่ ทิ้งแดง (ด.ช.อะตอม) ที่เกิดกับแสงที่ยังเป็นทารก ไว้ให้ ทับทิม (ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี) น้องสาวที่อายุเพิ่ง 15 ดูแลแทน ขณะที่ เดช (สุรเดช แก้วท่าไม้) เพื่อนของแสงพยายามยุเขาให้เอาทับทิมมาเป็นเมียอีกคน

แสงแทบผลิกแผ่นดินกรุงเทพตามหาปราง โดยมีสุคนธ์ คนขับแท็กซี่ (คมสัน พงษ์สุธรรม) ช่วยพาเขาตระเวนตามหาทั่วเมือง แต่ล้มเหลว แสงเมากลับมาและเห็นทับทิมเป็นปราง พยายามจะปลุกปล้ำทุกครั้ง แต่ทับทิมก็เอาตัวรอดได้เสมอ โดยไม่ทิ้งแสงกับลูก ในที่สุด แสงรู้ว่า ปรางไปอยู่กับผู้หญิงชื่อ อารี (กมลา เศรษฐี) ที่สุขุมวิท ซึ่งหลอกเธอว่าจะสนับสนุนให้เป็นดาราแต่กลับถูกหลอกให้เป็นสาวขายบริการ แสงเมาอาละวาดที่อพาร์ตเมนต์ของอารี จนโดนจับเข้าคุก ทั้งหมดนี้ได้ทับทิม น้องสาวของปรางที่เพิ่งจะเป็นวัยรุ่นช่วยไว้

นักแสดงนำ[แก้]

ภาพยนตร์ พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2533
แสง สรพงศ์ ชาตรี ฉัตรชัย เปล่งพานิช
ปราง วิยะดา อุมารินทร์ ภัสสร บุญยเกียรติ
ทับทิม ลลนา สุลาวัลย์ ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี
เดช สุรเดช แก้วท่าไม้
อารี ชูศรี โรจนประดิษฐ์ กมลา เศรษฐี
แดง ด.ช.อะตอม
สุคนธ์ (คนขับแท็กซี่) อดุลย์ กรีน คมสัน พงษ์สุธรรม
ป้าทอง สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต
คุณวิเชียร พูนสวัสดิ์ ธีมากร ตรัยเทพ เทวะผลิน
นงนารถ วิไลวรรณ คันธะรักษา

เบื้องหลังและงานสร้าง[แก้]

น้องเมีย เป็นเรื่องของแสงและปราง คู่สามีภรรยาจากปากน้ำโพ ล่องเรือเข้ากรุงเทพฯเพื่อขายแตงโม/ขายทราย[remark 1] มีทับทิมน้องสาวของปรางขอติดเรือมาเที่ยวเมืองหลวงด้วย แต่เมื่อมาถึง ปรางกลับตัดสินใจทิ้งแสงเพื่อหางานที่ดีกว่า แสงคลั่งและขายข้าวของทุกอย่างแม้จะถูกกดราคาเพื่อเอาเงินมาใช้ตามหาปราง ทิ้งให้ทับทิมเลี้ยงดูลูกชายตามลำพัง โชคร้ายกระหน่ำซ้ำเติมทำให้แสงเริ่มท้อใจและเห็นความดีในตัวทับทิม ในขณะที่ปรางรู้ตัวว่าถูกหลอก จึงคิดกลับมาหาแสง

น้องเมีย เคยสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2521 บทพระนิพนธ์ บทภาพยนตร์ กำกับการแสดงและลำดับภาพโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ถ่ายภาพโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ศิลปกรรมโดย อำนาจ โหราศาสตร์ ที่ปรึกษาโดย สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ สร้างโดย ละโว้ภาพยนตร์ จัดจำหน่ายโดย สหมงคลฟิล์ม นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี ลลนา สุลาวัลย์ และ วิยะดา อุมารินทร์ ร่วมด้วย อดุลย์ กรีน, ท้วม ทรนง, พูลสวัสดิ์ ธีมากร, ชูศรี มีสมมนต์, ทองฮะ วงศ์รักไทย เข้าฉายเมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2521[1]

ต่อมา พ.ศ. 2533 สร้างใหม่ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 18 ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ได้นักแสดงชื่อดัง อย่าง ฉัตรชัย เปล่งพานิช และภัสสร บุณยเกียรติ แสดงนำ ตัวละครสำคัญคือ ทับทิม รับบทโดย ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี นักแสดงเด็ก บุตรสาวของ รอง เค้ามูลคดี และ ปทุมวดี โสภาพรรณ นับเป็นการแสดงบทชีวิตที่สำคัญอีกครั้งของปัทมวรรณ หลังจากรับบทคล้ายคลึงกันนี้จาก วัลลี เด็กหญิงยอดกตัญญู มาแล้วจากละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น

ภาพยนตร์สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาครอบครัวของชาวเรือที่ต้องหาเช้ากินค่ำ และคนหาเช้ากินค่ำในเมืองหลวง ประสบความสำเร็จในด้านคำวิจารณ์และรางวัล เช่น ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พระสุรัสวดี, ฉัตรชัย เปล่งพานิช รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พระสุรัสวดีและรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง และปัทมวรรณ เค้ามูลคดี รางวัลนักแสดงดาวรุ่งยอดเยี่ยม พระสุรัสวดี และยังได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประเทศไทย ในการเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ในการประกาศผลรางวัลครั้งที่ 62 ด้วย แต่มิได้ผ่านเข้าถึงรอบสุดท้าย [2]

เคยออกอากาศทางโทรทัศน์เมื่อคืนวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553 ทางไทยพีบีเอส ในรายการแกะกล่องหนังไทย

รางวัล (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2533)[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ภาพยนตร์น้องเมียปี พ.ศ. 2521 ขายแตงโม ส่วนภาพยนตร์น้องเมียปี พ.ศ. 2533 ขายทราย

อ้างอิง[แก้]

  1. ละครโทรทัศน์ น้องเมีย (2521)[ลิงก์เสีย]
  2. Margaret Herrick Library, Academy of Motion Picture Arts and Sciences

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]