นัยนา ชีวานันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นัยนา ชีวานันท์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (66 ปี)
มะลิ ชีวานันท์
จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
คู่สมรสบุญยิ่ง จันทรคณา
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2514 - 2525
พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นแหวนทองเหลือง
ทิวาหวาม
คนมีคาว
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

นัยนา ชีวานันท์ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2500 [1] ดารานักแสดงหญิง ที่มีผลงานการแสดงได้รับความนิยมสูงสุดช่วง พ.ศ. 2514 - 2521

ประวัติ[แก้]

นัยนา ชีวานันท์ มีชื่อจริงว่า มะลิ ชีวานันท์ เกิดที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดเทพสถาพร[2] เข้าสู่วงการจากการประกวดนางงามในจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2512 ได้ตำแหน่ง ขวัญใจ ชาวไร่-ชาวนา ต่อมา ประวิทย์ ลีลาไว ได้ส่งเธอเข้าประกวดนางงามยาสระผมแฟซ่าที่จังหวัดนครสวรรค์ จนได้ตำแหน่งนางงามแฟซ่าประจำจังหวัด พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อจาก มะลิ เป็น นัยนา จากนั้นจึงได้ถูกส่งตัวเข้ามาประกวดต่อยังเวทีใหญ่ที่สนามมวยลุมพินีเพื่อเข้าไปประกวดมิสแฟซ่าในระดับประเทศ จนได้ตำแหน่งรองนางงามและขวัญใจช่างภาพ[3] และได้ขึ้นแบบถ่ายปกนิตยสารต่าง ๆ เช่น สกุลไทย, กุลสตรี เป็นต้น

ต่อมาหม่อมอุบลยุคล ได้ชักชวนนัยนาให้ร่วมงานกับ ละโว้ภาพยนตร์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ อำนวยการสร้างโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ให้มาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่อง มันมากับความมืด[4] คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี ตามด้วย แหวนทองเหลือง, เพชรตาแมว, ไผ่ลอดกอ, ไอ้แกละเพื่อนรัก, เขาชื่อกานต์ และกลายเป็นนางเอกชั้นแนวหน้าตั้งแต่นั้นโดยมักจะรับบทเป็นผู้หญิงเรียบร้อยแบบเศร้า ๆ ส่วนมาก เธอแสดงภาพยนตร์ทั้งสิ้นประมาณ 100 เรื่อง และเคยได้รับรางวัลนักแสดงดีเด่นจากการประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิคที่เมืองปูซาน เมื่อปี 2519 จากเรื่อง ขุนศึก กำกับโดย สักกะ จารุจินดา

ปัจจุบัน นัยนา ชีวานันท์ ใช้ชีวิตครอบครัวกับสามีที่พบรักกันมาตั้งแต่ก่อนเข้าวงการ มีผลงานแสดงละครโทรทัศน์เป็นครั้งคราว ล่าสุดเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ ฟ้าทะลายโจร (2543) เยาวราช (2546) และ ทองดี ฟันขาว (2560)

ผลงานการแสดง[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

  • มันมากับความมืด (2514)
  • เพชรตาแมว (2515)
  • ไอ้แกละเพื่อนรัก (2515)
  • เขาชื่อกานต์ (2516)
  • พิษพยาบาท (2516)
  • แหวนทองเหลือง (2516)
  • ทิวาหวาม (2517)
  • นิทราสายัณห์ (2517)
  • สามปอยหลวง (2517)
  • คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518)
  • คุณครูคนใหม่ (2518)
  • ใจรัก (2518)
  • ดาวสวรรค์ฉันรักเธอ (2518)
  • ทะเลทอง (2518)
  • ทางโค้ง (2518)
  • นักเลงป่าสัก (2518)
  • ผมไม่อยากเป็นพันโท (2518)
  • พยอมไพร (2518)
  • ฟ้าเปลี่ยนสี (2518)
  • เมียเถื่อน (2518)
  • รางวัลชีวิต (2518)
  • วิวาห์เงินผ่อน (2518)
  • สร้อยสวาท (2518)
  • ไอ้เหล็กไหล (2518)
  • ขยะ (2519)
  • ขอเพียงรัก (2519)
  • ขุนศึก (2519)
  • แซ่บ (2519)
  • นางสาวลูกดก (2519)
  • แผ่นดินของเรา (2519)
  • ไผ่กำเพลิง (2519)
  • พรายกินรี (2519)
  • เพื่อนคู่แค้น (2519)
  • สันติ-วีณา (2519)
  • สายลับกระจับเหล็ก (2519)
  • สาวแก่ (2519)
  • เสือ 4 แคว (2519)
  • เสือกเกิดมาจน (2519)
  • โอ้ลูกรัก (2519)
  • สวรรค์ไม่มีวันรู้ (2519)
  • สวรรค์ยังมีชั้น (2519)
  • เผาขน (2519)
  • มนต์เรียกผัว (2519)
  • มหาอุตม์ (2519)
  • มือปืนขี้แย (2519)
  • 8 เหลี่ยม 12 คม (2519)
  • 1-2-3 ด่วนมหาภัย (2520)
  • 3 นัด (2520)
  • ขบวนการสามสลึง (2520)
  • ข้าวก้นบาตร (2520)
  • ถล่มมาเฟีย (2520)
  • ทางเสือผ่าน (2520)
  • ทีใครทีมัน (2520)
  • บินเดี่ยว (2520)
  • ผู้ยิ่งใหญ่ชายแดน (2520)
  • มนต์รักแม่น้ำมูล (2520)
  • มันทะลุฟ้า (2520)
  • ศาลปืน (2520)
  • วีรบุรุษกุ๊ย (2520)
  • สวัสดีคุณครู (2520)
  • หนักแผ่นดิน (2520)
  • เหยียบหัวสิงห์ (2520)
  • ขอเช็ดน้ำตาให้ตัวเอง (2521)
  • ขุนทะเล (2521)
  • เลือดสีเดียว (2521)
  • คนมีคาว (2521)
  • ดวงเพชฌฆาต (2521)
  • โตไม่โตซัดดะ (2521)
  • ถล่มดงนักเลง (2521)
  • ถล่มวังข่า (2521)
  • นักสู้ภูธร (2521)
  • เพชรมหากาฬ (2521)
  • มันส์เขาล่ะ (2521)
  • มือปราบปืนทอง (2521)
  • รักเต็มเปา (2521)
  • ลูกทุ่งเพลงสวรรค์ (2521)
  • ลูกโดด (2521)
  • สามร้อยยอด (2521)
  • อะไรกันว๊ะ (2521)
  • ไอ้ซ่าส์ (2521)
  • นํ้าใจคน (2521)
  • ข้าชื่อไอ้เพลิง (2522)
  • แดร๊กคิวล่าต๊อก (2522)
  • ลานนาสะอื้น (2522)
  • ตลุมบอน (2522)
  • กู่แก้วนางคอย (2522)
  • ทำไมถึงต้องเป็นเรา (2522)
  • ยอดหญิงต๊ะติ๊งโหน่ง (2522)
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง (2522)
  • เสือสะเออปล้น (2522)
  • หักเหลี่ยมนักเลงปืน (2522)
  • ซาตานที่รัก (2523)
  • ตาพระยาบ้าเลือด (2523)
  • แค้นต้องฆ่า (2525)
  • 2 พยัคฆ์ชาตินักสู้ (2526)
  • ฟ้าทะลายโจร (2543)
  • เยาวราช (2546)
  • ทองดี ฟันขาว (2560)

ละครโทรทัศน์[แก้]

  • พิมพิลาไลย ช่อง 5 ปี 2522
  • สวรรค์บ้านทุ่ง ช่อง 9 ปี 2541
  • ดุจเพชรแท้ ช่อง 7 ปี 2541
  • มัจจุราชจำแลง ช่อง 7 ปี 2543
  • หลงไฟ ช่อง itv ปี 2544

งานการเมือง[แก้]

นัยนา ได้เข้าร่วมงานการเมืองในปี พ.ศ. 2561 ในนามพรรคไทยศรีวิไลย์ และรับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาพรรค[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติ นัยนา ชีวานันท์ จากเว็บหนังดี
  2. ประวัติ นัยนา ชีวานันท์ ทางชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทน์[ลิงก์เสีย]
  3. "นัยนา ชีวานันท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-01-13.
  4. "นัยนา ชีวานันท์ ภาค 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-01-13.
  5. พรรคไทยศรีวิไลย์เลือก “มงคลกิตติ์” นั่งหัวหน้าพรรค โชว์ทุบหม้อข้าวประกาศนโยบายปราบโกงทั้งแผ่นดิน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]