ทุ่งกุลาร้องไห้

พิกัด: 15°28′09″N 103°40′42″E / 15.469192°N 103.678431°E / 15.469192; 103.678431
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่ในภาคอีสาน มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ มีที่ตั้งติด แม่น้ำมูล และลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล เช่น ห้วยทับทัน (ลำทับทันหรือคลองทับทัน) ห้วยเสียว ลำพลับพลา และบางส่วนที่ติด แม่น้ำชี ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม; อำเภอชุมพลบุรีและอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์; อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย และอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด; อำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล และอำเภอยางชุมน้อย บางส่วนของ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอห้วยทับทัน อำเภอบึงบูรพ์ ที่มีที่ตั้งติดห้วยทับทัน ลำทับทันหรือคลองทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ; อำเภอค้อวัง และอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

ทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ปกติแล้วชนเผ่ากุลาเป็นชนเผ่าที่มีความอดทนสูงมาก สู้งาน สู้แดด ลม ฝน แต่เมื่อได้เดินทางผ่านทุ่งแห่งนี้ ที่มีพื้นที่กว้างขวางเหลือประมาณ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินก็เป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้ ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้"[1][2]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

15°28′09″N 103°40′42″E / 15.469192°N 103.678431°E / 15.469192; 103.678431