ที่อยู่อาศัยใต้ทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ใต้ทะเลมีสภาพแวดล้อมมากมายที่สิ่งมีชีวิตสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลทุกชนิดต้องพึ่งน้ำทะเล ที่อยู่อาศัยคือพื้นที่ทางระบบนิเวศวิทยาหรือสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่ ๆ หนึ่งหรือหลายสปีชีส์อาศัยอยู่[1][2]

ที่อยู่อาศัยใต้ทะเลแบ่งเป็นถิ่นที่อยู่บริเวณชายฝั่งและถิ่นที่อยู่บริเวณทะเลเปิด ถิ่นที่อยู่บริเวณชายฝั่งจะพบได้ในพื้นที่มีน้ำขึ้นมาในแนวชายฝั่งจนถึงขอบของไหล่ทวีป สิ่งมีชีวิตในทะเลส่วนมากจะพบในบริเวณนี้ถึงแม้ว่าบริเวณนี้จะมีพื้นเพียง 7% ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด ส่วนถิ่นที่อยู่บริเวณทะเลเปิดจะนับตั้งแต่ขอบของไหล่ทวีปลงมา

การแบ่งที่อยู่อาศัยใต้ทะเลนั้นยังมีการแบ่งอีกแบบคือเขตน้ำตื้นกับเขตทะเลด้านล่าง สัตว์ในเขตน้ำตื้นจะพบบริเวณผิวน้ำและในทะเลที่ไม่ลึกมากและห่างจากทะเลด้านล่างที่ลึก ส่วนสัตว์ในเขตด้านล่างจะพบในทะเลลึกหรือที่ก้นทะเล สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยในเขตน้ำตื้นกล่าวกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลเปิดหรือบริเวรผิวน้ำเช่นทูน่า ทำนองเดียวกันสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลด้านล่างกล่าวกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิตตามพื้นหรือทะเลลึกเช่นปลาหน้าดิน สัตว์ในเขตน้ำตื้นนั้นจะมีที่อยู่อาศัยถาวรหรือไม่ถาวรขึ้นอยู่กับกระแสน้ำจะไปทางไหน

ที่อยู่อาศัยใต้ทะเลสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามประชากรที่อาศัยอยู่ สิ่งมีชีวิตในทะเลบางชนิดเช่นปะการัง สาหร่ายทะเล โกงกางและหญ้าทะเลเป็นวิศวกรรมทางนิเวศวิทยาที่สำคัญเนื่องจากพวกมันก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมทางทะเลขึ้นใหม่และสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้

หมายเหตุ[แก้]

  1. Dickinson, C.I. 1963. British Seaweeds. The Kew Series
  2. Abercrombie, M., Hickman, C.J. and Johnson, M.L. 1966.A Dictionary of Biology. Penguin Reference Books, London

อ้างอิง[แก้]

  • Kritzer JP and Sale PF (2006) Marine metapopulations Academic Press. ISBN 978-0-12-088781-1.
  • Moyle, PB and Cech, JJ (2004) Fishes, An Introduction to Ichthyology. 5th Ed, Benjamin Cummings. ISBN 978-0-13-100847-2
  • Nybakken JW and Bertness MD (2005) Marine biology: an ecological approach Sixth edition, Pearson/Benjamin Cummings. ISBN 978-0-8053-4582-7 – organized by habitat, not classification
  • Pidwirny, Michael (2006). "Fundamentals of Physical Geography (2nd Edition)". PhysicalGeography.net. สืบค้นเมื่อ 2011-04-19.

ดูเพิ่ม[แก้]