ถั่วลันเตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถั่วลันเตา
ถั่วลันเตาในฝัก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Vicieae
สกุล: Pisum
สปีชีส์: P.  sativum
ชื่อทวินาม
Pisum sativum
L.
Pisum sativum

ถั่วลันเตา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pisum sativum) จัดอยู่ในตระกูลถั่วมีถิ่นกำเนิดแถบประเทศเอธิโอเปีย ต่อมาแพร่กระจายปลูกในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน เอเชีย และเขตอบอุ่นต่างๆ ของโลก ถั่วลันเตาเป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบบสลับ ปลายใบเปลี่ยนเป็นมือเกาะ การเจริญเติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้างบางสายพันธุ์ ใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็กเป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบรากแก้ว ดอกเป็นแบบดอกสมบูรณ์เพศผสมในตัวเอง สามารถแบ่งประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2-3 ประเภท ได้แก่ ประเภทฝักเหนียวและแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อรับประทานเมล็ด (เรียก 豌豆 "วานโต้ว") ส่วนอีกชนิดปลูกเพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมีขนาดใหญ่มีปีก (เรียก 荷兰豆 "เหอหลานโต้ว")

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า "ลันเตา" มาจากภาษาแต้จิ๋ว "หลั่งเต่า" (兰豆/蘭豆, จีนกลางอ่าน "หลานโต้ว" lán dòu) แปลว่า "ถั่วจากฮอลันดา" (ชื่อเต็มคือ 荷兰豆 "เหอหลานโต้ว" — ถั่วจากฮอลแลนด์)[1] ซึ่งคล้ายคลึงกับ 豌豆 "วานโต้ว" ที่ในประเทศไทยสับสนเรียกรวมกันเป็น "ถั่วลันเตา"

รสชาติและสรรพคุณ[แก้]

รสหวาน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ถอนพิษ มักใช้บำบัดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นตะคริวเหน็บชา ปัสสาวะขัด และยังช่วยเพิ่มน้ำนม

คุณค่า[แก้]

มีอะกลูทินิน จิบเบอเรลลิน โปรตีน ไขมัน แคโรทีน และวิตามินบี 2

ข้อสังเกต[แก้]

ถั่วลันเตาทำเป็นกับข้าวจะมีรสชาติอร่อย ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นประจำ

อ้างอิง[แก้]

  1. "คิดต่างระหว่างบรรทัด 29 10 58". ฟ้าวันใหม่. 29 October 2015. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.