ตั่น-มหยิ่นอู้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ถั่น มินอู)

ตั่น-มหยิ่นอู้ (พม่า: သန့်မြင့်ဦး; อังกฤษ: Thant Myint-U; เกิด 31 มกราคม ค.ศ. 1966) เป็นนักประวัติศาสตร์และอดีตเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ เขายังเป็นผู้ประพันธ์ "The River of Lost Footsteps: A Personal History of Burma" ซึ่งเป็นหนังสือขายดี[1] และได้รับการยกย่องอย่างสูง[2]

เขาเกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1966 ในนครนิวยอร์ก โดยมีพ่อแม่เป็นชาวพม่า และเป็นหลานของอู้ตั่น อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ[3] เขาสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูงพอล เอช. นิทซ์ และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ใน ค.ศ. 1996

หลังจากการลุกฮือนิยมประชาธิปไตยในพม่าเมื่อ ค.ศ. 1998 เขาใช้ชีวิตเป็นเวลาหนึ่งปีตามแนวชายแดนพม่า-ไทย โดยส่วนใหญ่เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวพม่า[4] หลังจากนั้นเขาใช้ชีวิตสองปีในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยส่วนหนึ่งเพื่อทำงานเกี่ยวกับปัญหาพม่าให้แก่ฮิวแมนไรตส์วอตช์และคณะกรรมการผู้ลี้ภัยสหรัฐ

ตั่น-มหยิ่นอู้ทำงานในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเป็นเวลาสามปี โดยงานแรก ระหว่าง ค.ศ. 1992-1993 โดยเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนในองค์การบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในกัมพูชาในพนมเปญ ใน ค.ศ. 1994 เขาเป็นหัวหน้าโฆษกกองกำลังป้องกันของสหประชาชาติในอดีตยูโกสลาเวีย ซึ่งมีฐานอยู่ในซาราเยโว และใน ค.ศ. 1996 โดยเป็นเจ้าหน้าที่การเมืองของสำนักงานผู้แทนพิเศษสหประชาชาติประจำบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[5]

ระหว่าง ค.ศ. 1995 และ 1999 เขาเป็นนักวิจัยที่วิทยาลัยทรินิตี เคมบริดจ์[6] ที่ซึ่งเขาสอนและวิจัยประวัติศาสตร์อาณานิคมเอเชียและอังกฤษ ใน ค.ศ. 1999 เขาลาออกจากวิทยาลัยทรินิตีเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่บริหารของสถาบันเพื่อประชาธิปไตยและการช่วยเหลือด้านการเลือกตั้ง ซึ่งตั้งอยู่ในสต็อกโฮล์ม

ใน ค.ศ. 2000 เขาเข้าทำงานในสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติในนิวยอร์ก โดยเริ่มจากทำงานในสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ จากนั้นในทบวงกิจการการเมืองสหประชาชาติ (United Nations Department of Political Affairs) ก่อนจะกลายมาเป็นหัวหน้าหน่วยวางแผนนโยบายในทบวงดังกล่าวใน ค.ศ. 2004[7] ในระหว่างช่วงนี้ เขายังเป็นสมาชิกสำนักงานเลขาธิการของคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงด้านภัยคุกคาม สิ่งท้าทายและความเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้ออกรายงาน "โลกที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น: ภาระหน้าที่ร่วมกันของเรา"[8] ปลาย ค.ศ. 2005 และต้น ค.ศ. 2006 เขาได้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาวุโสในสำนักงานบริหารเลขาธิการใหญ่เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ โดยประสานงานการจัดตั้งคณะกรรมการสร้างสันติภาพชุดใหม่ สำนักงานสนับสนุนการสร้างสันติภาพ และหน่วยสนับสนุนการไกล่เกลี่ย และการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

นอกเหนือไปจากหนังสือ "The River of Lost Footsteps" แล้ว เขายังเป็นผู้เขียน "The Making of Modern Burma" และ "The UN Secretariat: A Brief History"[9] นอกจากนี้เขายังเขียนให้แก่เดอะนิวยอร์กไทมส์ เดอะวอชิงตันโพสต์ เดอะแอลเอไทมส์[10] อินเตอร์เนชันแนลเฮโรลด์ทรีบูน เดอะลอนดอนรีวิวออนบุ๊กส์[11] นิวสเตตส์แมน ฟาร์อีสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว นิตยสารไทมส์[12] และเดอะไทมส์ลิเทอรารีซัปพลิเมนต์

เขายังดำรงตำแหน่งผู้วิจัยพิเศษที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สถาบันสันติภาพระหว่างประเทศในนิวยอร์ก[13] และสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ และเคยดำรงตำแหน่งเดียวกันเป็นเวลาหลายปีที่ศูนย์ประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์เคมบริดจ์

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.
  2. see for example John Lancaster, "Walled Off: Can Burma Escape Its History?", The New Yorker December 11, 2006 or Nicholas Shakespeare, "Burma: A Poisoned Shangri-la" The Sunday Telegraph March 11, 2007 or Su Lin Lewis, "Meteoric Fall", Times Literary Supplement, April 13, 2007
  3. Myint-U, Thant, The River of Lost Footsteps: A Personal History of Burma, preface.
  4. "In the Jungle at the Burmese Border, Last Stand for Burmese Students", NY Times 25 June 1989
  5. Thant Myint-U and Elizabeth Sellwood, "Knowledge and Multilateral Interventions: The UN's Experiences and Cambodia and Bosnia-Hercegovina", Royal Institute of International Affairs 2000
  6. https://trin-webtest.trin.cam.ac.uk/402[ลิงก์เสีย]
  7. www.nupi.no/content/download/549/7678/version/8/file/Aforkintheroador....pdf -
  8. http://www.un.org/secureworld
  9. http://www.rienner.com/title/The_UN_Secretariat_A_Brief_History
  10. http://www.latimes.com/news/opinion/sunday/commentary/la-op-thant14oct14,0,2972504.story?coll=la-sunday-commentary
  11. http://www.lrb.co.uk/v29/n03/than01_.html
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-24. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]