ตีกัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติตีกัล *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
วิหารหมายเลข 2
พิกัด17°13′20.1″N 89°37′25.5″W / 17.222250°N 89.623750°W / 17.222250; -89.623750
ประเทศ กัวเตมาลา
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ประเภทมรดกแบบผสม
เกณฑ์พิจารณา(i), (iii), (iv), (ix), (x)
อ้างอิง64
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1979 (คณะกรรมการสมัยที่ 3)
พื้นที่57,600 ha (142,000 เอเคอร์)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ตีกัล (มายา: Tik’al) หรือ ติกัล (สเปน: Tikal) คือซากเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่สุดของอารยธรรมมายา ปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดเปเตน ประเทศกัวเตมาลา ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[1] และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอีกด้วย

ตีกัลคือเมืองที่สำคัญเมืองหนึ่งในอารยธรรมมายา สถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ภายในที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ช่วงเวลาที่เมืองเจริญถึงขีดสุดคือช่วงสมัยคลาสสิก คือ ค.ศ. 200 ถึง 900 ซึ่งช่วงนั้นเมืองตีกัลเป็นศูนย์กลางทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ และการทหาร เนื่องจากเมืองตั้งอยู่ในจุดที่เชื่อมโยงกับพื้นที่อื่น ๆ ของมีโซอเมริกาได้ทั้งหมด เช่น เมืองเม็กซิกัน เมืองเตโอตีวากาน

หลังจากสิ้นสุดสมัยคลาสสิก ไม่มีสถานที่สร้างขึ้นมาใหม่ และสถานที่บางแห่งถูกเผาทำลาย รวมถึงมีประชากรลดลง และในที่สุดเมืองก็ถูกละทิ้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10

ลักษณะพิเศษ[แก้]

เมืองโบราณตีกัลตั้งอยู่ในที่ลุ่มป่าดิบชื้น แต่เมืองก็ไม่มีน้ำสะสมไว้ใต้ดินที่มาจากฝน ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่แล้ว นักโบราณคดีได้พยายามค้นหาแหล่งน้ำใต้ดินที่ชาวมายันได้กักเก็บเพื่อไว้ใช้ และได้ค้นพบว่าบ่อน้ำ แม่น้ำ หรือทะเลสาบใกล้ ๆ เมืองมีความผิดปกติเกิดความแห้งแล้ง แต่อย่างไรก็ตาม เมืองตีกัลก็มีภูมิปัญญาทำการเกษตรที่ยอดเยี่ยม ซึ่งนักโบราณคดีได้ตั้งทฤษฎีว่าก้าวหน้ากว่าการถางป่าเพื่อทำการเกษตร แต่การพึ่งแต่ฝนตกตามฤดูกาลทำให้เมืองตีกัลแห้งแล้ง ในปัจจุบันจึงเรียกตีกัลว่าเป็นต้นกำเนิดของ การล่มสลายของมายาสมัยคลาสสิก (Classic Maya Collapse)

นักปกครอง[แก้]

นักปกครองของตีกัลในสมัยโบราณมีดังนี้

ยุคก่อนคลาสสิกตอนปลาย[แก้]

  • Yax Ehb' Xook – ประมาณ ค.ศ. 60 ผู้สถาปนาราชวงศ์
  • Siyaj Chan K'awil Chak Ich'aak ("Stormy Sky I") – ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 2
  • Yax Ch’aktel Xok – ประมาณ ค.ศ. 200

สมัยคลาสสิกตอนต้น[แก้]

  • Balam Ajaw ("Decorated Jaguar") – ค.ศ. 292
  • K'inich Ehb' – ประมาณ ค.ศ. 300
  • Ix Une' B'alam ("Queen Jaguar") – ค.ศ. 317
  • "Leyden Plate Ruler" – ค.ศ. 320
  • K'inich Muwaan Jol – เสียชีวิต ค.ศ. 359
  • Chak Tok Ich'aak I ("Jaguar Paw I") – ค.ศ. 360-378
  • Nun Yax Ayin – ค.ศ. 370-411 Nun Yax Ayin เป็นบุคคลสำคญจากติโอติวากัน ผู้ซึ่งสถาปนาราชบัลลังก์ตีกัลในปี ค.ศ. 379
  • Siyaj Chan K'awiil II ("Stormy Sky II") – ค.ศ. 411-456
  • K'an-Ak ("Kan Boar") – ค.ศ. 458-486
  • Ma'Kin-na Chan – ประมาณ ปลายคริสตวรรษที่ 5
  • Chak Tok Ich'aak (Bahlum Paw Skull) – ค.ศ. 486-508
  • Ix Kalo'mte' Ix Yo K'in ("Lady of Tikal") – ค.ศ. 511-527 ปกครองร่วมกับ Kaloomte' B'alam ซึ่งอาจจะครองรักกัน
  • Kaloomte' B'alam ("Curl-Head" and "19th Lord") – A.D. 511-527 ปกครองร่วมกับ Ix Kalo'mte' Ix Yo K'in ("Lady of Tikal") เป็นผู้สำเร็จราชการ
  • "Bird Claw" ("Animal Skull I", "Ete I") – ประมาณ ค.ศ. 527–537
  • Wak Chan K'awiil ("Double-Bird") – ค.ศ. 537-562 ถูกจับและอาจถูกบูชายัญโดย Caracol
  • "Lizard Head II" – ไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าพ่ายแพ้สงครามกับ Caracol ในปี ค.ศ. 562
กษัตริย์แห่งตีกัล จากขื่อประตูไม้ในวิหารหมายเลข 3 ซึ่งเป็นกษัตริย์ "Yax Nuun Ayin II" หรือ "Dark Sun"

ยุคเสื่อม[แก้]

  • K'inich Waaw – ค.ศ. 593-628
  • K'inich Wayaan – ประมาณ ตอนต้น/กลางคริสต์ศตวรรษที่ 7
  • K'inich Muwaan Jol II – ประมาณ ตอนต้น/กลางคริสต์ศตวรรษที่ 7

สมัยคลาสสิกตอนปลาย[แก้]

  • Jasaw Chan K'awiil I (a.k.a. Ruler A หรือ Ah Cacao) – ค.ศ. 682-734 ถูกฝังในวิหารหมายเลข 1
  • Yik'in Chan K'awiil (a.k.a. Ruler B) – ค.ศ. 734-766
  • "Temple VI Ruler" – ค.ศ. 766-768
  • Yax Nuun Ayiin II ("Chitam") – ค.ศ. 768-790
  • Chitam II ("Dark Sun") – ถูกฝังประมาณ ค.ศ. 810 ในวิหารหมายเลข 3
  • "Jewel K'awil" – ค.ศ. 849
  • Jasaw Chan K'awiil II – ค.ศ. 869-889

อ้างอิง[แก้]

  1. "Tikal National Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2009-09-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]