ฉบับร่าง:ตำบลโรง

พิกัด: 7°41′28.1″N 100°19′37.7″E / 7.691139°N 100.327139°E / 7.691139; 100.327139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตำบลโรง)
ตำบลโรง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Rong
ประเทศไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด26.05 ตร.กม. (10.06 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด2,633 คน
 • ความหนาแน่น101.07 คน/ตร.กม. (261.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90270
รหัสภูมิศาสตร์900802
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลโรง
อบต.โรงตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
อบต.โรง
อบต.โรง
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโรง
พิกัด: 7°41′28.1″N 100°19′37.7″E / 7.691139°N 100.327139°E / 7.691139; 100.327139
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด26.05 ตร.กม. (10.06 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด2,633 คน
 • ความหนาแน่น101.07 คน/ตร.กม. (261.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06900803
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 2 ถนนเกาะใหญ่-ระโนด ตำบลโรง อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 90270
เว็บไซต์www.rong-sao.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

โรง เป็นตำบลในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นตำบลที่มีพื้นที่อยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย และเป็นตำบลที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอำเภอระโนดกับอำเภอกระแสสินธุ์

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลโรง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้[2]

ประวัติ[แก้]

โรง เป็นชื่อหมู่บ้านหมู่ที่ 8 ของตำบลเชิงแส อำเภอปละท่า จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2464 มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยโอนตำบลเชิงแส ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลบ่อตรุ และตำบลวัดสน ของอำเภอจะทิ้งพระ (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกิ่งอำเภอระโนด[3] ก่อนที่ปี พ.ศ. 2466 กรมหลวงลพบุรีราเมศร อุปราชปักษ์ใต้เห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก จึงยุบอำเภอจะทิ้งพระ เป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเมืองสงขลา ส่วนกิ่งอำเภอระโนดเดิมที่ขึ้นอำเภอจะทิ้งพระ ให้ยกฐานะเป็น อำเภอระโนด[4] บ้านโรงจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอระโนดแทนอำเภอจะทิ้งพระ

ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่บ้านด้านทิศเหนือของตำบลเชิงแส ได้แก่ หมู่ 5 บ้านโคกพระ, หมู่ 6 บ้านกาหรำ, หมู่ 7 บ้านโคกแห้ว และหมู่ 8 บ้านโรง รวม 4 หมู่บ้าน ตั้งขึ้นเป็นตำบล[5] โดยใช้ชื่อว่า "โรง" มาจากวัดโรงเป็นวัดที่สร้างขึ้นนับตั้งแต่ พ.ศ. 2300 เดิมมีนามว่า "วัดบน" อยู่ห่างจากที่ตั้งวัดในปัจจุบันทางทิศตะวันออก ต่อมาสถานที่ตั้งวัดในปัจจุบันมีประชาชนมากขึ้นและได้มาปลูกบ้านเรือนอยู่บริเวณริมคลองและมีการใช้เรือเป็นพาหนะในการสัญจร ติดต่อค้าขาย ตำแหน่งที่ตั้งวัดก็ย้ายอาคารเสนาสนะมาสร้างขึ้นที่ริมคลองด้วย ซึ่งในบริเวณที่ตั้งวัดเป็นโรงต่อเรือ และเป็นที่จอดเรือและซ่อมแซมเรือของชาวบ้านในตำบล ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งชื่อว่า "วัดโรง" เมื่อประมาณ พ.ศ. 2370 จึงเป็นที่มาของชื่อวัดโรง เพราะในอดีตสถานที่ตั้งวัดเป็นโรงเรือมาก่อน แต่ด้วยการใช้ภาษาของคนถิ่นภาคใต้ที่ชอบพูดสั้นฯ จึงติดปากเหลือเฉพาะกับคำว่า "โรง"

ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2521 ทางตำบลเกาะใหญ่ได้ขอแยกการปกครองออกจากอำเภอระโนดเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง โดยมีการรวมพื้นที่ตำบลข้างเคียงอีก 2 ตำบล คือ ตำบลเชิงแสและตำบลโรง เนื่องจากการติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอใหม่ตำบลโรงใช้ระยะทางเพียง 8.5 กิโลเมตร ซึ่งอำเภอสังกัดเดิมต้องใช้ระยะทาง 11 กิโลเมตร จึงรวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอกระแสสินธุ์[6] และยกฐานะเป็น อำเภอกระแสสินธุ์ ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537[7] ตำบลโรงจึงย้ายมาขึ้นกับทางอำเภอ และเป็นตำบลลำดับที่ 3 ของทางอำเภอกระแสสินธุ์

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลโรงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านโคกพระ (Ban Khok Phra) หมู่ 5 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชิงแส
หมู่ 2 บ้านกาหรำ (Ban Karam) หมู่ 6 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชิงแส
หมู่ 3 บ้านโคกแห้ว (Ban Khok Haeo) หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชิงแส
หมู่ 4 บ้านโรง (Ban Rong) หมู่ 8 (เดิม) โอนมาจากตำบลเชิงแส
หมู่ 5 บ้านโรง (Ban Rong) -

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลโรงมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโรงทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลโรงที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[8] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโรงในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[9] จนถึงปัจจุบัน

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลโรงประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 5 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,633 คน แบ่งเป็นชาย 1,280 คน หญิง 1,353 คน (เดือนธันวาคม 2566)[10] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอำเภอกระแสสินธุ์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[10] พ.ศ. 2565 [11] พ.ศ. 2564[12] พ.ศ. 2563[13] พ.ศ. 2562[14] พ.ศ. 2561[15] พ.ศ. 2560[16]
โคกพระ 616 622 621 614 627 641 638
โรง (หมู่ 4) 600 604 609 612 615 629 625
กาหรำ 548 545 546 547 543 535 524
โคกแห้ว 485 493 488 493 498 496 507
โรง (หมู่ 5) 384 382 378 378 381 393 393
รวม 2,633 2,646 2,642 2,644 2,664 2,694 2,687

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตตำบลโรง อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 30 ง): 186–201. วันที่ 292 เมษายน พ.ศ. 2541
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 464–480. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
  4. "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกระแสสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (21 ง): 519. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521
  7. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  10. 10.0 10.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.