ตำบลโคราช

พิกัด: 14°54′39.6″N 101°50′27.1″E / 14.911000°N 101.840861°E / 14.911000; 101.840861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลโคราช
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Khorat
ปราสาทเมืองเก่า
ปราสาทเมืองเก่า
ประเทศไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอสูงเนิน
พื้นที่
 • ทั้งหมด7.20 ตร.กม. (2.78 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด2,630 คน
 • ความหนาแน่น365.27 คน/ตร.กม. (946.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30170
รหัสภูมิศาสตร์301803
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลโคราช
ปราสาทเมืองแขก
ปราสาทเมืองแขก
อบต.โคราชตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
อบต.โคราช
อบต.โคราช
พิกัด: 14°54′39.6″N 101°50′27.1″E / 14.911000°N 101.840861°E / 14.911000; 101.840861
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอสูงเนิน
พื้นที่
 • ทั้งหมด7.20 ตร.กม. (2.78 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด2,630 คน
 • ความหนาแน่น365.27 คน/ตร.กม. (946.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06301811
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 5 ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 30170
เว็บไซต์www.koratsao.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

โคราช เป็นตำบลในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ ปราสาทเมืองเก่า ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโคราฆปุระ ต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองโคราช อันเป็นต้นกำเนิดเมืองนครราชสีมา

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลโคราช มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

สูงเนิน มีเมืองที่สำคัญอยู่ 2 เมือง คือ เมืองเสมา และเมืองโคราฆะปุระหรือเมืองโคราช ซึ่งเมืองทั้งสองเป็นเมืองประวัติศาสตร์ของชาติไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ เคยเจริญรุ่งเรืองในสมัยขอม แต่ในปัจจุบันเป็นเมืองร้างตั้งอยู่ริมลำตะคอง ต่อมาจึงได้ยุบเมืองทั้งสองไปเป็นเมืองนครราชสีมา รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นเมืองชั้นเอก ผู้สำเร็จราชการเมืองมียศเป็นเจ้าพระยา โดยเจ้าพระยานครราชสีมาคนแรกชื่อ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้เมืองนครราชสีมาได้นำช้างเผือก 2 เชือกขึ้นน้อมเกล้าถวาย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ก่อการกบฏยกกองทัพมาตีเมืองนครราชสีมาและกวาดต้อนพลเมืองไปเป็นเชลย คุณหญิงโม ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา (พระสุริยเดชวิเศษ ฤทธิ์ทศทิศวิชัย) ผู้รักษาเมืองแสร้งทำกลัวเกรงและประจบเอาใจทหารลาว เมื่อถูกกวาดต้อนมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์ในเขตอำเภอพิมาย ก็หยุดพักกลางทางพอได้โอกาส คุณหญิงโม ก็จัดกองทัพโจมตีกองทัพเวียงจันทน์แตกพ่ายไป วีรกรรมที่คุณหญิงโมได้ประกอบขึ้นนี้ รัชกาลที่ 3 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา คุณหญิงโม ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น "ท้าวสุรนารี" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูง ให้นครราชสีมาเป็นที่ว่าการมณฑลลาวกลาง ในปี พ.ศ. 2434 (ร.ศ. 110)

ในปี พ.ศ. 2490 ได้แบ่งพื้นที่หมู่ 1 บ้านใหญ่กกลาน, หมู่ 2 บ้านตากแดด, หมู่ 3 บ้านพลับ, หมู่ 4 บ้านทัดทา, หมู่ 5 บ้านบุ่งขี้เหล็ก, หมู่ 6 บ้านกุดเวียน, หมู่ 7 บ้านหนองเอื้อง, หมู่ 8 บ้านมะม่วง, หมู่ 9 บ้านหนองกระดี่, หมู่ 10 บ้านดอน หมู่ 11-12 บ้านโคกมะกอก ของตำบลโคราช รวม 12 หมู่บ้าน แยกตั้งเป็น ตำบลบุ่งขี้เหล็ก[2] ตำบลโคราชจึงเหลือพื้นที่เพียง 8 หมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลโคราชแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านเมืองเก่า (Ban Muang Kao)
หมู่ 2 บ้านวังวน (Ban Wang Won)
หมู่ 3 บ้านโบสถ์ (Ban Bot)
หมู่ 4 บ้านนาตะโครก (Ban Na Takhrok)
หมู่ 5 บ้านหัวบึง (Ban Hua Bueng)
หมู่ 6 บ้านหัวนา (Ban Hua Na)
หมู่ 7 บ้านกกกอก (Ban Khok Kok)
หมู่ 8 บ้านกุดหิน (Ban Kut Hin)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลโคราช มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลโคราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคราชทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลโคราช ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[3] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโคราชในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542[4] จนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 1930–1974. วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542