ตำบลเวียงต้า

พิกัด: 18°15′42.1″N 99°59′26.6″E / 18.261694°N 99.990722°E / 18.261694; 99.990722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเวียงต้า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Wiang Ta
นางสีเวย เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารของวัดต้าม่อน งานของฝีมือช่างชุดเดียวกันกับจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน
นางสีเวย เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารของวัดต้าม่อน งานของฝีมือช่างชุดเดียวกันกับจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน
ประเทศไทย
จังหวัดแพร่
อำเภอลอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด283.01 ตร.กม. (109.27 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด6,248 คน
 • ความหนาแน่น22.07 คน/ตร.กม. (57.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 54150
รหัสภูมิศาสตร์540304
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลเวียงต้า
ทต.เวียงต้าตั้งอยู่ในจังหวัดแพร่
ทต.เวียงต้า
ทต.เวียงต้า
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเวียงต้า
พิกัด: 18°15′42.1″N 99°59′26.6″E / 18.261694°N 99.990722°E / 18.261694; 99.990722
ประเทศ ไทย
จังหวัดแพร่
อำเภอลอง
จัดตั้ง • 24 สิงหาคม 2516 (สภาตำบลเวียงต้า)
 • 30 มกราคม 2539 (อบต.เวียงต้า)
 • 18 กรกฎาคม 2551 (ทต.เวียงต้า)
พื้นที่
 • ทั้งหมด283.01 ตร.กม. (109.27 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด6,248 คน
 • ความหนาแน่น22.07 คน/ตร.กม. (57.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05540303
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 45 หมู่ที่ 3 ถนนสายเวียงต้า – น้ำริน ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
เว็บไซต์www.wiangta.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เวียงต้า เป็น 1 ใน 9 ตำบลของอำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งของศูนย์กลางการปกครองของเวียงต้า (เมืองต้า) มีวัดต้าเวียงเป็นวัดหลวงกลางเวียง และเวียงปูซึ่งเป็นเวียงบริวารของเวียงต้า

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลเวียงต้ามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ประวัติ[แก้]

เมืองต้า เป็นที่ราบแคบในหุบเขา มีห้วยแม่ต้าลำห้วยสาขาใหญ่ของแม่น้ำยมไหลผ่าน มีการสร้างบ้านแปลงเมืองต้าเนื่องจากมีแหล่งแร่เหล็กที่เรียกว่า “บ่อต้า” หรือ “บ่อเหล็กต้า” ปรากฏร่องรอยการถลุงตั้งแต่ยุคโลหะจึงดึงดูดผู้คนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขนาดเล็ก อีกทั้งตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมทางบก คือ เมืองลอง – เมืองต้า – เมืองสอง – เมืองน่าน – กลุ่มเมืองพะเยา เชียงแสน เชียงราย หรือ เมืองลอง – เมืองต้า – เมืองแพร่ ดังสมัยพญาเมกุ(กษัตริย์ล้านนา พ.ศ. 2094–2107) เคยใช้เส้นทางผ่านเมืองต้า เมื่อเสด็จกลับจากการทำสงครามกับล้านช้างจะขึ้นเมืองพระนครเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2101 ดังตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า

...เดือน ๗ ออก ๒ ฅ่ำ ลุกแต่แก่งไปนอนยางคุนสะเอยียบ ๘๐๐๐ วา ยางคุนไปนอนป่าเลา ๑๒๐๐๐ วา ป่าเลาไปนอนเมืองสอง ๑๐๐๐๐ วา เมืองสองไปนอนวังฅำ ๕๐๐๐ วา วังฅำไปนอนป่าเสี้ยว ๑๒๐๐๐ วา ป่าเสี้ยวรอดแพล่ ๑๒๐๐๐ วา อยู่เมืองแพล่ ๑๒ วัน เดือน ๗ แรม ๑๓ ฅ่ำนำพระญาเชียงเลิอ (พญาเชียงเลือก หรือ พญาเชียงเรือ – ผู้เขียน) หื้อกินเมืองแพร่ แต่เมืองแพล่มานอนคราวตนหัว ๕๐๐๐ วา คราวตนหัวหัวมานอนน้ำต้า ๙๐๐๐ วา อยู่น้ำต้าวัน ๑ น้ำต้ามานอนห้วยส้ม ๙๓๐๐ วา ห้วยสมมานอนน้ำเมาะ ๙๒๐๐ วา น้ำเมาะรอดนคอร ๑๓๕๐๐ วา เดือน ๗ แรม ๑๓ ฅ่ำ นำจตุปริหมอฅำกินเมืองนคอร…[1]

ส่วนเส้นทางน้ำเมื่อเมืองลองเป็นชุมทางสถานีการค้าขนาดใหญ่ของแอ่ง ได้ขยายตัวขึ้นมาตอนเหนือเพื่อแสวงหาทรัพยากร เส้นทางน้ำจึงใช้เพียงลำเลียงสินค้าเหล็กและของป่าที่เก็บได้จากชุมชนนี้ลงสู่แม่น้ำยมเท่านั้น เพราะเป็นลำห้วยระยะสั้นๆ ไม่สามารถเชื่อมต่อกับแอ่งภายนอกได้ กอปรกับการขยายตัวของอาณาจักรล้านนาในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984–2030) ที่ทรงมีนโยบายขยายพระราชอาณาเขตออกไปให้กว้างขวาง จึงทรงทำสงครามกับหัวเมืองต่างๆ โดยเฉพาะเมืองน่านและเมืองแพร่ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเมืองต้าเพื่อเป็นฐานกำลังให้กองทัพหลวงเชียงใหม่  จากตำนานเมืองต้ากล่าวว่าสร้างเมืองต้าโดยเจ้าเมืองลำปางเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านระหว่างเมืองลำปางกับเมืองแพร่  เมื่อพิจารณาจากบริบทเหตุการณ์แล้วควรสร้างขึ้นในช่วงเจ้าหมื่นด้งนครเป็นเจ้าเมืองลำปาง (พ.ศ. 1980–1992) และสร้างขึ้นก่อนยึดได้เมืองแพร่ พ.ศ. 1986 และเมืองน่าน พ.ศ. 1992 ดังนั้นปัจจัยสำคัญของการก่อรูปเมืองต้าคือการขยายตัวของอาณาจักรล้านนา จึงได้สร้างบ้านแปลงเมืองต้าขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 1901–2000) ซึ่งเมืองต้ามีการสร้างเวียงขึ้น 2 แห่ง คือ เวียงต้า เป็นเวียงศูนย์กลางการปกครองของเมืองต้า และเวียงปู เป็นเวียงบริวาร

  • "เวียงต้า" (บ้านต้าม่อนและบ้านต้าเวียง) เวียงต้าอยู่เหนือเวียงลองประมาณ 37 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองต้า  มีวัดต้าเวียงเป็นวัดหลวงกลางเวียง ตัวเวียงเป็นรูปเกือกม้า มีคูน้ำ 1 ชั้น กำแพงดิน 2 ชั้นล้อมรอบ 3 ด้าน ด้านทิศตะวันออกกำแพงเวียงติดห้วยแม่ต้าและสร้างกำแพงบรรจบกับหน้าผาสูงด้านตะวันตกที่มีถ้ำใช้หลบภัย ดังปรากฏตำนาน พญาอุปเสน เจ้าเมืองต้า และญาติวงศ์เข้าหลบภัยและสิ้นชีวิตภายในถ้ำจึงเรียกว่า “ผาเจ้า” เวียงต้ามีชัยภูมิที่ดี คือ ด้านหน้าติดแม่น้ำและด้านหลังติดหน้าผา การสร้างอย่างแน่นหนาเช่นนี้ เพราะเป็นเวียงหน้าด่านด้านตะวันออกให้เมืองลำปางและด้านเหนือให้เมืองลอง ในยามสงบก็เป็นศูนย์กลางควบคุมผลผลิตของเมืองต้า ส่งส่วยให้เมืองลองกับเมืองลำปาง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมเมืองต้าช่วงระหว่าง พ.ศ. 1980–1986
  • "เวียงปู" (บ้านต้าม่อนและบ้านเย็น) เป็นเวียงที่ตั้งอยู่เหนือสุดแอ่งลอง ห่างจากเวียงต้าประมาณ 1 กิโลเมตร ตัวเวียงเป็นรูปวงกลม มีคูน้ำ 1 ชั้น กำแพงดิน 2 ชั้น เป็นเวียงบริวารของเวียงต้า เวียงปู(ภูเขา) ตั้งบนเนิน ภายในเวียงไม่ปรากฏศาสนสถาน เป็นป้อมปราการสามารถมองเห็นได้รายรอบ อยู่ไม่ไกลจากเวียงศูนย์กลางสามารถยกกำลังเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงที ดังนั้นเวียงปูจัดเป็นเวียงรูปแบบเดียวกับเวียงลัวะของเมืองลอง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเวลาใกล้เคียงกับเวียงต้าในปลายพุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 1901–2000)

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลเวียงต้าแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านแป้น (Ban Paen) หมู่ 7 บ้านหัวฝาย (Ban Hua Fai)
หมู่ 2 บ้านเหล่า (Ban Lao) หมู่ 8 บ้านเหล่าศรีภูมิ (Ban Lao Si Phum)
หมู่ 3 บ้านม่อน (Ban Mon) หมู่ 9 บ้านสันติสุข (Ban Santisuk)
หมู่ 4 บ้านน้ำดิบ (Ban Nam Dip) หมู่ 10 บ้านแสนทอง (Ban Saen Thong)
หมู่ 5 บ้านแหลง (Ban Laeng)
หมู่ 6 บ้านผาลาย (Ban Pha Lai)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลเวียงต้า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลตำบลเวียงต้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงต้าทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลเวียงต้าที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[2] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงต้าในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[3]

เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงต้า จังหวัดแพร่ มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงต้าได้ยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลเวียงต้า[4] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 และมีผลในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีเดียวกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติศาสตร์เมืองลอง ๕ ยุคจารีต : ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์ สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2566
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. สืบค้นเมื่อ 2023-05-15. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นเทศบาลตำบลเวียงต้า". ราชกิจจานุเบกษา: 1. วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551