ตำบลเชิงแส

พิกัด: 7°37′54.4″N 100°19′48.2″E / 7.631778°N 100.330056°E / 7.631778; 100.330056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเชิงแส
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Choeng Sae
ประเทศไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด28.3 ตร.กม. (10.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด2,746 คน
 • ความหนาแน่น97.03 คน/ตร.กม. (251.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90270
รหัสภูมิศาสตร์900803
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลเชิงแส
ทต.เชิงแสตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
ทต.เชิงแส
ทต.เชิงแส
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเชิงแส
พิกัด: 7°37′54.4″N 100°19′48.2″E / 7.631778°N 100.330056°E / 7.631778; 100.330056
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอกระแสสินธุ์
จัดตั้ง • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลเชิงแส)
 • 25 ธันวาคม 2539 (อบต.เชิงแส)
 • 27 ตุลาคม 2552 (ทต.เชิงแส)
พื้นที่
 • ทั้งหมด28.3 ตร.กม. (10.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด2,746 คน
 • ความหนาแน่น97.03 คน/ตร.กม. (251.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05900802
ที่อยู่
สำนักงาน
หมู่ที่ 3 ถนนเกาะใหญ่-ระโนด ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 90270
เว็บไซต์www.cherngsae.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เชิงแส เป็นตำบลในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งสถานีตำรวจภูธรกระแสสินธุ์ ที่ทำการไปรษณีย์กระแสสินธุ์ สหกรณ์การเกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ และโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ เป็น 1 ใน 2 ตำบลของอำเภอที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลเชิงแส มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

ประวัติ[แก้]

ตำบลเชิงแสเดิมเป็นตำบลที่ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2460 ได้มีผู้ลอบวางเพลิงที่ว่าการอำเภอปละท่า จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอปละท่าเสียเป็น "อำเภอจะทิ้งพระ"[3] พร้อมกับยุบเมืองระโนด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอระโนด และให้ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ และปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยโอนตำบลเชิงแส ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลบ่อตรุ และตำบลวัดสน ของอำเภอจะทิ้งพระ (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกิ่งอำเภอระโนด[4] ก่อนที่ปี พ.ศ. 2466 กรมหลวงลพบุรีราเมศร อุปราชปักษ์ใต้เห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก จึงยุบอำเภอจะทิ้งพระ เป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเมืองสงขลา ส่วนกิ่งอำเภอระโนดเดิมที่ขึ้นอำเภอจะทิ้งพระ ให้ยกฐานะเป็น อำเภอระโนด[5] ตำบลเชิงแสจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอระโนดแทนอำเภอจะทิ้งพระ

ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่บ้านด้านทิศเหนือของตำบลเชิงแส ได้แก่ หมู่ 5 บ้านโคกพระ, หมู่ 6 บ้านกาหรำ, หมู่ 7 บ้านโคกแห้ว และหมู่ 8 บ้านโรง รวม 4 หมู่บ้าน ตั้งขึ้นเป็น ตำบลโรง[6] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2521 ทางตำบลเกาะใหญ่ได้ขอแยกการปกครองออกจากอำเภอระโนดเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง โดยมีการรวมพื้นที่ตำบลข้างเคียงอีก 2 ตำบล คือ ตำบลเชิงแสและตำบลโรง เนื่องจากการติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอใหม่มีระยะทางเพียง 1.9 กิโลเมตร ซึ่งอำเภอสังกัดเดิมต้องใช้ระยะทาง 18 กิโลเมตร จึงรวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอกระแสสินธุ์[7] และยกฐานะเป็น อำเภอกระแสสินธุ์ ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537[8] ตำบลเชิงแสจึงย้ายมาขึ้นกับทางอำเภอและเป็นตำบลลำดับที่ 3 ของทางอำเภอกระแสสินธุ์

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลเชิงแสแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านเขาใน (Ban Khao Nai)
หมู่ 2 บ้านรัดปูน (Ban Rat Pun)
หมู่ 3 บ้านเชิงแส (Ban Choeng Sae)
หมู่ 4 บ้านเชิงแส (Ban Choeng Sae)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ตำบลเชิงแสทั้งตำบลอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเชิงแส เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเชิงแส ในปี พ.ศ. 2517[9] ก่อนที่จะได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลใน พ.ศ. 2539[10] แล้วจึงได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2552[11]

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลเชิงแสประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,746 คน แบ่งเป็นชาย 1,372 คน หญิง 1,374 คน (เดือนธันวาคม 2566)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ในอำเภอกระแสสินธุ์

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[12] พ.ศ. 2565[13] พ.ศ. 2564[14] พ.ศ. 2563[15] พ.ศ. 2562[16] พ.ศ. 2561[17] พ.ศ. 2560[18]
เชิงแส (หมู่ 3) 900 909 929 933 924 935 924
เชิงแส (หมู่ 4) 796 806 812 814 832 825 840
รัดปูน 659 665 669 684 694 694 687
เขาใน 391 390 396 394 400 405 410
รวม 2,746 2,770 2,806 2,825 2,850 2,859 2,861

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 30 ง): 186–201. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2541
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  4. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 464–480. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
  5. "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกระแสสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (21 ง): 519. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521
  8. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลตำบลเชิงแส". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 126: 1. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน
  12. 12.0 12.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  18. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]